การพัฒนารปูแบบการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงโดยพยาบาลวิชาชีพประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • ทิพาพร ราชาไกร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
  • กรรณิการ์ ตฤณวุฒิพงษ์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมอง, หลักสูตรพยาบาลวิชาชีพ, โรคความดันโลหิตสูง, ระบบ Fast Track

บทคัดย่อ

          โรคหลอดเลือดสมองมีอุบัติการณ์ที่สูงขึ้น ก่อให้เกิดภาวะทุพลภาพ และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตในอันดับต้น ซึ่งโรคความดันโลหิตสูงเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคหลอดเลือดสมอง การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) ผู้ร่วมพัฒนาหลักสูตร 1) แพทย์และพยาบาลวิชาชีพผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 5 คน 2) พยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล (รพ.สต.) จำนวน 115 คน (2) การประเมินหลักสูตรฝึกอบรม 1) พยาบาลวิชาชีพใน รพ.สต. ที่ได้รับการอบรม 50 ตำบล จำนวน 50 คน (3) การจัดบริการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีผลการคัดกรองการเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง (CVD risk) ในระดับสูงขึ้นไป แล้วได้รับการจัดบริการตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ในพื้นที่ 50 ตำบล รวม 138 คน แบ่งเป็นระยะที่ 1 ระยะศึกษาสถานการณ์ ปัญหาและอุปสรรค ระยะที่ 2 ดำเนินการ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน (PAOR) ได้แก่ วางแผน (Plan) ปฏิบัติ (Act) สังเกตการณ์ (Observe) และสะท้อนผลลัพธ์ (Reflect) ระยะที่ 3 สรุปและประเมินผลลัพธ์ เครื่องมือที่ใช้ แบบสอบถาม แบบประเมินการตรวจร่างกาย และแบบคัดกรองความสี่ยงโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง (Thai CVD risk score ) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา นำเสนอค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเยี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอนุมานเพื่อเปรียบเทียบค่าความดันโลหิต ค่าคะแนนความเสี่ยง CVD risk ก่อนและหลังด้วยสถิติ Paired t-test เปรียบเทียบค่าสัดส่วนระดับความเสี่ยง CVD risk ก่อนและหลังดำเนินการด้วยสถิติ Stuart-Maxwell test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษา 1) การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างสมรรถนะด้านโรคหลอดเลือดสมอง พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล มีกระบวนการฝึกอบรมและการฝึกปฏิบัติ มุ่งเน้นให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการ Stroke Fast Track ภายในเวลา 270 นาที 2) การฝึกอบรม ในพยาบาล 50 คน หลักสูตรการฝึกอบรม จำนวน 12 ชั่วโมง ทั้งการบรรยาย และฝึกปฏิบัติ เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความรู้หลังการอบรมของพยาบาลวิชาชีพประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล สูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value<0.001) 3) การจัดบริการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง จากการติดตามผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีผลการคัดกรอง CVD risk ในระดับสูงขึ้นไป แล้วได้รับการจัดบริการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง พบว่า ค่าความดันโลหิตตัวบน ค่าคะแนนความเสี่ยง CVD และค่าสัดส่วนระดับความเสี่ยง CVD risk หลังดำเนินการลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value<0.001) ดังนั้น ควรมีการพัฒนาศักยภาพพยาบาลวิชาชีพประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล ในการจัดบริการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองด้วยหลักสูตรที่เหมาะสม และจัดบริการในผู้ป่วยที่มีค่า CVD risk ในระดับสูงขึ้นไปอย่างเข้มข้น รวมถึงการเฝ้าระวัง ประเมิน และส่งต่อผู้ป่วยเข้าระบบ Stroke Fast Track ให้ทันเวลาเพื่อป้องกันความพิการ และ
เสียชีวิตต่อไป

References

World Health Organization (WHO). World Stroke Campaign[Internet].2020[Cited2021November 1]. Available from: http://www.world-stroke.org/advacacy/world-stroke-campaign.

World Stroke Organization. About world stroke day [Internet]. 2020 [Cited 2021 Nov 1]. Available from: http://www.worldstrokecampaign.org/media/Pages/AboutWorldStrokeDay2010.aspx.

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูงและปัจจัยเสี่ยงที่่เกี่ยวข้อง ปี พ.ศ. 2562. นนทบุรี: อักษรกราฟิกแอนด์ดีไซน์; 2563.

กรมควบคุมโรค. กรมควบคุมโรครณรงค์วันอัมพาตโลก ปี 2564 ให้ประชาชน “รู้สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมอง เสี้ยวนาที่มีค่าช่วยชีวิต” [อินเทีอร์เน็ต]. 2554 [เข้าถึงเมื่อ 3 พ.ย. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?

O’Donnell MJ, Xavier D, Liu L, Zhang H, Chin SL, Rao-Melacini P, et.al. Risk factors for ischemic and intracerebral hemorrhagic stroke in 22 countries (the INTERSTROKE study): A case-control study. Lancet 2010; 376(6735): 112-23.

สมาคมโรคความดันโลหิตสูงแห่งประเทีศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ.2562. เชียงใหม่: ทริคอิงค์; 2562.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธ์ุ์. เอกสารประกอบการตรวจราชการและนิเทศงานกรณีปกติ จังหวัดกาฬสินธ์ุ์ รอบ 2-62. กาฬสินธ์ุ์: สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดกาฬสินธ์ุ์; 2562

พรปวีณ์ ชื่นใจเรือง, วรรณภา ศรีธัญรัติน์. การรับรู้และการจัดการอาการเติอนของโรคหลอดเลือดสมองในผู้ที่่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ2555; 35(3): 48-61.

สำนักโรคไม่ติดต่อ. รายงานประจำปืสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 2560. นนทบุรี: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561.

กาญจนศรี สิงห์ภู่, พัชรินทร์ อ้วนไตร, อรกานต์ แสงมีคุณ, สมศักดิ์ เที่ยมเก่า. ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับทางด่วนโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke Fast Track) หรือ “270 นาที่ทอง”. วารสารประสาทวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2554; 107: 610-19.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. การปรับใช้สมรรถนะในการบริหารทรัพยากรมนุษย์เรื่อง สมรรถนะข้าราชการ [อินเทอร์เน็ต]. 2548 [เข้าถ้งเมื่อ 10 พ.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: www.ocsc.go.th/ocsccms/competency.pdf.

McGaghie WC, Miller GE, Sajid AW, Telder TV. Competency-based curriculum development in medical education [Internet]. 68th ed. Geneva: World Health Organization; 1978 [Cited 2021 Nov 15 ]. Available from: http://whqlibdoc.who.int/php/WHO_PHP_68.pdf.

วิจิตร ศรีสุพรรณ์, กาญจนา จันทร์ไทย. คู่มือปฏิบัติงานพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล. นนทบุรี: จุดทอง; 2556.

ทิศนา แขมมณี. ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่่ 12. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.

บัญชม ศรีสะอาด. การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น; 2546.

พิสณุ ฟองศรี. การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวิจัย. พิมพ์ครั้งที่่ 2. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์; 2553.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่่ 8. กรุงเทพฯ: เจริญผล; 2540.

วัชรภัทร เตชะวัฒนศิริดำรง,ภัทรวรรณ์ จันทร์เนตร. การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรสมรรถนะสำหรับครูปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต1.วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านจอมบึง สาขา มนุยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2564: 9(2): 103-21.

รัมภา กุณพันธนาภา, วิเชียร ธำรงโสตถิสกุล. การพัฒนาหลักสูตรเน้นสมรรถนะการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นตามแนวคิดการเรียนรู้ร่วมกันที่เน้นการคิดไตร่ตรองสำหรับครู. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 2560; 19(1): 160-70.

วัฒน์ พลอยศรี. การพัฒนา หลักสูติรฝึกอบรมฐานสมรรถนะวิชาชีพผู้ปฏิบัติงานพิมพ์ดิจิทัล สำหรับพนักงานใหม่ในโรงพิมพ์พื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ 2563; 4(1): 234-49.

Forster A, Young J, Nixon J, Kalra L, Smithard D, Patel A, et.al. A cluster randomized controlled trial of a structured training program for caregivers of inpatients after stroke (TRACS). International Journal of Stroke 2012; (7): 94-9.

Seham A Amany K, El Sayed A, Tag El D. Effect of implement designed educational Training program foe neulogical nurses on clinical outcomes of stroke patients. Clinical Nursing study 2018; 6(4): 121-36.

สมชัย อัศวสุดสาคร, สุรสิทธิ์ จิตรพิทักษ์เลิศ , สาวิตรี วิษณุโยธิน. การบูรณาการระบบบริการสุขภาพเพื่อคัดกรองและลดกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดจังหวัดนครราชสีมา 2560-2561. วารสารกรมการแพทย์ 2562; 44(5): 150-7.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-01