ผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ต่อการให้บริการใน คลินิกทันตกรรมในจังหวัดมุกดาหาร
-
คำสำคัญ:
ผลกระทบโควิด 19, ทันตกรรมกับโควิด 19, ทันตบุคลากรกับโควิด 19บทคัดย่อ
การให้บริการทันตกรรม ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ถือได้ว่า เป็นการให้บริการที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่สูงมาก การวิจัยนี้ เพื่อศึกษาผลกระทบของการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ต่อการให้บริการคลินิกทันตกรรมในจังหวัดมุกดาหาร เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง โดยใช้แบบสอบถามในคลินิกทันตกรรม ที่เป็นสถานบริการของภาครัฐ กลุ่มตัวอย่างเป็นทันตบุคลากรจำนวนทั้งหมด 113 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า ช่วงระหว่างการระบาดของโรคโควิด 19 ทันตบุคลากรร้อยละ 51.3 ให้ข้อมูลผลกระทบที่เกิดขึ้นอยู่ในระดับมาก มีการซักประวัติและการคัดกรองผู้ป่วยยุ่งยากขึ้น จำนวนผู้ป่วยที่มารับบริการทันตกรรมลดลงร้อยละ 5 มีค่าใช้จ่ายจากการซื้อวัสดุอุปกรณ์ในคลินิกทันตกรรมเพิ่มขึ้น ก่อนรับการรักษาให้ผู้ป่วยอมและบ้วนปากด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ บุคลากรมีการใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองเพิ่มขึ้น มีความเครียดจากการทำงานและกังวลต่อการติดเชื้อโควิด 19 จากผู้ป่วย มีการงดการให้บริการทันตกรรมเมื่อมีการระบาดของโรคโควิด 19 ในพื้นที่การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้รายได้จากอาชีพลดลง จากผลการศึกษาสรุปได้ว่าการแพร่ ระบาดของโรคโควิด19 มีผลกระทบอย่างมากต่อการให้บริการในคลินิกทันตกรรมในหลายๆด้าน ดังนั้นทันตบุคลากร จึงต้องมีความพร้อมต่อการรับมือโรคระบาดที่เกิดขึ้นโดยอาศัยภาคีเครือข่าย เพื่อพัฒนาการให้บริการที่มีมาตรฐานที่ดียิ่งขึ้น
References
World Health Organization [WHO]. Coronavirus disease (COVID-19) [Internet]. 2020 [cited 2022 January 30]. Availablefrom: https://www.who.int/health-topics/coronavirus#tab=tab_1
Wu JH,Lee MK,Lee CY,Chen NH,Lin YC,Chen KK,et al. The impact of the COVID-19 epidem-icon the utilization of dental services and attitudes of dental residents at the emergency department of a medical center in Taiwan. J Dent Sci 2020; 3: 868-76.
Wu KY,Wu DT, Nguyen TT, TranSD. COVID-19’s impact on private practice and academic dentistry in North America. Oral Dis 2021; 27(Suppl 3): 684-7.
กรมการแพทย์. แนวทางปฏิบัติการรักษาทางทันตกรรมในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 27 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://covid19.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentId=32
กรรณิกา ชูเกียรติมั่น. ทันตกรรมกับ COVID-19 (Dentistry and COVID-19). วารสารกรมการแพทย์2563; 4: 5-8.
กรมควบคุมโรค. สรุปสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 27 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/
จุฬนาริน วิทยวรรณกุล, ศศิกานต์ ศีลพันธุ์, กาญจนา ศรีนะพรม, ธาราวรรษ ไชยศิร. ผลกระทบจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 ต่อบริการทันตกรรมโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกระนวนจังหวัดขอนแก่น. วารสารทันตาภิบาล 2564; 32(2): 16-25.
นิรมล ลีลาอดิศร.ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ต่องานทันตกรรม. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2564; 30(3): 404-13.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น