การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตลาดเชิงสังคม ร่วมกับแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการป้องกัน แก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออก พื้นที่เสี่ยงสูง เขตสุขภาพที่ 8

ผู้แต่ง

  • กานต์ญาณี เกียรติพนมแพ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น
  • บุญเทียน อาสารินทร์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี
  • สุภาภรณ์ โคตรมณี เทศบาลตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

คำสำคัญ:

ทฤษฎีการตลาดเชิงสังคม, โรคไข้เลือดออก, แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการป้องกันโรค

บทคัดย่อ

โรคไข้เลือดออก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญของพื้นที่เขตสุขภาพที่ 8 สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกจังหวัด ผู้วิจัยจึงใช้แนวคิดการวิจัยแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาศักยภาพเครือข่ายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออก โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตลาดเชิงสังคมร่วมกับ แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ในการป้องกันแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ เลย  บึงกาฬ  สกลนคร  และนครพนม โดยเจาะจงเลือกตำบลที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก กลุ่มตัวอย่าง คือ เครือข่ายบุคลากรสาธารณสุข แกนนำ  อสม. ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ครู จำนวน 162 คน  และประชาชน จำนวน 1,360 คน  ดำเนินการวิจัยโดยมีขั้นตอนในการวิจัยดังนี้ 1)กำหนดพื้นที่ในการดำเนินการ พัฒนาศักยภาพ  2)จัดทำแผนการสื่อสารโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตลาดเชิงสังคมร่วมกับแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ  สนับสนุนการดำเนินงาน  3)ติดตามการดำเนินงาน และ4)ประเมินผลสำเร็จของแผน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบบันทึกกิจกรรมทำแผนและแบบติดตาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการจัดหมวดหมู่ประเด็น
ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการพัฒนาเครือข่ายในพื้นที่ โดยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินการป้องกันโรคไข้เลือดออก การวิเคราะห์ปัญหา และวางแผนป้องกันแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกตามทฤษฎีการตลาดเชิงสังคม ดังนี้ 1)ร่วมกันจัดทำแผนการสื่อสาร การประชาสัมพันธ์ โดยใช้สื่อ แผ่นพับ และหอกระจายข่าว 2)สุ่มสำรวจลูกน้ำยุงลายและประเมินไขว้กันในระดับหมู่บ้าน และ3)รณรงค์ทำความสะอาดในครัวเรือน ประเมินความรู้และพฤติกรรมประชาชนก่อนหลังการพัฒนา พบว่า ประชาชนมีความรู้เพิ่มขึ้น ก่อนการดำเนินงานมีความรู้ในระดับสูง ร้อยละ 64.19  หลังดำเนินงานเพิ่มขึ้น ร้อยละ  85.00  ด้านพฤติกรรม ประชาชนมีพฤติกรรมก่อนการดำเนินงานในระดับเหมาะสมมาก ร้อยละ 80.59 หลังดำเนินงานเพิ่มขึ้น ร้อยละ 89.21 และอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา    ปัจจัยแห่งความสำเร็จในครั้งนี้ คือการได้รับการสนับสนุนการป้องกันควบคุมโรคจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สรุปผลการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำรูปแบบการประยุกต์ใช้หลักทฤษฎีการตลาดเชิงสังคมและแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ  มาแก้ไขปัญหาและหนุนเสริมการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันควบคุมโรค มาตรการการจัดการพาหะนำโรคแบบผสมผสาน(Integrated Vector Management-IVM) และการสร้างการมีส่วนร่วมประชาชนในการป้องกันโรคไข้เลือดออก ได้

 

 

References

Rozendaal JA.Vectorcontrol :Methods for use by individuals and communities [Internet]. Geneva: WorldHealthOrganization; 1997 [cited 2016 Jun 2]. Available from: https://apps.who.int/iris/handle/10665/41968

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุม โรค. คู่มือวิชาการโรคติดเชื้อเดงกีและโรคไข้เลือดออกเดงกีด้านการแพทย์และสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2558 [เข้าถึงเมื่อ 15 กันยายน 2559]. เข้าถึงได้จาก: https://www.pidst.or.th/A434.html

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี. สรุปรายงานสถานการณ์ทางระบาดวิทยาโรคไข้เลือดออกเขตสุขภาพที่ 8 ปี2558-2559. อุดรธานี: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี; 2559.

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี. รายงานผลการสำรวจการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 8 ปี 2559. อุดรธานี: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี; 2559.

กฤคเมธ อัตภูมิ, วินัย รัตนสุวรรณ, ดุสิต สุจิรารัตน์, มธุรส ทิพยมงคลกุล. ประสิทธิผลการใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการควบคุมลูกน้ำยุงลาย อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2560; 11(1): 140-53.

ศรเพชร มหามาตย์, จิระพัฒน์ เกตุแก้ว, เสาวพักตร์ ฮิ้นจ้อย, ปภานิจ สวงโท. รายงานการพยากรณ์โรคไข้เลือดออกปี 2558. นนทบุรี: สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค; 2559.

ประพิณ วัฒนกิจ. ระเบียบวิธีวิจัย: วิจัยสังคมศาสตร์.กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช; 2542.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-01