การทดสอบความไวของยุงลายต่อสารกำจัดแมลงกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์

ผู้แต่ง

  • สิทธิพร นามมา Office of Disease Prevention and Control 6th Khon Kaen
  • วาสนา สอนเพ็ง Office of Disease Prevention and Control 6th Khon Kaen
  • ศศิธร แพนสมบัติ Office of Disease Prevention and Control 6th Khon Kaen

คำสำคัญ:

การทดสอบความไว, สารกำจัดแมลงชนิดไพรีทรอยด์สังเคราะห์

บทคัดย่อ

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขจนถึงปัจจุบัน สาเหตุส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับสารกำจัดแมลงขาดประสิทธิภาพ เพื่อลดการระบาดของโรคจึงได้มีการทดสอบความไวของยุงลายต่อสารกำจัดแมลงกลุ่มไพรีทรอยด์ โดยวิธี susceptibility test กับกระดาษชุบสารกำจัดแมลงกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ 3 ชนิด คือ ไซเพอร์มิทริน 0.05% เพอร์มิทริน 0.75% และ เดลต้ามิทริน 0.05% ตามวิธีการที่เป็นมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก พบว่า ยุงลายที่ทดสอบมีความไวต่อกระดาษชุบสารเคมี เพอร์มิทริน 0.75% และ เดลต้ามิทริน 0.05% ในระดับปานกลาง ส่วน ไซเพอร์มิทริน 0.05% ในระดับต่ำหรือต้านทานต่อสารเคมี โดยมีอัตราตายร้อยละ 93.0, 92.0 และ 39.0 ตามลำดับ และยุงลายสายพันธุ์ Bora Bora มีอัตราตายร้อยละ 100, 99.0 และ 98.0 ตามลำดับ ปัจจุบันมีการนำสารกำจัดแมลงหลากหลายชนิดมาใช้ในการควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ หากใช้ไม่ถูกวิธี หรือนำสารกำจัดแมลงชนิดเดิมมาใช้ซ้ำในพื้นที่เป็นเวลานานย่อมเป็นสาเหตุทำให้ยุงลายต้านทานต่อสารกำจัดแมลง ทำให้การควบคุมโรคไม่ได้ผล ดังนั้น จึงควรมีการเฝ้าระวังความไวของยุงลายต่อสารกำจัดแมลงอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อนำผลการทดสอบนี้เป็นข้อมูลในการเลือกใช้สารเคมีที่เหมาะสมนำกับพื้นที่ในการกำจัดพาหะนำโรค ซึ่งจะนำไปสู่การควบคุมโรคไข้เลือดออกที่มีประสิทธิภาพ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-13