ประสิทธิภาพการกำจัดเชื้อในขมิ้นในกระบวนการผลิตยาแผนไทยด้วยโอโซน

Main Article Content

ต้าย บัณฑิศักดิ์
นันทพันธ์ นภัทรานันท์
กฤษฎา พัชรสิทธิ์

บทคัดย่อ

ความสำคัญ: ผลิตภัณฑ์ยาจากสมุนไพรเป็นที่ยอมรับในวงการแพทย์แผนปัจจุบันซึ่งเป็นทางเลือกที่ถูกนำมาใช้การรักษาโรคมากขึ้น ขมิ้นนับเป็นหนึ่งในสารตั้งต้นที่ใช้ในการผลิตยาแผนไทยหลายตำรับ ซึ่งการควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบเพื่อควบคุมการเจริญเติบโตของเชื้อในการผลิตยาจึงเป็นเรื่องสำคัญ เช่น การอบด้วยความร้อนต่ำที่อุณหภูมิ 50 0C และการส่งไปฉายรังสีก่อนวางจำหน่ายซึ่งต้องใช้ระยะเวลาและค่าใช้จ่ายจึงต้องส่งในปริมาณมากเพื่อให้คุ้มกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ อย่างไรก็ตาม พบว่าปัจจุบันมีผลการศึกษาที่มีการนำโอโซนมาใช้ควบคุมการเจริญเติบโตของเชื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรและอุตสาหกรรมอาหาร แต่ยังไม่พบการศึกษาของขมิ้นชัน งานวิจัยนี้จึงเสนอวิธีการกำจัดเชื้อสำหรับสมุนไพรและเพิ่มประสิทธิภาพสำหรับการผลิตยาสมุนไพรด้วยโอโซน เพื่อเป็นทางเลือกในการผลิตยาแผนไทยที่ได้มาตรฐาน


วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษากระบวนการกำจัดเชื้อด้วยการอบแห้งแบบดั้งเดิมและสร้างอุปกรณ์กำจัดเชื้อในขมิ้นด้วยโอโซนที่ไม่กระทบต่อสารสำคัญในสมุนไพรสำหรับใช้ทำยาแผนไทย และศึกษาเปรียบเทียบปริมาณการให้สารสำคัญ curcumin และประสิทธิภาพการกำจัดเชื้อของขมิ้นในกระบวนการกำจัดเชื้อด้วยการอบแห้งและการใช้โอโซน


วิธีการวิจัย: เป็นการวิจัยประยุกต์ดำเนินการตั้งแต่เดือนเมษายนถึงตุลาคม 2566 คัดเลือกตัวอย่างวิธีเจาะจง (purposive sampling) โรงงานผลิตยาแผนไทยที่มีกระบวนการอบแห้งขมิ้นชันด้วยกรรมวิธีตากแดด 1 แห่ง จากนั้นออกแบบและสร้างเครื่องกำจัดเชื้อในยาสมุนไพรขมิ้นผงแบบโอโซนปริมาณ 60 g/h ในพื้นที่ปิดโดยมีการหมุนเวียนโอโซนเพื่อการกระจายที่ทั่วถึง ดำเนินการเก็บตัวอย่างขมิ้นชันในพื้นที่อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานีมาล้างทำความสะอาด หั่นเป็นชิ้นขนาด 1 cm ปริมาณ 2 kg นำไปตากจนแห้งด้วยวิธีการอบแห้งด้วยแสงแดดธรรมชาติแบบดั้งเดิมที่อุณหภูมิ 50 0C นำมาบดละเอียด แล้วแบ่งผงขมิ้นเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มควบคุมที่ผ่านการอบแห้งด้วยความร้อนที่อุณหภูมิ 50 0C และกลุ่มทดลองที่กำจัดเชื้อด้วยการอบโอโซน กลุ่มละ 1 kg และสุ่มตักตัวอย่างขมิ้นผงปริมาณ 200 g เพื่อทดสอบเปรียบเทียบการให้สารสำคัญด้วยวิธี Thin-layer Chromatography ในสภาวะที่แตกต่างกัน และเปรียบเทียบปริมาณจุลินทรีย์และประสิทธิภาพการกำจัดเชื้อทั้ง 2 กลุ่มด้วยวิธี FDA BAM online 2001 โดยที่กลุ่มทดลองได้มีการอบด้วยโอโซนที่กำลังการผลิต 60g/h เป็นระยะเวลา 120 นาที


ผลการศึกษา: กระบวนการอบแห้งและกำจัดเชื้อในยาสมุนไพรขมิ้นผงในการผลิตยาแผนไทยของกลุ่มตัวอย่างควบคุม พบว่า มีขั้นตอนกระบวนการเริ่มจาก 1.นำขมิ้นมาล้างทำความสะอาดและทำการหั่นเป็นชิ้นมีความหนา 1 cm  2.นำขมิ้นที่ผ่านการล้างทำความสะอาดไปอบแห้งด้วยความร้อน 500C 3.นำไปบดละเอียดด้วยเครื่องบดแบบลูกกลิ้งและนำไปผสมตามสูตรตำรับต่อไป และ เมื่อสร้างเครื่องกำจัดเชื้อในยาสมุนไพรขมิ้นผงแบบโอโซนปริมาณ 60 g/h ในพื้นที่ปิดโดยได้เพิ่มกระบวนการต่อจากกระบวนการของกลุ่มควบคุม ซึ่งผลการเปรียบเทียบพบว่า กลุ่มควบคุมมีข้อจำกัดของการอบแห้งขึ้นอยู่กับฤดูหรือสภาพอากาศเช่นฤดูฝนจึงต้องใช้กระบวนการให้ความร้อนด้วยไฟฟ้าซึ่งอาจส่งผลต่อสารสำคัญในขมิ้น ขณะที่การโอโซนใช้ระยะเวลาสั้นกว่าและมีประสิทธิภาพมากกว่า แต่ความสามารถกำจัดเชื้อเฉพาะบริเวณพื้นผิวเท่านั้น สำหรับผลทดสอบการให้สารสำคัญขมิ้นผง พบว่า กลุ่มควบคุมมีระดับจุลินทรีย์ ยีสต์และเชื้อราที่ 4.3x102 และ 1.4x102 CFU/g ขณะที่กลุ่มทดลอง <250EAPC CFU/g และ <10 CFU/g ตามลำดับ ซึ่งผลทั้ง 2 กลุ่มพบเข้ามาตรฐานที่กำหนด ส่วนการทดสอบปริมาณสาร Curcumin ในสภาวะแสงปกติ ภายใต้ UV 254 nm ภายใต้ UV 366 nm และ Vanillin-sulfuric acid test solution พบว่า ตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่มมีการกำจัดเชื้อในขมิ้นไม่ส่งผลต่อปริมาณสาร Curcumin


สรุป: การใช้กระบวนการอบแบบโอโซนในขมิ้นชันมีประสิทธิภาพกำจัดเชื้อในปริมาณที่สูงกว่าในระยะเวลาที่สั้นกว่ากระบวนการกำจัดเชื้อด้วยวิธีอบแห้งที่อุณหภูมิ 50 0C โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสารสำคัญ Curcumin นอกจากนั้น สามารถควบคุมปัจจัยด้านฤดูกาลได้ดีกว่า รวมถึงใช้เวลาและค่าใช้จ่ายน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกระบวนการกำจัดเชื้อแบบดั้งเดิม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Torlak E, Sert D, Ulca P. Efficacy of gaseous ozone against Salmonella and microbial population on dried oregano. Int J Food Microbiol 2013;165(3):276–80.

Ouf SA, Ali EM. Does the treatment of dried herbs with ozone as a fungal decontaminating agent affect the active constituents?. Environ Pollut 2021 May;277:116715.

El Darra N, Xie F, Kamble P, Khan Z, Watson I. Decontamination of Escherichia coli on dried onion flakes and black pepper using Infra-red, ultraviolet and ozone hurdle technologies. Heliyon 2021;7(6):e07259.

Sheng L, Wang L. Approaches for a more microbiologically and chemically safe dried fruit supply chain. Curr Opin Biotechnol 2023;80:102912.

Bigi F, Maurizzi E, Quartieri A, De Leo R, Gullo M, Pulvirenti A. Non-thermal techniques and the “hurdle” approach: How is food technology evolving?. Trends Food Sci Technol. 2023 Feb;132:11–39.

Sivaranjani S, Prasath VA, Pandiselvam R, Kothakota A, Mousavi Khaneghah A. Recent advances in applications of ozone in the cereal industry. LWT 2021;146:111412.

Afsah‐Hejri L, Hajeb P, Ehsani RJ. Application of ozone for degradation of mycotoxins in food: A review. Compr Rev Food Sci Food Saf 2020;19(4):1777–808.

Dolci P, Ingegno BL, Mangia E, Ghirardello D, Zaquini L, Costarelli S, et al. Electrolyzed water and gaseous ozone application for the control of microbiological and insect contamination in dried lemon balm: Hygienic and quality aspects. Food Control 2022;142:109242.

Ingegno BL, Tavella L. Ozone gas treatment against three main pests of stored products by combination of different application parameters. J Stored Prod Res 2022;95:101902.

Sudheer S, Yeoh WK, Manickam S, Ali A. Effect of ozone gas as an elicitor to enhance the bioactive compounds in Ganoderma lucidum. Postharvest Biol Technol 2016;117:81–8.

Bacteriological Analytical Manual (BAM) [Internet]. [cited 2023 Apr 2].Bacteriological Analytical Manual (BAM). Available from: https://www.fda.gov/food/laboratory-methods-food/bacteriological-analytical-manual-bam

AOAC 991.14-1994 (2002), Coliform and escherichia coli counts in [Internet]. 2015. [cited 2023 Apr 2]. Available from: http://www.aoacofficialmethod.org/index.php?main_page=product_info&products_id=849

ISO 6579-1:2017/Amd 1:2020, Microbiology of the food chain Horizontal method for the detection, enumeration and serotyping of Salmonella [Internet]. 2017 [cited 2023 Apr 2]. Available from: https://www.iso.org/standard/76671.html#lifecycle

BAM Chapter 18: Yeasts, Molds and Mycotoxins [Internet]. 2022 [cited 2023 Apr 2]. Available from: https://www.fda.gov/food/laboratory-methods-food/bam-chapter-18-yeasts-molds-and-mycotoxins

Czernicka L, Grzegorczyk A, Marzec Z, Antosiewicz B, Malm A, Kukula-Koch W. Antimicrobial Potential of Single Metabolites of Curcuma longa Assessed in the Total Extract by Thin-Layer Chromatography-Based Bioautography and Image Analysis. Int J Mol Sci 2019;20(4):898.

กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2564 เรื่อง เกณฑ์มาตรฐาน ค่าความบริสุทธิ์ หรือคุณลักษณะอื่นอันมีความสำคัญต่อคุณภาพสำหรับตำรับผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ขึ้นทะเบียน แจ้งรายละเอียด หรือจดแจ้งพ.ศ. 2564. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 138, ตอนพิเศษ 294 ง (ลงวันที่ 1 ธันวาคม 2564).