การพัฒนาแนวทางป้องกันการเกิดความคลาดเคลื่อนทางยาเคมีบำบัดในหน่วยเตรียมยาเคมีบำบัดของโรงพยาบาลราชวิถี

Main Article Content

รัชนู กรีธาธร กรีธาธร
สกลวรรณ ประพฤติบัติ

บทคัดย่อ

ความสำคัญ: ยาเคมีบำบัดเป็นยารักษามะเร็งที่ใช้อย่างกว้างขวางทั่วโลก การเกิดเหตุการณ์ความคลาดเคลื่อนทางยาในกระบวนการเตรียมยาเคมีบำบัดอาจก่อให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะสำคัญและต่อชีวิตของผู้ป่วย แต่สามารถป้องกันได้


วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาและประเมินแนวทางป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาของหน่วยเตรียมยาสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดชนิดฉีดในโรงพยาบาลราชวิถี


วิธีการวิจัย: เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยสำรวจอุบัติการณ์และความรุนแรงของปัญหา วิเคราะห์สาเหตุ พัฒนาแนวทางป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาและนำไปทดลองใช้จริง การประเมินผลแนวทางป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาโดยเปรียบเทียบอัตราการเกิดความคลาดเคลื่อนทางยาก่อนและหลังการใช้แนวทางป้องกัน


ผลการศึกษา: พบว่า จากยาเคมีบำบัดชนิดฉีด 15,388 รายการ เกิดความคลาดเคลื่อนทางยาโดยรวมเป็น ร้อยละ 3.5 (269 จาก 7,771 รายการ) แบ่งตามขั้นตอนการสั่งใช้ยาที่พบมากคือ การคัดลอกคำสั่งยา การเตรียมและผสมยา การจ่ายยา และการสั่งยา ตามลำดับ เมื่อนำแนวทางป้องกันการเกิดความคลาดเคลื่อนทางยามาทดลองใช้จริงในหน่วยเตรียมยา ส่งผลทำให้ความคลาดเคลื่อนทางยาลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) เป็น ร้อยละ 2.11 (161 จาก 7,617 รายการ) ความคลาดเคลื่อนทางยาที่เกิดขึ้นมีระดับความรุนแรงในระดับ A และ B ซึ่งเป็นอันตรายที่ยังไม่ถึงตัวผู้ป่วย ยาเคมีบำบัดชนิดฉีดที่พบปัญหามากที่สุดตามลำดับ ได้แก่ fluorouracil, carboplatin และ paclitaxel สรุป: การพัฒนาแนวทางป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาเคมีบำบัดตามข้อมูลเชิงประจักษ์ จากการวิเคราะห์อุบัติการณ์และความรุนแรง ซึ่งเหมาะสมกับบริบทของหน่วยงาน สามารถลดอัตราการเกิดความคลาดเคลื่อนทางยา และอันตรายซึ่งสามารถป้องกันได้ในผู้ที่ได้รับยาเคมีบำบัด การประยุกต์ใช้แนวทางการป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาในส่วนงานอื่นของโรงพยาบาลจะเป็นการเพิ่มมาตรฐานการบริการเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bray F, Ferlay J, Soerjomataram I, Siegel RL, Torre LA, Jemal A. Global cancer statistics 2018: GLOBOCAN estimates of incidence and mortality worldwide for 36 cancers in 185 countries. CA Cancer J Clin 2018; 68(6):394–424. doi: 10.3322/caac.21492. PMID: 30207593.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2560. นนทบุรี: กอง ยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2560.

Cavallo D, Ursini CL, Perniconi B, Francesco AD, Giglio M, Rubino FM, et al. Evaluation of genotoxic effects induced by exposure to antineoplastic drugs in lymphocytes and exfoliated buccal cells of oncology nurses and pharmacy employees. Mutat Res 2005; 587(1-2):45-51. doi: 10.1016./j.mrgentox.2005.07.008. PMID: 16202645.

ธิดา นิงสานนท์, บุษบา จินดาวิจักษณ์, กฤตติกา ตัญญะแสนสุข, สุชาดา จาประเกษตร์, คมกฤช ศรีไสว. คู่มือเภสัชกร: การผสมยาเคมีบำบัด. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ปรมัตถ์การพิมพ์; 2551.

Agency for Healthcare Research and Quality. National coordinating council for medication error reporting and prevention [Internet]. Rockville MD: Agency; 2001 [update 2001 Jul 31; cited 2016 Aug 9]. Available from: https://www.nccmerp.org/taxonomy-medication-errors

ศิริพร ใจเพียร. ปัญหาและอุปสรรคของเภสัชกรในการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติการผสมยาและจ่ายยาเคมีบำบัด. วารสารเภสัชกรรมไทย 2553;2(2):131-45.

Goldspiel B, Hoffman JM, Griffith NL, et al. ASHP guidelines on preventing medication errors with chemotherapy and biotherapy. Am J Health-Syst Pharm 2015; 72:e6–35. doi. org.10.2146/sp15001.

กมลเนตร จิระประภูศักดิ์, รัตนาภรณ์ ใยชื่น. ประสิทธิภาพของระบบความปลอดภัยเพื่อลดความรุนแรงและความคลาดเคลื่อนทางยาในผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งที่เข้ารับการรักษา. วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล 2552;19:S9-17.

จันทิมา ชูรัศมี. ความคลาดเคลื่อนทางยาและการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด.วารสารเภสัชกรรมไทย 2561;11(4):743-53.

Ashokkumar R, Srinivasamurthy S, Kelly JJ, Howard SC, Parasuraman S, Uppugunduri CR. Frequency of chemotherapy medication errors: a systematic review. Journal of Pharmacology and Pharmacotherapeutics 2018;9(2):86-91.

กมลเนตร จิระประภูศักดิ์, ทติยา โพธิ์ชะนิกร. ความคลาดเคลื่อนทางยาในผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งที่รับยาเคมีบำบัด. พุทธชินราชเวชสาร 2550;24(3):259-65.

รุ่งฟ้า สราญเศรษฐ์. ระบบป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาเคมีบำบัดในโรงยาบาลสงขลานครินทร์. สงขลานครินทร์เวชสาร 2552;27(5):415-27.

Ranchon F, Salles G, Späth HM, Schwiertz V, Vantard N, Parat S, et al. Chemotherapeutic errors in hospitalised cancer patients: attributable damage and extra costs. BMC Caner 11,478(2011). doi.org.10.1186/1471-2407-11-478.

Mitsu R, Appavu S. Chemotherapy drugs: safe handling prevents medication errors. IOSR-JNHS 2019;8(1):28-30. doi: 10.9790/1959-0801062830.