เพื่อเป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารผลงานวิจัย ข้อค้นพบใหม่ และองค์ความรู้วิชาการ ระหว่างนักวิจัยและสังคมภายนอก เป็นไปอย่างถูกต้อง มีคุณภาพ โปร่งใส สอคล้องกับมาตรฐานการตีพิมพ์สากล วารสารอาหารและยา จึงกำหนดบทบาทหน้าที่สำหรับบุคคล 4 กลุ่ม ได้แก่ ผู้นิพนธ์ บรรณาธิการวารสาร ผู้ประเมินความ และผู้จัดพิมพ์ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้ศึกษาและปฏิบัติตามข้อกำหนดจริยธรรมการตีพิมพ์ผลงานอย่างเคร่งครัด ดังนี้

 

บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์

1. ผู้นิพนธ์ต้องเขียนบทความตามรูปแบบที่วารสารกำหนด และเขียนเอกสารอ้างอิงแบบ Vancouver

2. ผู้นิพนธ์ต้องไม่ส่งบทความที่เคยตีพิมพ์เผยแพร่มาแล้ว หรืออยู่ระหว่างส่งตีพิมพ์วารสารอื่น และจะไม่นำบทความส่งวารสารอื่นระหว่างที่รอพิจารณาลงตีพิมพ์

3. ผู้นิพนธ์และผู้นิพนธ์ร่วมที่มีชื่อปรากฏในบทความ ต้องมีส่วนร่วมในผลงานที่เขียนบทความ

4. ผู้นิพนธ์ต้องส่งบทความที่ไม่มีการคัดลอกผลงานของผู้อื่น (plagiarism)

5. ผู้นิพนธ์ต้องปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะและคำแนะของผู้ประเมินบทความ และบรรณาธิการ

 

บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ

1. ผู้ประเมินบทความควรมีความเชี่ยวชาญหรือความรู้ในสาขาวิชานั้น ๆ ต้องพิจารณาบทความด้วยความเป็นกลาง

2. ผู้ประเมินบทความให้ข้อเสนอแนะ คำแนะนำที่ถูกต้อง ทันสมัยและน่าเชื่อถือ เพื่อให้ผู้นิพนธ์นำไปปรับปรุงแก้ไขบทความ

3. ผู้ประเมินบทความควรประเมินบทความในระยะเวลาที่กำหนด หรือหากไม่สามารถประเมินบทความเรื่องนั้นได้ ให้แจ้งมาที่บรรณาธิการให้ทราบ

4. ผู้ประเมินบทความจะไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์ (Double blind)  ซึ่งไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์ ไม่เปิดเผยข้อมูลและเก็บเป็นความลับ

 

บทบาทและหน้าที่และความรับผิดชอบของบรรณาธิการ

บทความทุกบทความจะผ่านกระบวนการพิจารณาคุณภาพจากผู้ประเมินและกองบรรณาธิการอย่างเข้มข้น โดย  

1.บรรณาธิการต้องกำหนดรูปแบบการตีพิมพ์ไว้อย่างชัดเจน

2. บรรณาธิการไม่รับบทความตีพิมพ์ที่เผยแพร่มาแล้ว หรืออยู่ระหว่างส่งตีพิมพ์วารสารอื่น

3. บรรณาธิการตรวจสอบ ให้คำแนะนำแก่ผู้นิพนธ์ก่อนส่งผู้ประเมินบทความ และก่อนตีพิมพ์บทความ

4. บรรณาธิการเลือกผู้ประเมินบทความที่มีความเชี่ยวชาญในสาขานั้น ๆ

5. บรรณาธิการต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์ ผู้ประเมินบทความ และกองบรรณาธิการ ไม่ตีพิมพ์บทความของตนเองมากเกินไป

6. บรรณาธิการไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์ และผู้ประเมินบทความ โดยต้องปิดเป็นความลับ

7. บรรณาธิการพิจารณาต้องตัดสิน กรณีผู้ประเมินบทความมีความเห็นไม่ตรงกัน และบทความที่ไม่ได้แก้ไขสาระสำคัญตามคำแนะนำของผู้พิจารณาบทความ และอื่น ๆ

8. บรรณาธิการมีการตรวจสอบการคัดลอกผลงานผู้อื่น (Plagiarism) พิจารณาจากผลประเมินของระบบ ThaiJo (Copy Catch) ไม่ควรเกิน 20% และหากตรวจพบการคัดลอกผลงานของผู้อื่นเกินเกณฑ์ ให้แจ้งผู้นิพนธ์ทบทวนบทความก่อนนำเข้าสู่กระบวนการประเมินบทความ