รายงานวิจัยที่จะพิจารณาให้ตีพิมพ์ในวารสารอาหารและยา ประกอบด้วย นิพนธ์ต้นฉบับบทนิพนธ์ปริทัศน์ กรณีศึกษา และบทความวิชาการที่เกี่ยวข้องกับงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพโดยเรื่องที่ส่งจะต้องไม่เคยส่งตีพิมพ์ เปิดเผย เผยแพร่ ทั้งนี้ไม่ว่าด้วยสื่อหรือวิธีการใดๆ มาก่อน ข้อมูล ผลงาน ข้อความและหมายรวมถึงสัญลักษณ์ ความหมาย ในเนื้อหาของเรื่องต้องไม่ล้าหลังหรือต้องไม่เกินนับจนถึงเวลารับเรื่องไว้พิจารณาเป็นเวลาต่อเนื่องกันไม่เกิน 5 ปี คณะบรรณาธิการฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลง การตัดสินใจในการรับเรื่องไว้พิจารณาตรวจทาน ตีพิมพ์ หรือลำดับการตีพิมพ์ตามความสำคัญก่อนหลัง แล้วแต่จะเห็นสมควรก็ได้

1.ชนิดบทความ

               1.1 นิพนธ์ต้นฉบับ (original research) เป็นรายงานผลงานวิจัยที่เป็นการประเมินองค์ความรู้ในสาขาที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย บทคัดย่อภาษาไทยและอังกฤษ พร้อมทั้งคำสำคัญ บทนำ วัตถุประสงค์ วิธีวิจัย ผลการวิจัย/ทดลอง วิจารณ์ผล/อภิปรายผล สรุปผล ข้อเสนอแนะ กิตติกรรมประกาศ(ถ้ามี) และเอกสารอ้างอิง ความยาวไม่ควรเกิน 10 หน้ากระดาษพิมพ์

               1.2 นิพนธ์ปริทัศน์ (review article) เป็นรายงานการทบทวนบทความวิชาการในการตีพิมพ์ในวารสารทั้งอดีต และปัจจุบัน มีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมิน วิจารณ์ และแสดงความคิดเห็น ประกอบด้วย 2 ส่วน

               - ส่วนที่ 1 (หน้าแรกของบทความปริทัศน์) ประกอบด้วย ชื่อเรื่อง ชื่อและสถานที่ติดต่อผู้นิพนธ์ และบทสรุป (เป็นการสรุปเรื่องโดยย่อให้เข้าใจว่าเรื่องที่นำเสนอมีความน่าสนใจ และมีความเป็นมาอย่างไร ) พร้อมระบุคำสำคัญของเรื่อง

               - ส่วนที่ 2 (เนื้อหาของบทความ) ประกอบด้วย บทนำ เพื่อกล่าวถึงความน่าสนใจของเรื่องที่นำเสนอก่อนเข้าสู่เนื้อหาในแต่ละประเด็น บทสรุป (ขมวดปมเรื่องที่นำเสนอ)และข้อเสนอแนะจากผู้นิพนธ์เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว สำหรับผู้อ่านได้พิจารณาประเด็นที่น่าสนใจต่อไป

               1.3 กรณีศึกษา (case report) เป็นการรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงขณะนั้น เหตุการณ์เดียว กรณีเดียวประกอบด้วย ชื่อเรื่อง ข้อมูลจากกรณีศึกษา ประเด็นการวิเคราะห์  วัตถุประสงค์ปัญหาที่เกิดขึ้น ทางเลือกต่างๆที่เป็นไปได้ การวิเคราะห์ทางเลือก การตัดสินใจเลือกทางเลือก คำถามเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้น บทสรุป และบรรณานุกรม

               1.4 บทความวิชาการ เป็นงานเขียนที่เสนอข้อมูลทรรศนะ ตลอดจนข้อเสนอแนะในเรื่องวิชาการ มักเป็นข้อมูล หรือ ข้อค้นพบใหม่ๆ ประกอบด้วย ชื่อเรื่อง ชื่อผู้นิพนธ์ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ประเด็นการศึกษา ขอบเขตการศึกษา แนวทางและข้อเสนอแนวทางพิจารณา สรุปผล ข้อเสนอแนะ และเอกสารอ้างอิง

              1.5 ปกิณกะ บทความที่นำเสนอในเรื่องทั่วๆ ไป เป็นบทความขนาดเล็กที่เนื้อหาอาจเข้าข่ายหรือไม่เข้าข่ายบทความต่างๆ

2.รูปแบบที่ส่งตีพิมพ์

2.1 ต้นฉบับ  จัดพิมพ์ด้วย Microsoft Word ในกระดาษขนาด A4 ดังนี้

               (1) ตั้งค่าหน้ากระดาษ ด้านบน 1.5 ซม.ด้านล่าง 1.5 ซม. และด้านซ้าย 3 ซม.ด้านขวา 2 ซม.ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาดของตัวอักษร 16 ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และใส่เลขหน้าด้านขวาล่าง รายงายวิจัยความยาวไม่ควรเกิน 10 หน้ากระดาษพิมพ์

2.2 ชื่อเรื่อง ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษควรตั้งให้ครอบคลุม กระชับ และสอดคล้องกับเนื้อหา

2.3 ชื่อผู้นิพนธ์ (หลักและร่วม)

               (1)ใช้ชื่อจริง ไม่ใช้นามแฝง พร้อมทั้งระบุที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์มือถือ และ Email ของผู้นิพนธ์

               (2)ในกรณีที่ผู้นิพนธ์มีสถานที่ทำงานต่างกันให้กำกับด้วยหมายเลข (ตัวเลขยกกำลัง) ไว้ท้ายนามสกุลให้ครบทุกคน และหากมีผู้นิพนธ์มากกว่า 2 ท่าน ให้ใส่ชื่อผู้นิพนธ์รายงานวิจัยนั้นเป็นชื่อแรก และขีดเส้นใต้ชื่อ เพื่อระบุว่าเป็นผู้นิพนธ์

2.4 เนื้อหา

                 2.4.1 บทคัดย่อ (Abstract) ควรเขียนสรุปสาระสำคัญของเรื่อง โดยเกริ่นนำเรื่องก่อนแล้วจึงกล่าววัตถุประสงค์ของงานวิจัย ตามด้วยวิธีการ ระยะเวลาที่ดำเนินการ กลุ่มเป้าหมาย และผลการวิจัย ความยาว 350-400 คำ พร้อมทั้ง ระบุคำสำคัญ ไม่เกิน 5 คำ (ห้ามใช้ประโยคเป็นคำสำคัญ) เรียงตามพยัญชนะ      มีบทคัดย่อภาษาอังกฤษแปลเนื้อหาให้ตรงกับบทคัดย่อภาษาไทย รวมทั้งคำสำคัญ (Key word) ชื่อวิทยาศาสตร์ พิมพ์ด้วยตัวเอนตามสัญลักษณ์ พิมพ์ด้วยตัวอักษร Symbol ขนาดเท่าตัวอักษรอื่นในบรรทัดนั้น

                2.4.2 บทนำ (Introduction) เป็นส่วนหนึ่งของบทความที่บอกเหตุผล นำไปสู่การศึกษา แต่ไม่ต้องทบทวนวรรณกรรม ที่ไม่เกี่ยวกับจุดมั่งหมายของการศึกษา เป็นส่วนที่อธิบายให้รู้ปัญหาลักษณะ และขนาด เป็นการนำไปสู่ความจำเป็นในการศึกษาวิจัยให้ได้ผลเพื่อแก้ปัญหาหรือตอบคำถามที่ตั้งไว้ หากมีทฤษฎีที่จำเป็นต้องใช้ในการศึกษาและระบุวัตถุประสงค์ของการศึกษาในส่วนท้ายของบทนำ

                2.4.3.วิธีการศึกษา (Methods) บอกที่มาของข้อมูล วิธีการรวบรวมข้อมูล การสุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล

                2.4.4 ผลการศึกษา (Results) แจ้งผลที่พบตามลำดับหัวข้อของแผนการศึกษาอย่างชัดเจน ดูง่าย ถ้าผลไม่ซับซ้อนไม่มีตัวเลขมาก บรรยายเป็นร้อยแก้ว แต่ถ้าตัวเลขมาก ตัวแปรมากควรใช้ตารางหรือแผนภูมิโดยไม่ต้องอธิบายตัวเลขในตารางซ้ำอีกในเนื้อเรื่อง ยกเว้นข้อมูลสำคัญๆ แปลความหมายของผลที่ค้นพบหรือวิเคราะห์และสรุปเปรียบเทียบกับสมมติฐานที่วางไว้อย่างจำกัด

                  2.4.5 วิจารณ์ (Discussion) เริ่มด้วยการวิจารณ์ผลการศึกษาตรงกับวัตถุประสงค์สมมติฐานของการวิจัย หรือแตกต่างไปจากผลงานที่มีผู้รายงานไว้ก่อนหรือไม่ อย่างไร เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น วิจารณ์ผลที่ไม่ตรงตามที่คาดหวังอย่างไม่ปิดบัง อาจแสดงความเห็นเบื้องต้นตามประสบการณ์หรือข้อมูลที่ตนมีเพื่ออธิบายส่วนที่โดดเด่นแตกต่างเป็นพิเศษได้แล้วอาจจบบทความด้วยข้อสรุปว่า ผลที่ได้ตรงกับวัตถุประสงค์การวิจัยหรือไม่ ให้ข้อเสนอแนะที่นำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์หรือให้ประเด็นคำถามการวิจัยต่อเนื่องอาจใส่ไว้ในหัวข้อเดียวกันกับวิจารณ์ก็ได้   

                    2.4.6ตาราง/กราฟ ในรายงานวิจัย มีหมายเลขกำกับ พร้อมทั้งอธิบายตาราง กราฟ และสัญลักษณ์(ถ้ามี) ทุกครั้งและทุกรูป หากนำตาราง/กราฟ จากในเว็บไซต์หรือแหล่งอื่นมาอ้างอิง ต้องบอกที่มาให้ละเอียดและชัดเจนว่านำมาจากไหน ของใคร ปีอะไร แสดงถึงอะไร

                    2.4.7รูปภาพ

              - ควรเป็นรูปภาพที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาโดยตรงและมีความชัดเจน พร้อมบรรยายว่ารูปภาพนี้ได้รับอนุญาตให้ตีพิมพ์ได้/เผยแพร่ได้ ในเนื้อหาทุกครั้ง ก่อนจะแสดงรูปภาพหรือใต้รูปภาพนั้นก็ได้ หากมีมากกว่า 1 รูป ต้องมีหมายเลขกำกับภาพตามลำดับด้วย

              - รูปภาพในอินเตอร์เน็ต ไม่ควรนำมาใช้เนื่องจากรูปภาพนั้นอาจจะมีลิขสิทธิ์ เช่น รูปภาพใน blog เป็นต้น  ควรเป็นการถ่ายภาพด้วยตัวผู้นิพนธ์เอง แต่ถ้าจะนำไปใช้จะต้องอธิบายที่มาให้ละเอียดและชัดเจนว่านำมาจากไหนของใคร ปีอะไร แสดงถึงอะไร ประกอบด้วยอะไรบ้าง ทุกรูปและทุกครั้ง และหากเป็นรูปภาพบุคคลไม่ควรให้เห็นใบหน้า

                   2.4.8.เอกสารอ้าอิง (References) ให้เขียนเป็นระบบนามปี (Name Year) เท่านั้น และ ผู้นิพนธ์ต้องเขียนมาในรูปแบบเดียวกันทั้งเรื่องเท่านั้น ใส่ตัวเลขกำกับไว้ในวงเล็บ() ท้ายข้อความ แหล่งที่ใช้อ้างอิงทั้งหมดจะปรากฏอยู่ในเอกสารอ้างอิงท้ายเล่ม โดยการเรียงลำดับตามหมายเลข และ ผู้นิพนธ์ต้องตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของการอ้างอิงก่อนส่งต้นฉบับมาตีพิมพ์ (ไม่เกิน 15 รายการอ้างอิง )

ตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิง

  • การเขียนรายการอ้างอิงจากหนังสือ

                        1)  รูปแบบการลงรายการอ้างอิงผู้แต่งชาวไทย

                ชื่อ-ชื่อสุกลผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อหนังสื่อ/(ครั้งที่พิมพ์).//เมืองที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.

ตัวอย่าง

กองชัย  อภิวัฒน์รังสรรค์.  (2523).  บรรษัทข้ามชาติ: โฉมหน้าใหม่จักรพรรดินิยม (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

                        2)  รูปแบบการลงรายการอ้างอิงผู้แต่งชาวต่างประเทศ

               ชื่อสกุล,/ชื่อต้น/ชื่อกลางผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อหนังสือ/(ครั้งที่พิมพ์).//เมืองที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.

ตัวอย่าง

Noss, R. N.  (1976).  Does english for special purpose imply a new kind of language syllabus? In G. H. Willson (ed.) Curriculum development and syllabus design for English teaching.  Singapore: Regional Language Center.

Stock, G., & Campbell, J. (Eds.).(2000). Engineering the human genome: An exploration of the science and ethics of altering the genes we pass to our children. New York: Oxford University Press.

  • การเขียนรายการอ้างอิงจากหนังสือชุด

                  ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อหนังสือ (ครั้งที่พิมพ์).//เมืองที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.//(ชื่อชุด).

สิปปนนท์  เกตุทัต.  (2536).  ความรู้คู่อนาคต.  กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.  (ชุดความคิด

ความรู้: อันดับที่ 8)

  • การเขียนรายการอ้างอิงจากหนังสือแปล

                  ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อหนังสือ/(ครั้งที่พิมพ์).//แปลจาก..โดย...//เมืองที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.

ตัวอย่าง

เบอร์เนทท์, แฟรนซิล  เอซ.  (2530).  ลอร์ดน้อยฟอนเติ้ลรอย (พิมพ์ครั้งที่ 2).  แปลจาก  Little  Lord  Fountleroy   โดย  เนื่อง  น้อย  ศรัทธา (บุญเนื่อง  บุณยเนตร).  กรุงเทพฯ: การพิมพ์สตรีสาร.

การเขียนรายการอ้างอิงจากวิทยานิพนธ์

ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อวิทยานิพนธ์.//ระดับวิทยานิพนธ์  ชื่อสาขาวิชาหรือภาควิชา  ชื่อคณะ  ชื่อมหาวิทยาลัย.

ตัวอย่าง

อภินันท์  ไม้งาม.  (2541).  คุณลักษณะของแรงงานตามความต้องการของผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดชลบุรี.  ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.  สาขาวิชาการบริหารการศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพา.

  • การเขียนรายการอ้างอิงจากบทความ

                        1)  บทความในหนังสือ

ชื่อผู้เขียนบทความ.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อบทความ.//ใน  ชื่อบรรณาธิการ(ถ้ามี),//ชื่อหนังสือ,//เลขหน้า. //เมืองที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.

ตัวอย่าง

ชัยพร  วิชชาวุธ. (2518). การสอนในระดับอุดมศึกษา.  ใน  การสอนและการวัดผลการศึกษา,     หน้า 1-30.  พระนคร: ฝ่ายวิชาการ  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมหวัง  พิธิยานุวัฒน์.  (2534).  การวิจัยเชิงบรรยาย.  ใน  ไพฑูรย์  สินลารัตน์  และ สำลี  ทองธิว, บรรณาธิการ, การวิจัยทางการศึกษา: หลักและวิธีการสำหรับนักวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3), หน้า 178-207.  กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

                        2)  บทความในสารานุกรม (Encyclopaedia)

ชื่อผู้เขียนบทความ.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อบทความ.//ชื่อสารานุกรม,//เล่มที่,//เลขหน้า.

ตัวอย่าง

สวัสดิ์  ปัจฉิมกุล.  (2527).  แผนที่.  สารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน,  เล่มที่ 19,  หน้า 1237-2380.

                        3)  บทความในวารสาร 

ชื่อผู้เขียนบทความ.//(ปี, วัน  เดือน).//ชื่อบทความ.//ชื่อวารสาร,//ปีที่/(เล่มที่),//เลขหน้า.

ตัวอย่าง

ประภาวดี  สืบสนธิ์.  (2533, ตุลาคม-ธันวาคม).  พัฒนาการงานวิจัยทางบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ในประเทศไทย.  วารสารห้องสมุด34 (9), 14-31.

Baldwin, C. M., Bevan, C., & Beshalske, A. (2000).  At-risk minority populations in a church-based clinic: Communicating basic needs. Journal of Multicultural Nursing & Health, 6(2), 26-28.

Fisher, C. J.  (1999).  The status of health education in California's public school districts: A comparison to state and national recommendations and status reports (Doctoral dissertation,University of Southern California, 1999). Dissertation Abstracts International,  61 (02),  1926.

Roy, A.  (1982).  Suicide in chronic schizophrenia.  British Journal of Psychiatry, 141,  171-177.

                        4)  บทความในหนังสือพิมพ์

ชื่อผู้เขียนบทความ.//(ปี, วัน  เดือน).//ชื่อบทความ.//ชื่อหนังสือพิมพ์,//เลขหน้า.

ตัวอย่าง

ศิริพร  วัชชวัลคู.  (2537, 5 ธันวาคม).  คำวิจารณ์และงานวิจัย.  ผู้จัดการรายวัน,  หน้า  9.

Cook, D.  (2002, January 28).  All in the mind.  The Age,  p.8.

  • การเขียนรายการอ้างอิงจากราชกิจจานุเบกษา

ชื่อกฎหมาย,//(ปี, วัน เดือน).//ราชกิจจานุเบกษา.//เล่ม…/ตอนที่…,//หน้าที่พิมพ์.

ตัวอย่าง

ปริญญาในสาขาวิชา  อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา  ครุยวิทยฐานะ  เข็มวิทยฐานะ  และครุยประจำ  ตำแหน่งของสถาบันราชภัฏ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543,  (2543, 27 มีนาคม).  ราชกิจจานุเบกษา.  เล่ม 117  ตอนที่ 26ก.,  หน้า 4-6.

  • การเขียนรายการอ้างอิงจากเอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์เป็นเล่ม

     ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อเรื่อง.//(เอกสารประกอบคำสอน จุลสาร แผ่นพับ…).//เมืองที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.//(อัดสำเนา)

ตัวอย่าง

เพ็ญศรี  เอกนิยม.  (2533?).  ไวยากรณ์ใหม่-ไวยากรณ์เก่า.  (เอกสารประกอบคำสอน).  กรุงเทพฯ: ม.ป.พ. (อัดสำเนา)

Economic and Social Commission for Asia and The Pacific.  (1976).  ESCAP trade promotion centre: What it is, what it does 1976-1977. Bangkok: ESCAP. (Mimeographed)

  • การเขียนรายการอ้างอิงจากประกาศ คำสั่ง ของหน่วยงานต่างๆ

ชื่อสถาบันหรือหน่วยงานผู้เป็นเจ้าของ.//(ปี, วัน  เดือนของประกาศ).//ชื่อประกาศ.

ตัวอย่าง

สถาบันราชภัฏราชนครินทร์.  (2544, 9  กุมภาพันธ์).  ประกาศสถาบันราชภัฏราชนครินทร์  เรื่อง  การรับสมัครเพื่อคัดเลือกเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา ปีการศึกษา 2544

  • การเขียนรายการอ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต และสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ

              รายการอ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต เป็นการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลออนไลน์ผ่านระบบเครือข่าย เช่น  E-Journal  E-book  E-mail   ส่วนสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลจากซีดีรอมที่บรรจุข้อมูลสำเร็จรูปไว้แล้ว สามารถสืบค้นได้จากชื่อเรื่องตามแผ่นซีดีรอมนั้น

                        1)  ข้อมูลหรือเอกสารจากอินเทอร์เน็ต

ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่เผยแพร่).//ชื่อเรื่อง//[ประเภทของสื่อ].//สถานที่ผลิต:/ชื่อผู้ผลิตหรือผู้เผยแพร่.//   วัน เดือน ปี ที่เข้าถึงข้อมูล.//จาก//ชื่อแหล่งข้อมูลหรือที่อยู่ที่ใช้สืบค้นในอินเทอร์เน็ต.

ตัวอย่าง

ไพโรจน์  อุลิต.  (2546).  บทเรียนออนไลน์ วิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลวันที่  4  กุมภาพันธ์  2547.  จาก  https://it.ripa.ad.th/courseware2/

มรกต  เจวจินดา.  (2536).  ภาพลักษณ์ปรีดี  พนมยงค์  กับการเมืองไทย  พ.ศ. 2475 – 2526 [ซีดีรอม].  เข้าถึงข้อมูลวันที่ 5 ตุลาคม 2548.  จาก  ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ทางการศึกษา  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Chou, L., McClintock, R., Moretti, F., & Nix, D. H. (1993).  Technology and education: New wine in new bottles: Choosing pasts and imagining educational futures [On-line]. Retrieved August 24, 2000.  from Columbia University,  Institute for Learning Technologies Web site:  https://www.ilt.columbia.edu/publications/papers/newwine1.html