การศึกษาวิธีการการผลิตเมล็ดพันธุ์รับรองเฮมพ์ เพื่อให้เป็นไปตามพนชระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522

Main Article Content

ธีระ ชัยพิริยะศักดิ์

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำไปสู่วิธีการในการผลิตเมล็ดพันธุ์รับรองของเฮมพ์ (Hemp) ตามที่กฎกระทรวง การขออนุญาตและการอนุญาตผลิต  จําหน่าย  หรือมีไว้ในครอบครอง ซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท  5  เฉพาะเฮมพ์ พ.ศ. 2559 ซึ่งในอดีตมีการลักลอบปลูกเพื่อใช้ในวิถีชีวิตของชนเผ่าในพื้นที่สูง โดยเฉพาะชาวเขาเผ่าม้ง ที่ผ่านมา เฮมพ์เป็นสิ่งผิดกฎหมายเนื่องจากเฮมพ์เป็นพืชในตระกูลเดียวกันกับกัญชา โดยพืชดังกล่าวทั้ง 2 ชนิด มีสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC) ซึ่งเป็นสาระสำคัญที่ก่อให้เกิดอาการเคลิ้มฝันและมีฤทธิ์เสพติด  ในการศึกษานี้ เก็บตัวอย่างจากช่อดอกและใบในทุกๆ 60, 90 วัน และระยะวันออกดอก รวม 687 ตัวอย่าง  และนำตัวอย่างที่ได้ไปวิเคราะห์ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ เชียงใหม่เพื่อหาปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC) จากผลการศึกษาพบว่ามี 3 สายพันธุ์ที่มีปริมาณสาร THC ไม่เกินร้อยละ 1 ต่อน้ำหนักแห้งตามที่กฎหมายกำหนด  ซึ่งปลูกในสภาพแวดล้อมและปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน สิ่งที่หน่วยงานภาครัฐจะต้องดำเนินการต่อจากนี้จะเป็นการเก็บตัวอย่างเพื่อยืนยันปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC) ในปริมาณที่กำหนด และเสนอเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการยาเสพติดให้โทษเพื่อพิจารณาประกาศเป็นเมล็ดพันธุ์รับรองต่อไป

Article Details

บท
รายงานการวิจัย

References

1.ไพลิน ภูวนัย, ประภัสสร ทิพย์รัตน์,พิภพ ชำนิวิกัยพงศ์ .(2552). การสำรวจองค์ประกอบสารแคนนาบินอยด์ เพื่อจำแนกพืชกัญชาในประเทศไทย [ออนไลน์].เข้าถึงข้อมูลวันที่ 1 มิถุนายน 2561 จาก https://budgetitc.dmsc.moph.go.th/research/pdf/20131.pdf.

2.มูลนิธิโครงการหลวง ผลการศึกษาการวิจัยและพัฒนาการปลูกพืชเฮมพ์ พ.ศ.2550

3.กฎกระทรวง การขออนุญาตและการอนุญาตผลิต จําหน่าย หรือมีไว้ในครอบครอง ซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะเฮมพ์
หน้า 1พ.ศ. 2556 (2560, 6 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 1 ก

4.อาคม กาญจนประโชติ. (2548,พฤษภาคม – มิถุนายน). เฮมพ์ปลูกได้ ให้สาร THC ต่ำกว่าร้อยละ 0.3 วารสารแม่โจ้ปริทัศน์, 6(3), 9-11