ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่รับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพดงห่องแห่ ตำบลปทุม จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • เพ็ญศรี จิตต์จันทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ธีรนุช ยินดีสุข คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี
  • อรทัย พินสุวรรณ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี
  • ปาริชาต ศรีหนา โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การส่งเสริมสุขภาพ , โควิด-19 , ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลองชนิดแบบแผนการวิจัยกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง โดยม๊วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการส่งเสริมสุขภาพต่ฮพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ตำบลปทุม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน 40 รายเลือกโดยกำหนดคุณสมบัติตามเกณฑ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมู]ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 2) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ โปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพตามแนวคิดของเพนเดอร์ คู่มือการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างโดยใช้สถิติ paired-t test

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 หลังการทดลอง (M = 139.35, SD = 3.28) สูงกว่าก่อนทดลอง (M = 123.83, SD = 10.67) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = - 12.18) ผลการศึกษาสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพเพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้มีการปฏิบัติพฤติกรรมในการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 และเป็นแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้มีการปฏิบัติพฤติกรรมการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ช่วยควบคุมโรคประจำตัวให้อยู่ในภาวะปกติ

References

กระทรวงสาธารณสุข, กรมควบคุมโรค. (2563). คู่มือการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับประชาชน. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงสาธารณสุข, กรมควบคุมโรค. (2565). สถานการณ์ในประเทศไทยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php

ขวัญใจ ลอยแก้ว, สุรีย์พันธุ์ วรพงศธร, ธวัชชัย วรพงศธร, และเกษม ชูรัตน์. (2562). ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษา โดยประยุกต์โมเดลการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง, 63(4), 283-296.

ณัชชา โพระดก. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของชายวัยกลางคน กลุ่มเสี่ยงอาการทางเมตาโบลิคในชุมชน จังหวดกาญจนบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยคริสเตียน. http://library.christian.ac.th/thesis/document/T033150.pdf

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2554). ระเบียบวิธีการวิจัยทางการพยาบาล (พิมพ์ครั้งที่ 4). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัตน์ศิริ ทาโต. (2551). การวิจัยทางพยาบาลศาสตร์: แนวคิดสู่การประยุกต์ใช้. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมสมัย ม่วงแย้ม, สุภาพร แนวบุตร, และประทุมา ฤทธิ์โพธิ์. (2561). ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพและอัตราการกรองของไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 12(ฉบับพิเศษ), 97-109.

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดอุบลราชธานี. (2565). รายงานสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 จังหวัดอุบลราชธานี. Facebook. https://www.facebook.com/prubon

สิริชยา อังกูรขจร. (2556). ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพตามแนวคิดของเพนเดอร์ ต่อการปฏิบัติตามคำแนะนำในการรักษาของผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต].จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คลังปัญญาจุฬาฯ. https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43378

อุดมศักดิ์ แก้วบังเกิด, รักน้ำ โมราราช, และจริยา บุญอนันต์. (2566). ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของครูผู้ดูแลเด็กในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย จังหวัดนครสวรรค์. วารสารโรคและภัยสุขภาพสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์, 17(1), 91-105.

Faroughi, F., Shahriari, M., Keshvari, M., & Shirani, F. (2021). The Effect of an Educational Intervention based on Pender's Health Promotion Model on Treatment Adherence in the Patients with Coronary Artery Disease. Iranian Journal of Nursing and Midwifery Research, 26(3), 216–222. https://doi.org/10.4103/ijnmr.IJNMR_53_20

Hussain, A., Bhowmik, B., & Moreira, N.C. (2020). COVID-19 and diabetes: Knowledge in Progress. Diabetes Research and Clinical Practice, 162, 108142. https://doi.org/10.1016/j.diabres.2020.108142

Li, B., Yang, J., Zhao, F., Zhi, L., Wang, X., Liu, L., Bi, Z., & Zhao, Y. (2020). Prevalence and impact of cardiovascular metabolic disease on COVID-19 in China. Clinical Research in Cardiology, 109, 531-538. https://doi.org/10.1007/s00392-020-01626-9

Morley, J. E., & Vellas, B. (2020). COVID-19 and Older Adults. The Journal of Nutrition, Health and Aging, 24(4), 364-365.

Pender, N. J. (1996). Health promotion in nursing practice (3rd ed.). Appleton & Lange.

Pender, N. J., Murdaugh, C. L., & Parsons, M. A. (2006). Health promotion in nursing practice (5th ed.). Pearson Prentice Hall.

Rahimian, M., Mohammadi, M., Mehri, A., & Rakhshani, M. H. (2016). Impact of performing health promotion model intervention on physical activity of health volunteer of Torbat-e-Jam City, Iran. International Archives of Health Science, 3(3), 87-91.

Yang, J., Zheng, Y., Gou, X., Guo, Q., Wang, H., Wang, Y., & Zhou, Y. (2020). Prevalence of comorbidities in the novel Wuhan coronavirus (COVID-19) infection: A systematic review and meta-analysis. International Journal of Infectious Diseases, 94, 91-95. https://doi.org/10.1016/j.ijid.2020.03.017

Zhou, F., Yu, T., Du, R., Fan, G., Liu, Y., Liu, Z., Xiang, J., Wang, Y., Song, B., Gu, X., Guan, L., Wei, Y., Li, H., Wu, X., Xu, J., Tu, S., Zhang, Y., & Chen, H. (2020). Clinical course and risk factors for mortality of adult inpatients with COVID-19 in Wuhan, China: A retrospective cohort study. The Lancet, 395(10229), 1054-1062. https://doi.org/10.1016/S0140-6736(20)30566-3

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-23