การพัฒนาแนวปฏิบัติการประเมินสัญญาณเตือนเริ่มแรกของภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดเนื้องอกสมอง หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมระบบประสาท โรงพยาบาลขอนแก่น
คำสำคัญ:
ความดันในกะโหลกศีรษะสูง, สัญญาณเตือนเริ่มแรก, ผู้ป่วยหลังผ่าตัดเนื้องอกสมองบทคัดย่อ
วิจัยเชิงปฏิบัติการ ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์การประเมินสัญญาณเตือนเริ่มแรกการเข้าสู่ภาวะความดันกะโหลกศีรษะสูงในผู้ป่วยหลังผ่าตัดเนื้องอกสมอง หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมระบบประสาท โรงพยาบาลขอนแก่น 2) พัฒนาแนวปฏิบัติการประเมินสัญญาณเตือนเริ่มแรกของภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงฯ และ 3) ศึกษาผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติฯ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ พยาบาลวิชาชีพ 36 คน และผู้ป่วยหลังผ่าตัดเนื้องอก 45 คน ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2567เครื่องมือวิจัย ได้แก่ คู่มือแนวปฏิบัติฯ เครื่องมือรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบประเมินผลลัพธ์ แบบทดสอบความรู้ และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์เนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณ หาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบคะแนนความรู้เฉลี่ยก่อนและหลังใช้แนวปฏิบัติฯ ด้วยการสถิติทดสอบ paired sample t-test
ผลวิจัยพบว่า 1) สถานการณ์ในหน่วยงานยังไม่มีแนวปฏิบัติฯ ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดเนื้องอกสมองที่ชัดเจน 2) แนวปฏิบัติการฯ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ประกอบด้วย การประเมินทางการพยาบาล การวินิจฉัยการพยาบาล การวางแผนการพยาบาล การปฏิบัติการพยาบาล และการประเมินการปฏิบัติการพยาบาล 3) ผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติฯ พบว่า ผู้ป่วยได้การดูแลรักษาที่มีมาตรฐาน ถูกต้อง รวดเร็วมากยิ่งขึ้นและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายถึงชีวิต กลุ่มพยาบาลวิชาชีพ พบว่า มีคะแนนความรูู้เฉลี่ยแต่ละด้านหลังใช้แนวปฏิบัติฯ สูงกว่าก่อนใช้แนวปฏิบัติฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p0.01) นอกจากนี้พยาบาลวิชาชีพมีการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.41-31.25 และมีความพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติฯ ในระดับมากที่สุด (M = 4.93, SD =0.12)
References
ขวัญเรือน สิงห์กวาง. (2563). การพัฒนาแนวปฏิบัติการประเมินสัญญาณเตือนเริ่มแรกของภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงในผู้ป่วยหลังผ่าตัดเนื้องอกสมอง. พุทธชินราชเวชสาร, 37(2), 136-148.
ฉัตรกมล ประจวบลาภ. (2561). ภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงในผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพที่สมอง: มิติของการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์. วารสารสภาการพยาบาล, 33(2), 15-28.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). สุวีริยาสาส์น.
เบญจมาศ ทำเจริญตระกูล, และดลวิวัฒน์ แสนโสม. (2561). ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกัน ปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยแผนกอายุรกรรม. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 25(1), 25-42.
พนิดา จันทรัตน์, เพ็ญแข รัตนพันธ์, ภคินี ขุนเศรษฐ์, และปรัชญานันท์ เที่ยงจรรยา. (2566). การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังสัญญาณเตือนเข้าสู่ภาวะวิกฤตในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง โรงพยาบาลสงขลา. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 32(1), 109-119.
เพ็ญศรี ปักกังวะยัง, และสุรชาติ สิทธิปกรณ์. (2564). การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกัน ภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง ในผู้ป่วยที่มีการระบายน้ำไขสันหลังจากโพรงสมอง โรงพยาบาลร้อยเอ็ด. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 39(1), 98-107.
โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน. (2553). Modified early warning scoring system.
วรรณวิศา ปะเสทะกัง, ณิชาภัตร พุฒิคามิน, และศรินรัตน์ จันทพิมพ์. (2563). ความวิตกกังวลในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดของโรคเนื้องอกสมอง: การจัดการทางพยาบาล. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 38(4), 35-44.
เวชระเบียนโรงพยาบาลขอนแก่น. (2566). สถิติการเข้ารับการรักษาของผู้ป่วยโรคเนื้องอกสมอง พ.ศ. 2563–พ.ศ. 2565.
ศรินทิพย์ บุตราช, และสุทธิพร วรบรรณากร. (2563). การพัฒนาแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง ในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะระดับรุนแรง โรงพยาบาลสกลนคร. วารสารโรงพยาบาล สกลนคร, 23(1), 15-27.
Butowski N. A. (2015). Epidemiology and diagnosis of brain tumors. Continuum (Minneapolis, Minn.), 21(2 Neuro-oncology), 301–313. https://doi.org/10.1212/01.CON.0000464171.50638.fa
Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer. (3rd ed.). Deakin University.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.
Teasdale, G., & Jennett, B. (1974). Assessment of coma and impaired consciousness. A practical scale. Lancet, 2(7872), 81-84. https://doi.org/10.1016/s0140-6736(74)91639-0
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ก่อนเท่านั้น