ประสบการณ์ชีวิตของครูผู้สอนเด็กออทิสติกในโรงเรียน
คำสำคัญ:
ประสบการณ์ชีวิต , ครูการศึกษาพิเศษ , ออทิสติกบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ชีวิตของครูผู้สอนเด็กออทิสติกในโรงเรียน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามเกณฑ์การคัดเข้าได้ครูผู้สอน 11 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและแบบสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ด้วยวิธีวิทยาการศึกษาประสบการณ์ชีวิตและเรื่องเล่าตามแบบปรากฏการณ์วิทยา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูผู้สอนเด็กออทิสติกทำหน้าที่สอน ดูแลสุขภาพเด็กและสอนทักษะชีวิตเสมือนเป็นลูกตัวเอง 2) ความสำเร็จเกิดจากความเข้าใจ ไม่ยอมแพ้ต่อปัญหาอุปสรรค และได้รับความร่วมมือครูเข้าใจเด็ก ผู้ปกครองเอาใจใส่ ผู้บริหารสนับสนุน เพื่อนและตัวเด็กเอง ที่สำคัญครูออกแบบการเรียนรู้และปรับวิธีการสอนให้สอดคล้องกับลักษณะเด่นของผู้เรียนรายบุคล 3) ปัญหาอุปสรรคด้านผู้ปกครอง เด็กเอง และบุคลากร แต่ครูเท่าที่มีก็ตั้งใจสอน และสามารถจัดการปัญหาบางอย่างได้ 4) ครูต้องการให้ผู้ปกครองช่วยกระตุ้นพัฒนาการเด็ก ต้องการให้ทุกส่วนมีความเข้าใจเด็กและให้การสนับสนุนช่วยเหลือครู ทั้งผู้บริหารโรงเรียนและเพื่อนครู โรงพยาบาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสังคมโดยทั่วไป ข้อเสนอแนะ ทีมผู้บริหารการศึกษาและทีมผู้บริหารของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรนำผลการวิจัยไปใช้ในการกำหนดเป็นนโยบาย จัดระบบการศึกษาที่มีคุณภาพแก่เด็กออทิสติกรวมทั้งจัดระบบการส่งเสริมสนับสนุนผู้ปกครองเด็กอย่างเป็นรูปธรรมให้มากขึ้น โดยร่วมกันจัดระบบการดูแลเด็กและระบบการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพสำหรับบุคคลออทิสติก และมีการติดตามประเมินผลและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และควรศึกษาวิจัยการพัฒนาโปรแกรมการสอนเด็กออทิสติกในโรงเรียน
References
กรมสุขภาพจิต, สถาบันราชานุกูล. (2554). เมื่อลูกรักออทิสติกไปโรงเรียน: คู่มือสำหรับผู้ปกครอง. บียอนด์พับลิสชิ่ง.
กัญญพร ลอยจิ้ว, วิชญาดา ทองเคร็ง, ศุภชัย ณภิบาล, และประเสริฐ ประสมรักษ์. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความเครียดของครูผู้ดูแลเด็กพิเศษในศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษาที่ 10. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น, 2(1), 91-106.
จิณัฐตา ศุภศรี, อรวรรณ หนูแก้ว, และวันดี สุทธรังสี. (2560). ผลของโปรแกรมการให้สุขภาพจิตศึกษาครอบครัวต่อภาระของผู้ดูแลเด็กออทิสติก: การศึกษาเบื้องต้น. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(ฉบับพิเศษ), 196-213.
ชวัลลักษณ์ ศรีอุดม, สุปราณี มาศวรรณา, และสุวิยา เพชรชู (2565). บทบาทของครูในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีภาวะออทิสติกและครอบครัว. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 17(2), 1-10.
ฒามรา แก้วมา. (2553). พฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการให้ความช่วยเหลือระยะแรกเริ่มแก่เด็กออทิสติกในพื้นที่ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 1. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
นงนภา วงศ์วารี, สงบ อินทรมณี, และธีระดา ภิญโญ. (2562). การบริหารการเรียนรวมสำหรับเด็กออทิสติกของโรงเรียนเอกชน กรุงเทพมหานคร. Verdian E-Journal Silpakorn Universitiy Humanities, Social Sciences and Arts, 12(4), 1093-1111.
นฤมล ทวีพนธ์. (2555). ความเครียด ภาระการดูแล และทัศนคติที่มีต่อเด็กออทิสติกของครูที่ดูแลเด็กออทิสติก ในโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา.[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พนิดา รัตนไพโรจน์, ชุติมา ปัญญาพินิจนุกูร, และเทียนทอง หาระบุตร. (2566). บทบาทพยาบาลกับการเตรียมพ่อแม่ฝึกทักษะกิจวัตรประจำวันแก่เด็กออทิสติกปฐมวัย. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 40(2), 1-10.
พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551. (5 กุมภาพันธ์ 2551). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 ตอนที่ 28 ก. หน้า 1-13.
เพ็ญแข ลิ่มศิลา, และธีรารัตน์ แทนขำ. (2562). คู่มือฝึกและดูแลเด็กออทิสติกสำหรับผู้ปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 2). โรงพยาบาลยุวประสารทไวทโยปถัมภ์.
วรวรรณ จุฑา, เรวดี จายานะ, ดวงดาว ศรีเรืองรัตน์, และกมลลักษณ์ มากคล้าย. (2566). สถานการณ์โรคจิตเวชเด็กไทย ปี พ.ศ. 2565-พฤษภาคม พ.ศ. 2566: การเฝ้าระวังโรคจิตเวชและปัญหาสุขภาพจิตจากคลังข้อมูลสุขภาพ (Health Data Center: HDC). คลังความรู้สุขภาพจิต ห้องสมุดกรมสุขภาพจิต. https://dmh-elibrary.org/items/show/1480
วัชรพงศ์ ปรากฎ, ทศพล ธีฆะพร, และสิทธิพร เขาอุ่น. (2564). การบริหารระบบการเปลี่ยนผ่านนักเรียนพิการเข้าสู่สถานศึกษาที่ส่งผลต่อความพร้อมของนักเรียนพิการในศูนย์การศึกษาพิเศษเครือข่าย 7 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. วารสารวิจยวิชาการ, 4(3), 215-228.
สาวิตรี วงศ์กิติรุ่งเรือง, และทวี เชื้อสุวรรณทวี. (2565). การเปลี่ยนผ่านสำหรับนักเรียนออทิสติกมีความสำคัญเพียงใด. วารสารการจัดการทางการศึกษาปฐมวัย, 4(1), 35-52.
สุภัททา ปิณฑะแพทย์. (2564). การสัมภาษณ์เพื่อการวิจัย. วารสารพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม, 1(3), 1-3.
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสุรินทร์. (2565). รายงานสถานการณ์ทางสังคมจังหวัดสุรินทร์ประจำปี 2565. https://www.m-society.go.th/ewtadmin/ewt/mso_web/download/article/article_20220922105520.pdf
อาริสรา ทองเหม, และประพิมพ์ใจ เปี่ยมคุ้ม. (2560). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กออทิสติกที่สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์. วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ, 6(2), 21-36.
อารีวรรณ เรือนพิบูลย์. (2565). แนวทางการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ของหน่วยบริการประจำอำเภอศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(8), 146-161.
Arthur-Kelly, M., Sigafoos, J., Green, V., Mathisen, B., & Arthur-Kelly, R. (2009). Issues in theuse of visual supports to promote communication in individuals with autism spectrum disorder. Disability and Rehabilitation, 31(18), 1474-1486. https://doi.org/10.1080/09638280802590629
Gutierrez, A., Cuesta-Gomez, J. L., Rodriguez-Fernandez, P., & Gonzalez-Bernal, J. J. (2021). Implication of the sensory environment in children with autism spectrum disorder: Perspectives from school. International Journal of Environmental Research and Public Health, 18(14), 7670. https://doi.org/10.3390/ijerph18147670
Cahyo Adi Kistoro, H., Setiawan, C., Latipah, E., & Putranta, H. (2021). Teachers' experiences in education for autistic children. International Journal of Evaluation and Research in Education, 10(1), 65-77.
Luddeckens, J., Anderson, L., & Ostlund, D. (2021). Principals’ perspectives of inclusive education involving students with autism spectrum conditions - a Swedish case study. Journal of Educational Administration, 60(2), 207-221. https://doi.org/10.1108/JEA-02-2021-0022
Miles, M. B., Huberman, A. M., & Saldana, J. (2014). Qualitative data analysis: A methods sourcebook (3rd ed.). Sage. https://www.metodos.work/wp-content/uploads/2024/01/Qualitative-Data-Analysis.pdf
StEvens, C. (2024). The lived experience of autistic teachers: A review of the literature. International Journal of Inclusive Education, 28(9), 1871-1885. https://doi.org/10.1080/13603116.2022.2041738
Walters, A. J. (1995). The phenomenological movement: Implications for nursing research. Journal of Advanced Nursing, 22(4), 791–799. https://doi.org/10.1046/j.1365-2648.1995.22040791.x
World Health Organization. (2023, November 15). Autism: Key facts. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/autism-spectrum-disorders
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ก่อนเท่านั้น