ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับระยะความรุนแรงของมะเร็งปากมดลูกในสตรี
คำสำคัญ:
มะเร็งปากมดลูก, ระยะความรุนแรง, ปัจจัยคัดสรร, จำนวนครั้งการตั้งครรภ์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับระยะความรุนแรงของมะเร็งปากมดลูกในสตรี กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงในสตรีที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปากมดลูกครั้งแรกของการมารับบริการ ณ แผนกสูตินรีเวช ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ถึง 26 มิถุนายน พ.ศ. 2562 จำนวน 116 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางเครซี่และมอร์แกน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ (systematic sampling) ระยะความรุนแรงของมะเร็งปากมดลูกในสตรี เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปและแบบบันทึกข้อมูลระยะความรุนแรงของมะเร็งปากมดลูกตามเกณฑ์ FIGO 2018 ได้ค่า CVI เท่ากับ 0.82 ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาสถิติไคสแควร์และการทดสอบฟิชเชอร์
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อายุ 40-49 ปี (ร้อยละ 30.20) มีสถานภาพสมรส (ร้อยละ 96.60) HIV infection (ร้อยละ 1.70) มีจำนวนการตั้งครรภ์ 1-2 ครั้ง (ร้อยละ 48.30) เป็นมะเร็งปากมดลูกระยะแรกเริ่ม (early stage) คือ stage I (IA1-IB3) (ร้อยละ 45.70) ระยะลุกลาม (advanced stage) คือ stage II (IIA1-IIB) (ร้อยละ 29.30), stage III (IIIA-IIIC2) (ร้อยละ 21.60), stage IV (IVA-IVB) (ร้อยละ3.40)และจำนวนครั้งการตั้งครรภ์มีความสัมพันธ์กับระยะความรุนแรงของมะเร็งปากมดลูกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ อายุ สภานภาพสมรส HIV infection ประวัติการใช้ยาคุมกำเนิดไม่มีความสัมพันธ์กับระยะความรุนแรงของมะเร็งปากมดลูกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้น บุคลากรด้านสุขภาพควรส่งเสริมให้สตรีที่มีการตั้งครรภ์หรือมีบุตรหลายคนเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำ ให้ความรู้และจัดกิจกรรมเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคและระยะลุกลามของมะเร็งปากมดลูก
References
กชกร ทิพย์สันเทียะ, วิศรุดา ตีเมืองซ้าย, และสุพจน์ คำสะอาด. (2565, 25 มีนาคม). อุบัติการณ์การมาตรวจยืนยันผลพยาธิวิทยาของสตรีที่มีผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกผิดปกติ โรงพยาบาลมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม [เอกสารนำเสนอในที่ประชุม]. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 23. ขอนแก่น.
วราภรณ์ จันทร์รัตน์. (2567). ความชุกและปัจจัยที่ส่งผลต่อความเสี่ยงโรคมะเร็งปากมดลูกของโรงพยาบาลยางตลาดอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(2), 631-639.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. (2562, 16 พฤศจิกายน). ทะเบียนมะเร็ง จังหวัดมหาสารคาม. https://mkm.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php
อารยา ประเสริฐชัย, และมยุรินทร์ เหล่ารุจิสวัสดิ์. (2566). แนวโน้มอัตราการตายด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ.2554-2564. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 16(1), 203-217.
อัญชลี ชัยนวล. (2564). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดความผิดปกติของเซลล์เยื่อบุผิวปากมดลูก และการทำนายโอกาสเกิดรอยโรคปากมดลูกขั้นสูง. วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์, 12(2), 19-31.
Asthana, S., Busa, V., & Labani, S. (2020). Oral contraceptives use and risk of cervical cancer—A systematic review & meta-analysis. European Journal of Obstetrics & Gynecology and Reproductive Biology, 247, 163-175. https://doi.org/10.1016/j.ejogrb.2020.02.014
Frida, K. M., Atieno, W. M. C., & Habtu, M. (2017). Socio-demographic factors associated with advanced stage of cervical cancer at diagnosis in Kenyatta National Hospital, Kenya: A cross sectional study. Journal of Cancer Science & Therapy, 9(7), 554-561. DOI:10.4172/1948-5956.1000473
Guo, C., Zhan, B., Li, M.-Y., Yue, L., & Zhang, C. (2024). Association between oral contraceptives and cervical cancer: A retrospective case–control study based on the National Health and Nutrition Examination Survey. Frontiers in Pharmacology, 15, 1400667. https://doi.org/10.3389/fphar.2024.1400667
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Kusuma, F., Suryoadji, K. A., Adrian, M., Utami, T. W., Winarto, H., Anggraeni, T. D., Nuryanto, K. H., & Haekal, M. (2022). Socio-demographic profiles of cervical cancer patients at cipto mangunkusumo hospital-2009-2019 and its association with cancer stages at diagnosis. Cermin Dunia Kedokteran, 49(5), 245-247. https://doi.org/10.55175/cdk.v49i5.227
Mattern, J., Letendre, I., Sibiude, J., Pénager, C., Jnifen, A., Souare, F., Ayel, S., Nguyen, T., & Mandelbrot, L. (2022). Diagnosis of advanced cervical cancer, missed opportunities? BMC Women's Health, 22(1), 97. https://doi.org/10.1186/s12905-022-01668-3
Momenimovahed, Z., & Salehiniya, H. (2017). Incidence, mortality and risk factors of cervical cancer in the world. Biomedical Research and Therapy, 4(12), 1795-1811. https://doi.org/10.15419/bmrat.v4i12.386
Rani, R., Kumar, R., Trivedi, V., Singh, U., Chauhan, R., Ali, M., & Kumar, A. (2016). Age, parity and stages of cervix cancer: A hospital based study. British Journal of Medical and Health Research, 3(4), 73-82.
Rojanamatin, J., Ukranun, W., Supaattagorn, P., Chiawiriyabunya, I., Wongsena, M. C., Chaiwerawattana, A., Laowahutanont, P., Chitapanarux, I., Vatanasapt, P., & Greater, S. (Eds.). (2021). Cancer in Thailand Vol. X, 2016-2018. Medical Record and Databased Cancer Unit, Medical Digital Division, National Cancer Institute.
Salib, M. Y., Russell, J. H., Stewart, V. R., Sudderuddin, S. A., Barwick, T. D., Rockall, A. G., & Bharwani, N. (2020). 2018 FIGO staging classification for cervical cancer: Added benefits of imaging. Radiographics, 40(6), 1807-1822. https://doi.org/10.1148/rg.2020200013
Savrova, A., Jaal, J., Nomm, O., & Innos, K. (2023). Factors associated with advanced-stage diagnosis of cervical cancer in Estonia: A population-based study. Public Health, 225, 369-375. https://doi.org/10.1016/j.puhe.2023.10.025
Sung, H., Ferlay, J., Siegel, R. L., Laversanne, M., Soerjomataram, I., Jemal, A., & Bray, F. (2021). Global cancer statistics 2020: GLOBOCAN estimates of incidence and mortality worldwide for 36 cancers in 185 countries. CA: A Cancer Journal for Clinicians, 71(3), 209-249. https://doi.org/10.3322/caac.21660
Zhang, S., Xu, H., Zhang, L., & Qiao, Y. (2020). Cervical cancer: Epidemiology, risk factors and screening. Chinese Journal of Cancer Research, 32(6), 720-728. https://doi.org/10.21147/j.issn.1000-9604.2020.06.05
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ก่อนเท่านั้น