โปรแกรมการชะลอความเสื่อมของไตในผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะไตเสื่อมระยะที่ 1-3:

การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

ผู้แต่ง

  • ชัญญา สงวนสม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ชลดา กิ่งมาลา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ชวัลลักษณ์ แดงงาม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ถิรนันท์ ยอดเจริญ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ทรายวรินทร์ สมส่วน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ธารารัตน์ ชัยนิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ธาริตา กลองชัย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ธิดารัตน์ สุภิษะ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • พรรณพนัช ชาติธรรม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

โปรแกรมการชะลอความเสื่อมของไต, ผู้ป่วยโรคเบาหวาน, ภาวะแทรกซ้อนที่ไต

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปองค์ความรู้โปรแกรมการดูแลสุขภาพที่สามารถชะลอการเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวานที่มีความเสื่อมของไตในระยะที่ 1-3 โดยใช้แนวทางการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบของสถาบันโจแอนนาบริกส์ (Joanna Briggs) สืบค้นจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญของงานวิจัยด้านการแพทย์และสาธารณสุข ได้แก่ Google scholar, ThaiLIS และวารสารวิชาการไทย (Thai-Journal Citation Index Centre) ตีพิมพ์ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2561 -วันที่ 31 ธันวาคม 2566 โดยคัดเลือกรายงานวิจัยที่เป็นลักษณะวิจัยกึ่งทดลอง แบบ 2 กลุ่ม วัดก่อน-หลัง เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพงานวิจัย แบบบันทึกคุณลักษณะของงานวิจัย และแบบรวบรวมข้อมูลงานวิจัย คัดเลือกรายงานวิจัยเข้าตามเกณฑ์ที่กำหนด ดึงข้อมูลและประเมินอคติโดยทำอย่างเป็นอิสระต่อกัน หากความคิดเห็นไม่ตรงกันได้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาข้อสรุป

ผลการสังเคราะห์งานวิจัย พบว่า งานวิจัยที่ผ่านเกณฑ์ทั้งหมด 6 เรื่อง กิจกรรมในโปรแกรม ประกอบด้วย การให้ความรู้และฝึกทักษะ การสร้างแรงจูงใจ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการมีส่วนร่วมของผู้ป่วย ผลของโปรแกรม พบว่า กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการดูแลสุขภาพเพื่อชะลอการเสื่อมของไตมีค่า HbA1c eGFR และ Creatinine มีความแตกต่างกันกับกลุ่มที่ได้รับบริการปกติ พบว่า โปรแกรมการดูแลสุขภาพเพื่อชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวานที่มีความเสื่อมของไตในระยะที่ 1 - 3 ร่วมด้วย ทำให้การเปลี่ยนแปลงของผลลัพธ์ทางคลินิกเป็นไปในทางที่ดีขึ้น จากผลการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ควรมีการพัฒนาเป็นหลักสูตรระยะสั้นในการฝึกอบรมให้กับพยาบาลที่รับผิดชอบงานคลินิกเบาหวาน เพื่อช่วยส่งเสริมการชะลอความเสื่อมของไตในผู้ป่วยเบาหวาน

References

จันจิรา หินขาว, ขนิตฐา หาญประสิทธิ์คำ, และสุนทรี เจียรวิทยกิจ. (2562). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองร่วมกับการสัมภาษณ์เพื่อสร้างแรงจูงใจเพื่อชะลอไตเสื่อมจากเบาหวานต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีความเสื่อมของไตระยะที่ 3. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 30(2), 185-202.

ชัชลิต รัตรสาร. (2560). สถานการณ์ปัจจุบัน และความร่วมมือเพื่อปฏิรูปการดูแลรักษาโรคเบาหวานในประเทศไทย. https://www.novonordisk.com/content/dam/Denmark/HQ/sustainablebusiness/performance-on-tbl/more-about-how-we-work/Creating%20shared%20value/PDF/Thailand%20Blueprint%20for%20Change_2017_TH.pdf

ปุณญณิน เขื่อนเพ็ชร์, รุ้งลาวัลย์ กาวิละ, และมนัชยา มรรคอนันตโชติ. (2562). ผลการดูแลสุขภาพแบบผสมผสานต่อผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยที่มีภาวะไตเสื่อมระดับ 3 จากโรคเบาหวาน โรงพยาบาลแม่ลาว. เชียงรายเวชสาร, 11(2), 93-99.

วีนัส สาระจรัส, และแอนนา สุมะโน. (2561). ผลของกระบวนการสนับสนุนการจัดการตนเองต่อการชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะไตเรื้อรัง โรงพยาบาลแหลมฉบัง ชลบุรี. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 1(3), 13-26.

สายฝน ม่วงคุ้ม, พรพรรณ ศรีโสภา, วัลภา คุณทรงเกียรติ, ปณิชา พลพินิจ, วิภา วิเสโส, ชุติมา ฉันทมิตรโอภาส, และชัยชาญ ดีโรจนวงศ์. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดแดงขนาดเล็กในผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 28(2), 74-84.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. (2562). จำนวนและอัตราป่วย/ตาย ปี 2559-2562. กองโรคไม่ติดต่อ. https://ddc.moph.go.th/dncd/news.php?news=39911

สุนันทา สกุลยืนยง. (2560). ผลของรูปแบบการให้ความรู้ในการปรับพฤติกรรมเพื่อชะลอโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์. วารสารโรคและภัยสุขภาพ, 11(2), 1-14.

สุพัตรา พงษ์อิศรานุพร, ศศรส หลายพูนสวัสดิ์, และประทุม สุภชัยพานิชพงศ์. (2561). ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลดำเนินสะดวก. วารสารแพทย์เขต 4-5, 37(2), 148-159.

เสาวลักษณ์ ศรีดาเกษ, เทพไทย โชติชัย, อาทิตย์ ฉัตรชัยพลรัตน์ นุสรา โชติชัย, และอิสรีย์ ปัดภัย. (2565). ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันภาวะไตเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะไตเสื่อมเรื้อรังระดับ 3. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 32(1), 195-205.

Bandura, A. (1977). Self-efficacy Theory: toward a unify theory of behavior change. Psychological Review, 84(2), 191-215.

Creer, L. T. (2000). Self-management of chronic illness. In M. Boekaerts, P. R. Pintrich, & M. Zeidner (Eds.). Handbook of self-regulation (pp. 601-629). Academic Press.

Kanfer, F. H., & Gaelick-Buys, L. (1991). Self management methods. In F. H. Kanfer, & A. Goldstein (Eds.). Helping people change: A textbook of methods (4th ed., pp. 305-360). Pergamon Press.

The Joanna Briggs Institute For Evidence Based Nursing & Midwifery. (2011). Joanna Briggs Institute reviewer’ s manual: 2011 edition. https://dl.icdst.org/pdfs/files3/585eb6f9b7a3929ea6a3c98c6bc9f66d.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-25