ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และการรับรู้ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดกับพฤติกรรมการป้องกัน การคลอดก่อนกำหนดในหญิงตั้งครรภ์ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง

ผู้แต่ง

  • ธัญลักษณ์ สีทองภาพ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง
  • อรพนิต ภูวงษ์ไกร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • กัตติกา วังทะพันธ์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
  • สมลักษณ์ สิทธิพรหม โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง
  • พรรษชนม์ ธนิกภัทร โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง

คำสำคัญ:

ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด , ความรู้, การรับรู้, พฤติกรรมการดูแลตนเอง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และการรับรู้ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดกับพฤติกรรมการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด กลุ่มตัวอย่างคือหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ 24 สัปดาห์ขึ้นไป ที่เข้ารับบริการฝากครรภ์ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 80 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถามความรู้ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด (ค่า KR20 = .68) แบบสอบถามการรับรู้ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด โดยค่าความเที่ยง .80 และ .86 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า ความรู้ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับสูง (r= -.656) และการรับรู้ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง (r=.440) กับพฤติกรรมการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<.001 การศึกษาในครั้งนี้สรุปได้ว่า หญิงตั้งครรภ์ควรได้รับความรู้และการรับรู้ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันการคลอดก่อนกำหนดได้อย่างเหมาะสม

References

กรรณิกา ฉายยิ่งเชี่ยว, สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล, และสุพรรณี อึ้งปัญสัตวงศ์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดในมารดาอายุมาก. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 26(3), 196-207.

กรรณิกา เพ็ชรักษ์, อุตม์ชญาน์ อินทเรือง, และฝนทอง จิตจำนง. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การคลอดก่อนกำหนดและพฤติกรรมการป้องกันการคลอดก่อนกำหนดในมารดาหลังคลอด. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 34(1), 87-100.

กระทรวงสาธารณสุข. (2566). ร้อยละหญิงไทยคลอดก่อนกำหนดในปีงบประมาณ. ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ Health Data Center (HDC). https://hdcservice.moph.go.th

เครือวัลย์ พลาชัยภิรมย์ศิล, อรพนิต ภูวงษ์ไกร, และภริญพัทธ์ สายทอง. (2567). ผลของโปรแกรมการให้ความรู้และการสนับสนุน ต่อความรู้ การคลอดก่อนกำหนดและการกลับมารักษาซ้ำในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด โรงพยาบาลกุมภวาปี. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ, 9(1), 605-616.

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง, งานการพยาบาลผู้คลอด. (2566). รายงานอนามัยแม่และเด็ก 2564-2566. โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง.

จินดา โรจนเมธินทร์. (2566). กรมการแพทย์ จัดกิจกรรมเนื่องใน วันทารกเกิดก่อนกำหนดโลก (World Prematurity Day). โรงพยาบาลราชวิถี. https://www.rajavithi.go.th/rj/?p=26095

จิรัชยา ถาวะโร. (2564). การศึกษาเปรียบเทียบลักษณะทางคลินิกของทารกคลอดก่อนกำหนดระยะท้ายกับทารกคลอดครบกำหนด ในโรงพยาบาลหนองบัวลำภู. สรรพสิทธิเวชสาร, 42(2), 53-61.

จิราจันทร์ คณฑา. (2561). การรับรู้เกี่ยวกับการคลอดก่อนกำหนดและพฤติกรรมการป้องกันการคลอดก่อนกำหนดของหญิงตั้งครรภ์. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์, 8(1), 1-12.

ชุติมา เทียนชัยทัศน์, กนกภรณ์ อ่วมพราหมณ์, นภาภรณ์ เกตุทอง, และชณุตพร สมใจ. (2565). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ, 5(1), 35-46.

เฟื่องลดา ทองประเสริฐ. (2554). ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด Preterm Labor. คอร์สเรียนเรื่องภาวะฉุกเฉินทางสูติ-นรีเวช. ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lessons/preterm-labor/

วิทมา ธรรมเจริญ, นิทัศนีย์ เจริญงาม, และญาดาภา โชติดิลก. (2561). ปัจจัยทำนายการคลอดก่อนกำหนดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่โรงพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 10(19), 188-200.

วิไลรัตน์ วิศวไพศาล, บุญช่วย ศรีธรรมศักดิ์, และสาธิษฐ์ นากกระแสร์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการทำนายการคลอดก่อนกำหนดในหญิงตั้งครรภ์ในโรงพยาบาลตำรวจ. วารสารพยาบาลตำรวจ, 8(2), 83-90.

ศลาฆนันท์ หงษ์สวัสดิ์. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันการคลอดก่อนกำหนดของหญิงตั้งครรภ์จังหวัดราชบุรี. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 8(4), 822-833.

อดิศักดิ์ ไวเขตการณ์. (2564). ผลลัพธ์การตั้งครรภ์ของมารดาและทารกในสตรีตั้งครรภ์ที่เสพสารเมทแอมเฟตามีน ระหว่างตั้งครรภ์. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 18(2), 105-112.

อทิตยา สุวรรณสาร, และนิลุบล รุจิรประเสริฐ. (2562). การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดซ้ำในหญิงตั้งครรภ์หลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 37(2), 93-102.

อัสมะ จารู. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่ประสบความสำเร็จในการ ยับยั้งการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Adane, H. A., Iles, R., Boyle, J. A., Gelaw, A., & Collie, A. (2024). Effects of psychosocial work factors on preterm birth: systematic review and meta-analysis. Public Health, 228, 65-72. https://doi.org/10.1016/j.puhe.2023.12.002

Ansaldi, Y., & de Tejada Weber, B. M. (2023). Urinary tract infections in pregnancy. Clinical Microbiology and Infection, 29(10), 1249-1253. https://doi.org/10.1016/j.cmi.2022.08.015

Balachandran, L., Jacob, L., Al Awadhi, R., Yahya, L. O., Catroon, K. M., Soundararajan, L. P., Wani, S., Alabadla, S., & Hussein, Y. A. (2022). Urinary Tract Infection in Pregnancy and Its Effects on Maternal and Perinatal Outcome: A Retrospective Study. Cureus, 14(1), e21500. https://doi.org/10.7759/cureus.21500

Becker, M. H., & Clark, N. M. (1998). Theoretical model and strategies for improving adherence and diseases management. In A. S. Sally, B. S. Elenor, K. O. Judith, & L. M. Wendy (Eds.), The handbook of health behavior change (2nd ed., pp. 5-26). Springer.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed.). Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.

Cui, H., Gong, T. T., Liu, C. X., & Wu, Q. J. (2016). Associations between passive maternal smoking during pregnancy and preterm birth: Evidence from a meta-analysis of observational studies. PLoS One, 11(1), e0147848.

https://doi.org/10.1371/journal.pone.0147848

Kanninen, T. T., Quist-Nelson, J., Sisti, G., & Berghella, V. (2019). Chlamydia trachomatis screening in preterm labor: A systematic review and meta-analysis. European Journal of Obstetrics, Gynecology, and Reproductive Biology, 240, 242–247. https://doi.org/10.1016/j.ejogrb.2019.06.032

Laelago, T., Yohannes, T., & Tsige, G. (2020). Determinants of preterm birth among mothers who gave birth in East Africa: Systematic review and meta-analysis. Italian Journal of Pediatrics, 46(1), 10. https://doi.org/10.1186/s13052-020-0772-1

Loh, K., & Sivalingam, N. (2007). Urinary tract infections in pregnancy. Malaysian Family physician: The Official Journal of the Academy of Family Physicians of Malaysia, 2(2), 54–57.

Mitrogiannis, I., Evangelou, E., Efthymiou, A., Kanavos, T., Birbas, E., Makrydimas, G., & Papatheodorou, S. (2023). Risk factors for preterm birth: An umbrella review of meta-analyses of observational studies. BMC Medicine, 21, 494. https://doi.org/10.1186/s12916-023-03171-4

Polit, D. F., & Beck, C. T. (2006). Essentials of nursing research: Methods, appraisal, and utilization (6th ed.). Lippincott Williams & Wilkins.

Sendeku, F. W., Beyene, F. Y., Tesfu, A. A., Bante, S. A., & Azeze, G. G. (2021). Preterm birth and its associated factors in Ethiopia: A systematic review and meta-analysis. African Health Sciences, 21(3), 1321-1333. https://doi.org/10.4314/ahs.v21i3.43

Wiersma, W. & Jurs, S.G. (2009). Research methods in education. Pearson.

World Health Organization. (2023, May 10). Preterm birth. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/preterm-birth

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-25