คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) เขตเมือง จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • มัลลิกา คำทา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • สุภาณี คลังฤทธิ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • จุฑามาศ รัตนอัมภา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, คุณภาพชีวิต, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 , เขตเมือง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (โควิด 19) เขตเมือง จังหวัดพิษณุโลก และเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุแยกตามกลุ่มวัย กลุ่มตัวอย่างสุ่มอย่างง่ายแบบไม่แทนที่ ในผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ทั้งเพศชายและหญิง จำนวน 415 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามคุณภาพชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ และร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของคุณภาพชีวิตแยกตามกลุ่มวัย ด้วยสถิติ independent t-test

ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตโดยรวม อยู่ในระดับดีร้อยละ 67.95 เมื่อพิจารณารายมิติตามองค์ประกอบในการวัดคุณภาพชีวิต พบว่า ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตด้านจิตใจดีที่สุด (ร้อยละ 71.81) รองลงมา คือคุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสุขภาพกาย และด้านสัมพันธภาพทางสังคม ร้อยละ 67.71, ร้อยละ 57.35 และร้อยละ 49.64 ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตตามกลุ่มวัยไม่มีความ
แตกต่างกัน

References

กระทรวงสาธารณสุข, กรมสุขภาพจิต. (2545). เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL-BREF-THAI). https://dmh.go.th/test/download/files/whoqol.pdf

กระทรวงสาธารณสุข, กรมสุขภาพจิต. (2564, 14 กรกฎาคม). ความเสี่ยง และผลกระทบต่อผู้สูงอายุในช่วง Covid-19. https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30794

เกศรินทร์ วิงพัฒน์, และโชติ บดีรัฐ. (2564). ผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและการปรับตัวของผู้สูงอายุในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) กรณีศึกษาในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบุ่ง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(7), 137-148.

เจษฎา นกน้อย, และวรรณภรณ์ บริพันธ์. (2560). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 9(3), 94-105.

ปิยภรณ์ เลาหบุตร. (2557). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนหมู่ 7 ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี [วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

พัชชานันท์ ผลทิม. (2552). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ตำบลหนองตาคง อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี [วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

พัชราภรณ พัฒนะ. (2562). คุณภาพชีวิตของผูสูงอายุในศูนย์การเรียนรูการดูแลผูสูงอายุเขตสุขภาพที่ 4. พุทธชินราชเวชสาร, 36(1), 21-33.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ. (2564, 27 กันยายน). เปิดโรดแมป์ ย่างก้าว สู่ สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ปี 2564 ทำอย่างไรให้การสูงวัยอย่างมีคุณภาพ. https://thaitgri.org/?p=39222

ยศ วัชระคุปต์, และสมชัย จิตสุชน. (2563, 8 กันยายน). ผลกระทบของโควิด-19 ต่อผู้สูงอายุ. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. https://tdri.or.th/2020/09/the-impact-of-covid-19

วรรณา กุมารจันทร์. (2543). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตภาคใต้ตอนบน. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่].

วาสนา เล่าตง. (2555). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลเกาะสีชัง อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี [วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิไลพร ขำวงษ์, จตุพร หนูสวัสดิ์, วรารัตน์ ประทานวร, และปัญญา จิดาภา ศิริปัญญา. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 5(2), 32-40.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก. (2565). ประชากรกลางปี 2565 ตามทะเบียนราษฎร์จังหวัดพิษณุโลก. https://plkhealth.moph.go.th/bifm/pop/pop65.htm

สมชัย จิตสุชน, และนณริฏ พิศลยบุตร. (2564, 9 กรกฎาคม). ข้อเสนอแนะมาตรการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. https://tdri.or.th/2021/07/additional-covid-19-relief-measures

สภากาชาดไทย, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. (2563). สถานการณ์โควิด 19 กับมิติการดูแลทางสังคม.

สุวัฒน์ มหัตนิรนดร์กุล, วิระวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล, และวนิดา พุ่มไพศาลชัย (ผู้แปล). (2559). เครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย. กรมสุขภาพจิต.

สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2563). ผลกระทบของ COVID-19 ต่อประชากรกลุ่มเปราะบาง. กองพัฒนานโยบายและนวัตกรรมทางสังคม สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. http://phuket.dop.go.th/download/knowledge/th1611129834-134_0.pdf

สำนักงานสถิติจังหวัดพิษณุโลก. (2562). สรุปสถานการณ์ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2562. https://phitsanulok.nso.go.th/reports-publications/provincial-statistics-report/summary-of-the-situation-of-the-elderly-in-2019.html

อัญรัช สาริกัลยะ. (2564). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตภาษีเจริญกรุงเทพมหานคร. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 11(1), 102-112.

อารีวรรณ คุณเจนต์. (2541). คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดจันทบุรี [วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

Eliopoulos, C. (2018). Gerontological nursing (9th ed). Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams & Wilkins.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities educational and psychological measurement. Journal of Management. 30(3), 65-68.

Lawton, J. (2000). The dying process: Patient’s experiences of palliative care. Routledge.

Ministry of Public Health, Department of Health. (2020). Suggestions for elderly in a viral infection epidemic situation Corona 2019 (COVID-19). http://covid19.anamai.moph.go.th

Ministry of Public Health, Department of Health. (2021). Suggestions for elderly in a viral infection epidemic situation Corona 2019 (COVID-19). https://covid19.ddc.moph.go.th

Touhy, T. A., & Jett, K. F. (2018). Ebersole and Hess' gerontological nursing & healthy aging (5th ed.). Elsevier/Mosby.

World Health Organization. (2020). Coronavirus disease 2019 (COVID 19) situation report by World Health Organization (WHO), Thailand, data from the Ministry of Public Health. https://cdn.who.int/media/docs/default-source/searo/thailand/who-thailand-situation-report---19.pdf?sfvrsn=7ffd3bba_0

World Health Organization. (2021). Coronavirus disease 2019 (COVID 19) situation report by World Health Organization (WHO). https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/situation-reports

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-20