ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนตามทฤษฎีของแบนดูร่าต่อการรับรู้สมรรถนะ ด้านการบริการที่ดีของพยาบาลวิชาชีพและความพึงพอใจของผู้ป่วยแผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง
คำสำคัญ:
การรับรู้สมรรถนะแห่งตน , การบริการที่ดี, ความพึงพอใจของผู้ป่วยบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดหลังการทดลอง เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และการรับรู้สมรรถนะด้านการบริการที่ดีของพยาบาลวิชาชีพก่อนและหลังการใช้โปรแกรม และความพึงพอใจของผู้ป่วยแผนกผู้ป่วยใน ภายหลังการใช้โปรแกรมของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติงานหอผู้ป่วยใน 35 ราย ผู้ป่วยใน 275 ราย เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน 2) การรับรู้สมรรถนะด้านการบริการที่ดีของพยาบาลวิชาชีพ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ 4) โปรแกรมสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนและสมรรถนะด้านการบริการที่ดีของพยาบาลวิชาชีพ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา ได้ค่า 0.85, 0.98 และ 0.80 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่า 0.94, 0.98 และ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบสองกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระจากกัน
ผลการวิจัย พบว่า 1) พยาบาลวิชาชีพมีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและการรับรู้สมรรถนะด้านการบริการที่ดีสูงกว่าก่อนการได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความพึงพอใจของผู้ป่วยแผนกผู้ป่วยในมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.21 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.67 อยู่ในระดับมาก สรุปได้ว่าโปรแกรมสามารถเพิ่มสมรรถนะแห่งตนและสมรรถนะด้านการบริการที่ดีของพยาบาลวิชาชีพได้ และผู้ป่วยในมีความพึงพอใจในบริการพยาบาล ดังนั้นควรนำโปรแกรมไปใช้พัฒนาสมรรถนะแห่งตนและสมรรถนะด้านการบริการที่ดีของพยาบาลวิชาชีพแผนกอื่น ๆ ต่อไป
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2567). แผนการขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2567. https://rbpho.moph.go.th/upload-file/doc/files/21112023-113615-1061.pdf
จอมขวัญ ศุภศิริกิจเจริญ, และฟ้าวิกร อินลวง. (2566). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้ใช้บริการทางการแพทย์ในโรงพยาบาลเอกชน จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 17(2), 63-78.
ช่อดาว เมืองพรหม. (2562). ความพึงพอใจของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการของโรงพยาบาลธนบุรี. (การศึกษาค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม.
ชื่นฤทัย ยี่เขียน. (2560). พฤติกรรมบริการอย่างมีมนุษยธรรม: มุมมองระหว่างผู้ป่วยกับผู้ให้บริการ. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 11(2), 238-247.
ชุติมา ไทยยิ้ม, เนตรชนก ศรีทุมมา, และเพชรน้อย สิงห์ช่างชัย. (2564). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนด้านความปลอดภัยต่อการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยของหัวหน้าเวรหอผู้ป่วยใน ในโรงพยาบาลเอกชน. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 29(4), 22-33.
ฐปนรรศฆ์กมล วิมุตต์ทปิติ. (2565). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความพึงพลใจของผู้รับบริการแผนกผู้ป่วยในภายในโรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นเนล. [สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหิดล.
นงลักษณ์ สุวิสิษฐ์. (2554). การพัฒนาแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการบริการพยาบาล. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 17(2), 264-277.
นลินทิพย์ เงินสูงเนิน, ธัชวิศว์ โพนสิงห์, สรวีย์ สมใจ, บุษยา วงษ์ชวลิตกุล, และสิริรัตน์ ฉัตรชัยสุชา. (2561). การรับรู้คุณภาพการให้บริการของผู้ป่วยที่รับบริการจากโรงพยาบาลเอกชน ในจังหวัดนครราชสีมา: การวิเคราะห์โดยโมเดล SERVQUAL. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 12(ฉบับพิเศษ), 199-215.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553) การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8.) สุวีริยาสาส์น.
ผกามาศ เจียกสูงเนิน, และธนินท์รัฐ รัตนพงศ์ภิญโญ. (2566). วัฒนธรรมองค์กร คุณภาพชีวิตในการทำงาน และการรับรู้ความสามารถตนเอง ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรเพื่อความสำเร็จขององค์กร. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(3), 519-532.
พรทิพย์ ชัชวาลธาตรี. (2554). การพัฒนาสมรรถนะด้านจริยธรรมและการบริการที่ดีของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยพิเศษ โรงพยาบาลชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ยุพเรศ พญาพรหม. (2562). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของนักศึกษาพยาบาลในการให้ความรู้เพื่อสร้างเสริมสุขภาพแก่ผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(4), 386-406.
โรงพยาบาลท่าตูม. (2565). รายงานบัญชีความเสี่ยงปี 2565. คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงและความปลอดภัย โรงพยาบาลท่าตูม.
โรงพยาบาลท่าตูม, งานยุทธศาสตร์. (2565). รายงานสรุปตัวชี้วัดปี 2565.
วิรุจน์ คุณกิตติ, และขนิษฐา นวลไธสง. (2560). ผลของการร้องเรียนแพทย์และพยาบาล: ศึกษาในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือประเทศไทย. ศรีนครินทร์เวชสาร, 32(4) 366-371.
สหัสพร ยืนบุญ. (2561). ผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นที่โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิแห่งหนึ่ง. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
สำนักนายกรัฐมนตรี, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422
สุกัญญา จันใด. (2561). การพัฒนาโมเดลการวัดจิตบริการของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณะสุขสิรินธร. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 11(3), 95-110.
สุภาพร พวงสุวรรณ์, และอวยพร เรืองตระกูล. (2558). การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกบริการของบุคลากรทางการพยาบาล. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 10(4), 281-293.
อรอุมา บัวทอง. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถตนเอง การกำหนดเป้าหมาย บุคลิกภาพเชิงรุกกับประสิทธิผลในการทำงานของพนักงาน สถานบันการเงินแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อุทัยวรรณ สกุลวลีธร, นงนุช ดาวัลย์, และผุษดี เจริญวงษ์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดบริการสู่ความมุ่งมั่นและจิตบริการที่ดีต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการในหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลบางคล้า อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิจัยและพัฒนาการบริการด้านสุขภาพ, 12(2), 45-57.
Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. W.H. Freeman and Company.
Hendhana, S., & Darma, G.S. (2017). Service quality rumah sakit dan efeknya terhadap patient satisfaction, perceived value, trust, dan behavioral intention. Jurnal Manajemen Bisnis, 14(1), 37-55.
Smith J, Johnson A, & Brown, K. (2024). The impact of a self-efficacy enhancement program on perceived service competence of professional nurses in a community hospital. Journal of Healthcare Education, 10(2), 45-60.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ก่อนเท่านั้น