การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการใส่คาสายสวนปัสสาวะที่บ้าน เพื่อป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ

ผู้แต่ง

  • ทิพวดี สีสุข โรงพยาบาลรามัน จังหวัดยะลา

คำสำคัญ:

การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ , ผู้ป่วยคาสายสวนปัสสาวะ , การป้องกันการติดเชื้อ

บทคัดย่อ

โรงพยาบาลรามัน มีอุบัติการณ์ติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ (UTI) ในผู้ป่วยคาสายสวนปัสสาวะที่บ้าน การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์ 2) พัฒนารูปแบบ 3) ประเมินประสิทธิภาพรูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการใส่คาสายสวนปัสสาวะที่บ้าน โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะเวลาตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2566 - 30 เมษายน 2567 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะกลับบ้านรายเก่าและรายใหม่ ในเดือนกันยายน 2566 จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ในการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ประเมินผลโดยเปรียบเทียบผลการประเมินการปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อและการดูแลผู้ป่วยคาสายสวนปัสสาวะ ก่อนและหลัง

ผลการศึกษาพบว่า สภาพการณ์ผู้ดูแลต้องการให้สนับสนุนอุปกรณ์ ร้อยละ 88 ความรู้ ร้อยละ 60  ผู้ป่วยในความดูแลเคยมีประวัติติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ ร้อยละ 48 ปัจจัยที่มีผลต่อการติดเชื้อคือ อายุ กลุ่มโรค NCD ระยะเวลาในการคาสายสวน รูปแบบการดูแลผู้ป่วยคาสายสวนปัสสาวะที่บ้านคือ (CCUTI model) ประกอบด้วย C = caregiver ผู้ดูแล C = continue ความต่อเนื่อง U = unity ความร่วมมือ T = training ฝึกอบรมผู้ดูแล I = instrument เครื่องมือ หลังนำรูปแบบไปทดลองใช้ เมื่อติดตามผู้ป่วยครบ 6 เดือน พบว่า การปฏิบัติป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะและการดูแลผู้ป่วยคาสายสวนปัสสาวะก่อนร้อยละ 37.42 หลังได้ร้อยละ 94.72 อุบัติการณ์ติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะลดลงร้อยละ 26.27 ดังนั้น ควรศึกษาในแต่ละกลุ่มที่ปัจจัยเสี่ยงใกล้เคียงกันและทำแบบสอบถามความพึงพอใจต่อรูปแบบ

References

จุฬาพร ขำดี. (2561). ผลการส่งเสริมปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะ งานผู้ป่วยใน โรงพยาบาลศรีประจันต์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรม-ราชชนนี สุพรรณบุรี, 1(2), 39-55.

โฉมฐิติภา ศิริมา, และสุลาลักษณ์ จำเรียง. (2567). การพัฒนาโปรแกรมการป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะ อำเภอผาขาว จังหวัดเลย.วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ, 9(1), 825-834.

ชัยณรงค์ นาคเทศ, สุปราณี มณีวงค์, กัณณิกา นวมโคกสูง, กชกร ธรรมนำศีล. (2565). บทบาทพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนในการสนับสนุนครอบครัว เพื่อการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะติดเตียงที่บ้าน: กรณีศึกษา. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ, 8(1), 14-25.

ปัทมา วงษ์กียู้, วงเดือน สุวรรณศิรี, และณิชกานต์ ทรงไทย. (2562). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกต่อการปฏิบัติของพยาบาลและการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะที่สัมพันธ์กับการคาสายสวนปัสสาวะในหอผู้ป่วยวิกฤติอายุรกรรม. วารสารพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 37(2), 26-35.

ปัทมาวดี แก้วมาตย์. (2567). การพัฒนาแนวปฏิบัติการเฝ้าระวังการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยคาสายสวนปัสสาวะ หอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลท่าอุเทน จังหวัดนครพนม. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(1), 90-98.

สรัสนันท์ ระวิงทอง, และลดาวัลย์ ฤทธิ์กล้า. (2564). การพัฒนาระบบการพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยที่ได้รับการใส่คาสายสวนปัสสาวะ. วารสารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ, 6(2), 28-31.

Oram, D. E.,Taylor, S. G., & Renpenning, K. M. (2001). Nursing: Concepts of practice. Mosby.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-20