ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ของนักศึกษาที่กำลังศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • นราวุธ สินสุพรรณ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • กัญญา กิ่งจันทร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • สุรีรัตน์ สืบสันต์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • นภา วงษ์ศรี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • อัจฉรา แหลมทอง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

อนามัยการเจริญพันธุ์ , นักศึกษา, บริการอนามัยการเจริญพันธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ของนักศึกษาที่กำลังศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกโดยวิธีการแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด และสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นจำนวน 320 คน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ความรู้เกี่ยวกับบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ ทัศนคติต่อบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ การเข้ารับบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ และความต้องการจัดบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ วิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ด้วยวิธีของคูเดอร์ริชาร์ดสัน เท่ากับ 0.84 ทัศนคติต่อบริการอนามัยการเจริญพันธุ์และความต้องการจัดบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ด้วยวิธีการสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาช เท่ากับ 0.71 และ 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติไคสแควร์

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 75 มีอายุระหว่าง 18-21 ปี (ร้อยละ 55) ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมาได้เข้ารับบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ ร้อยละ 35.30 ส่วนใหญ่รับบริการถุงยางอนามัยและยาเม็ดคุมกำเนิดร้อยละ 97.35 และ 52.21 ตามลำดับ ความต้องการเกี่ยวกับการจัดบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ในสถานศึกษาพบว่าต้องการให้มีบริการด้านการให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพอนามัยวัยรุ่น และให้คำปรึกษาด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ ร้อยละ 73.13 โดยปัจจัยด้านเพศ การมีเพศสัมพันธ์ อายุ สถานที่พักและค่าใช้จ่ายที่ได้รับ มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับบริการอนามัยการเจริญพันธุ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) ดังนั้น มหาวิทยาลัยควรจัดบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ที่สอดคล้องกับความต้องการของนักศึกษาเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

References

กรมควบคุมโรค. (2565). กรมควบคุมโรค พยากรณ์โรคและภัยสุขภาพ รายสัปดาห์ ฉบับที่ 5/65 (วันที่ 6-12 กุมภาพันธ์ 2565). https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor2/ddce/files/พยากรณ์โรค%20ฉ.5-65%20โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์%20edit.pdf

กระทรวงสาธารณสุข, กรมอนามัย, กรมสุขภาพจิต, และกรมควบคุมโรค. (2559). คู่มืออำเภออนามัยการเจริญพันธุ์ฉบับบูรณาการ. สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์. https://rh.anamai.moph.go.th/th/local-administrative-organization-download

จีรภา ผ่องแผ้ว, และธิฎิญาศ์ภัค วรปรัชญช์ยุตม์. (2561). การพัฒนาการดำเนินงานอนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นเขตสุขภาพที่ 9 ให้มีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืน. ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา.

ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง, วนิดา ศรีพรหมษา, ดวงพร ถิ่นถา, สถิดาภรณ์ สุระถิตย์, และเพ็ญศรี ศรีจันทร์. (2559). การจัดบริการสุขภาพด้านอนามัยการเจริญพันธ์สำหรับวัยรุ่นตามการรับรู้ของวัยรุ่นในชนบท จังหวัดอุดรธานี. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา, 17(2), 43-56.

ณัฐดนัย โมรากุล, รณภูมิ สามัคคีคารมย์, ปฐมพงศ์ สมคง, กฤติน อินคำปัน, ธัญชนก สวนสอน, ชุติมณฑน์ กินนร, และสิริมา มงคลสัมฤทธิ์. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเลือกวิธีคุมกำเนิดในนักศึกษาระดับปริญญาตรี ของมหาวิทยาลัยรัฐ. วารสารสหศาสตร์, 20(2), 86-97.

ปนัฐพงศ์ นรดี. (2566). วัยรุ่นยุคใหม่ ใช้ชีวิตที่เราเลือกได้. วารสารสมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย 44. 11-16.

พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559. (2559, 31 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 133 ตอนที่ 30 ก. หน้า 1-9.

ภรณ์ทิพา จำปา, วัชราภรณ์ เหล็กศิริ, และเสาวลักษณ์ เส้งอั้น. (2563). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้ยาคุมกำเนิดของวัยรุ่นหญิงช่วงอายุ 17-22 ปี ในเขตตำบลน้ำคำ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิชาการเฉลิมกาญจนา, 7(2), 125-136.

มัชฌญาติ์ หวลถนอม, และเสาวนีย์ ทองนพคุณ (2563). ความรอบรู้ด้านสุขภาพกับการตัดสินใจใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินของนิสิตหญิงระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 29(6), 976-985.

โรจกร ลือมงคล. (2563). การมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนหญิงในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดรัฐบาล อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ. ชัยภูมิเวชสาร, 40(2), 13-24.

วรวรรณ์ ทิพย์วารีรมย์, ชุติมา ชลายนเดชะ, และอุมาพร ห่านรุ่งชโรทร. (2563). ปัจจัยทำนายการใช้ถุงยางอนามัยในนักเรียนชายมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 36(3), 69-79.

สมศักดิ์ สุทัศน์วรวุฒิ, ภารดี ชาญสมร, ยุพา พูนขำ, ปิยะรัตน์ เอี่ยมคง, สุวชัย อินทรประเสริฐ, และกิตติพงษ์ แซ่เจ็ง (บ.ก.). (2553). การให้บริการอนามัยการเจริญพันธุ์ คู่มือสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นจาก https://rh.anamai.moph.go.th/th/about-reproductive-health/2592#wow-book/

สิริพร มนยฤทธิ์. (2563). สถานการณ์โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 5 โรคหลักในเยาวชนสำหรับประเทศไทยปีงบประมาณ พ.ศ. 2557-2561. กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค. https://ddc.moph.go.th/das/journal_detail.php?publish=10060

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์. (2564). รายงานสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลและความรู้. https://rh.anamai.moph.go.th/web-upload/7x027006c2abe84e89b5c85b44a692da94/tinymce/kpi64/1_13/1_13_1-21.pdf

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์. (2563). รายงานประจำปี 2563 สำนักอนามัยเจริญพันธุ์. https://rh.anamai.moph.go.th/th/department-yearly-report/200929

หมิงลี่ กัน, และประภัสสร วิเศษประภา. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้ถุงยางอนามัยบนช่องทางออนไลน์ของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยรามคำแหง. https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/vlt15-2/6114993881.pdf

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2558). สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. วิทยพัฒน์.

อุไรวรรณ นิลเต่า, ชนัญญา จิระพรกุล, และเนาวรัตน์ มณีนิล. (2564). พฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยของนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 7(1), 7-59.

อาภาพร เผ่าวัฒนา, สุรินธร กลัมพากร, สุณีย์ ละกำปั่น, และขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ. (2554). การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน: การประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. คลังนานาวิทยา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01