ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อป้องกันโรคอ้วนสำหรับวัยรุ่นตอนต้น
คำสำคัญ:
การเรียนรู้แบบผสมผสาน , ความรอบรู้ด้านสุขภาพ , โรคอ้วน , วัยรุ่นตอนต้นบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยเปรียบเทียบความรอบรู้ด้านสุขภาพด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อป้องกันโรคอ้วน สำหรับวัยรุ่นตอนต้นก่อนและหลังการใช้โปรแกรมและเปรียบเทียบความรอบรู้ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่าง คือ วัยรุ่นตอนต้นที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ในเขตเทศบาลเมืองจันทบุรี โดยการคัดเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติ แบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพแบบผสมผสาน และ 2) แบบสอบถามความรอบรู้ทางสุขภาพ ที่ผ่านการตรวจสอบความเชื่อมั่นและมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบสองกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระจากกันและการทดสอบทีแบบสองกลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของความรอบรู้ด้านสุขภาพหลังการใช้โปรแกรมสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ.05 2) กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ทางสุขภาพหลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 สรุปได้ว่าการใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานสามารถส่งเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพแก่วัยรุ่นเพื่อป้องกันโรคอ้วนได้ ดังนั้นควรนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานไปใช้ในการเตรียมความพร้อมเพื่อส่งเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพต่อไป
References
กรมอนามัย, สำนักโภชนาการ. (2564). สถานการณ์เด็กอายุ 6-14 ปี ที่มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน. https://nutrition2.anamai.moph.go.th/web-upload/6x22caac0452648c8dd1f534819ba2f16c/filecenter/file/doc/2564-1.11-2.pdf
กรมอนามัย, สำนักโภชนาการ. (2565). รายงานประจำปี 2565 การเฝ้าระวังทางโภชนศาสตร์. กลุ่มบริหารยุทธศาสตร์ สำนักโภชนศาสตร์ กรมอนามัย.
กองสุขศึกษา. (2561). แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ. 2ส. ของประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ฉบับปรับปรุงปี 2561. โรงพยาบาลนครพิงค์. https://www.nkp-hospital.go.th/th/H.ed/mFile/20180627124613.pdf
กานต์ธิดา ตันวัฒนถาวร. (2550). ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การบริโภคอาหารของนักเรียนประถมศึกษาที่มีภาวะโภชนาการเกิน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธีระ วรธนารัตน์. (2558, 24 พฤษภาคม). นพ.ธีระ วรธนารัตน์ “โปรดอย่าว่า รพ.รัฐเลยครับ” Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ. https://www.hfocus.org/content/2015/05/10035
บุญใจ ศรีสถิตนรากูล. (2547). ขนาดอิทธิพล การวิเคราะห์อำนาจ การคำนวณขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมโดยใช้โปรแกรม G* Power. ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปณิตา วรรณพิรุณ. (2554). การเรียนแบบผสมผสานจากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา, 1(2), 43-49.
พัชราภรณ์ อารีย์, อุมาพร ปุญญโสพรรณ, วิจิตร ศรีสุพรรณ, และสถิตย์ วงศ์สุรประกิต. (2556). ผลของรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินต่อระดับไขมันและน้ำตาลในเลือดในสตรีที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง. พยาบาลสาร, 40(ฉบับพิเศษ มกราคม), 14-22.
มโนลี ศรีเปารยะ เพ็ญพงษ์. (2559). พฤติกรรมการบริโภค อาหารของกลุ่มนักเรียนและนักศึกษาในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 3(1), 109-126.
ยุทธนาท บุณยะชัย. (2566). การเรียนการสอนออนไลน์พัฒนาสู่การเรียนการสอนแบบผสมผสาน ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีภายใต้ผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาแห่งชาติในสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(1), 192-212.
รุ่งนภา อาระหัง. (2560). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกัน โรคความดันโลหิตสูงสำหรับกล่มุ เสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ที่ชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
โรงพยาบาลพระปกเกล้า, กลุ่มงานเวชกรรมสังคม. (2563). การสำรวจภาวะโภชนาการของวัยรุ่นในโรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองจันทบุรี. โรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี.
ลักษณิน รุ่งตระกูล. (2562). การประเมินภาวะโภชนาการและพฤติกรรมสุขภาพเพื่อส่งเสริมสุขภาพวัยรุ่นไทย. สำนักโภชนาการ กรมอนามัย.
ศรีบังอร สุวรรณพานิช. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักศึกษาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตกระบี่. วารสารวิชาการสถาบันการพลศึกษา, 4(1), 29-43.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). การสำรวจพฤติกรรม การบริโภคอาหารของประชากร พ.ศ. 2560. กองสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
สุกัญญา คณะวาปี, และเกศินี สราญฤทธิชัย. (2565). ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคอ้วนในเด็กวัยเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 8(2), 106-118
สุลัดดา พงษ์อุทธา, และวาทินี คุณเผือก (บ.ก.). (2558). อาหารและโภชนาการในประเทศไทย: เราอยู่ตรงจุดใดในปัจจุบัน: รายงานประจำปีแผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ. แผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ มูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข.
สุสัณหา ยิ้มแย้ม, อำไพ จารุวัชรพาณิชกุล, จันทรรัตน์ เจริญสันติ, อภิรัช อินทรางกูร ณ อยุธยา, ปิยะนุช ชูโต, และนงลักษณ์ เฉลิมสุข. (2558). การพัฒนาการจัดการ เรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. พยาบาลสาร, 42(ฉบับพิเศษ พฤศจิกายน), 129-140.
เอื้อจิต สุขพูล, ชลดา กิ่งมาลา, ภาวิณี แพงสุข, ธวัชชัย ยืนยาว, และวัชรีวงค์ หวังมั่น. (2563). ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนกลุ่มวัยทำงาน. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 29(3), 419-429
อรณิชา โพธิ์หมื่นทิพย์ (2564). ประสิทธิผลของโปรแกรมความรอบรู้ด้านสขภาพเพื่อป้องกันโรคอ้วน ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในอําเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา.
Burns, N., & Grove, S. (2009) The practice of nursing research: Appraisal, synthesis and generation of evidence (6th ed.). Saunders Elsevier.
Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed.). Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.
Nutbeam, D. (2000). Health literacy as a public health goal: A challenge for contemporary health education and communication strategies in to the 21st century Department of Public Health and Community Medicine (Vol. 15). University of Sydney, Australia.
Nutbeam D. (2008). The evolving concept of health literacy. Social Science & Medicine, 67(12), 2072–2078. https://doi.org/10.1016/j.socscimed.2008.09.050
Santrock, J. W. (2012). Child development (13th ed.). McGraw Hill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ก่อนเท่านั้น