การศึกษาความต้องการวิธีการบรรเทาอาการเจ็บครรภ์คลอดโดยไม่ใช่ยาของหญิงในระยะคลอด
คำสำคัญ:
เจ็บครรภ์คลอด , การบรรเทาอาการเจ็บครรภ์คลอด , หญิงในระยะคลอดบทคัดย่อ
การศึกษาเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการวิธีการบรรเทาอาการเจ็บครรภ์คลอดโดยไม่ใช่ยาของหญิงในระยะคลอดและเพื่อเปรียบเทียบความต้องการวิธีการบรรเทาอาการเจ็บครรภ์คลอดโดยไม่ใช่ยาของหญิงในระยะคลอด กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงในระยะคลอดจำนวน 146 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัยซึ่งพัฒนาโดยผู้วิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความกลัวการคลอดบุตร และแบบสำรวจความต้องการวิธีการบรรเทาอาการเจ็บครรภ์คลอดโดยไม่ใช่ยา ค่าความเชื่อมั่น 0.73 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติไควแสควร์
ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 15-45 ปี (อายุเฉลี่ย 26.99, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 5.94) จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา (ร้อยละ 60.2) เป็นแม่บ้าน (ร้อยละ 41.1) แต่งงาน(ร้อยละ 96.6) กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาครรภ์หลังมากที่สุด (ร้อยละ 61.0) ฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลรัฐบาล (ร้อยละ 84.9) คลอดทางช่องคลอด (ร้อยละ 84.9) กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 89.7 ระบุว่าต้องการวิธีการบรรเทาอาการเจ็บครรภ์คลอดโดยไม่ใช่ยา ในกลุ่มที่ระบุว่าต้องการวิธีการบรรเทาอาการเจ็บครรภ์คลอดนั้น วิธีการนวดหลังเป็นวิธีที่ต้องการมากที่สุด (ร้อยละ 64.4) รองลงมาคือ ฟังเพลง (ร้อยละ 61.0) เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนความต้องการวิธีการบรรเทาอาการเจ็บครรภ์คลอดโดยไม่ใช่ยา ได้แก่ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้ จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ ภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ และชนิดของการคลอด พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อเสนอแนะ พยาบาลวิชาชีพควรจัดทำแนวปฏิบัติในการใช้วิธีการบรรเทาอาการเจ็บครรภ์คลอดที่มีวิธีการที่หลากหลายและให้หญิงในระยะคลอดสามารถเลือกใช้ได้ตามความต้องการและตามความเหมาะสม
References
นันธิดา วัดยิ้ม, เอมพร รตินธร, วรรณา พาหุวัฒนกร, และเอกชัย โควาวิสารัช. (2557). ผลของดนตรีร่วมกับการสร้างจินตภาพต่อความเจ็บปวดและพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะที่ 1 ของการคลอดในผู้คลอดครรภ์แรก. วารสารสภาการพยาบาล, 29(1), 95-107.
นันทพร แสนศิริพันธ์. (2556). ความกลัวต่อการคลอดบุตร. พยาบาลสาร, 40(ฉบับพิเศษ มกราคม), 103-112.
พัชรียา นิวัฒน์ภูมินทร์. (2563). การใช้ยากลุ่มโอปิออย์ขณะตั้งครรภ์และผลกระทบ. วิสัญญีสาร, 46(2), 107-113.
พิมลพรรณ ต่างวิวัฒน์, ฐิติภรณ์ ตวงรัตนานนท์, และจุฬาวรรณ เขมทอง. (2565). การวิเคราะห์สถานการณ์แนวทางการฝากครรภ์ในประเทศไทย. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 31(5), 809-825.
รัตนา เพิ่มเพ็ชร์, และเบญจมาภรณ์ บุตรศรีภูมิ. (2559). ผลของดนตรีบำบัดต่อระดับความวิตกกังวลของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดคลอด. วารสารพยาบาลทหารบก, 17(3), 34-43.
สมพร กุศลเลิศจริยา. (2540). การศึกษาเปรียบเทียบการใช้ดนตรีพื้นเมืองกับดนตรีคลาสสิคต่อการลดความเจ็บปวดในมารดาระยะเจ็บครรภ์คลอด. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 20(3), 32-42.
สุฑารัตน์ ชูรส. (2561). การจัดการความปวดโดยไม่ใช้ยาของมารดาในระยะทีหนึ่งของการคลอด. แพทยสารทหารอากาศ, 64(3), 61-68.
Bala, I., Babu, M., & Rastogi, S. (2017). Effectiveness of back massage versus ambulation during first stage of labour among primigravida mothers in terms of pain and anxiety. International Journal of Nursing Education, 9(3), 28–32. https://doi.org/10.5958/0974-9357.2017.00066.6
Elisabet, R., Johanna, T., & Orjan, S. (2016). Psychological perspectives of fear of childbirth. Journal of Anxiety Disorders, 44, 80-91. https://doi.org/10.1016/j.janxdis.2016.10.007
Gautam, S., Chalise, G. D, Bharati, M., & Shrestha, S. (2023). Effect of music therapy on intensity of labor pain among primigravid mothers admitted in a tertiary level hospital. Journal of Nepal Health Research Council, 21(1), 92–98.
Kocak, M. Y., Goçen, N. N., & Akin, B. (2022). The effect of listening to the recitation of the Surah Al-Inshirah on labor pain, anxiety and comfort in Muslim women: A randomized controlled study. Journal of Religion and Health, 61(4), 2945–2959. https://doi.org/10.1007/s10943-021-01356-w
Konlan, K. D., Afaya, A., Mensah, E., Suuk, A. N., & Kombat, D. I. (2021). Non-pharmacological interventions of pain management used during labour; An exploratory descriptive qualitative study of puerperal women in Adidome Government Hospital of the Volta Region, Ghana. Reproductive health, 18(1), 86. https://doi.org/10.1186/s12978-021-01141-8
Ozcan, H., Samur, I., Uzun, F., & Sahin, R. (2022). Cultural methods used by women who give vaginal birth to cope with birth labor pain. International Journal of Caring Sciences. 15(1), 546-554.
Pratiwi, A. M., Zuliyati, I. C., & Fatimatasari, F. (2021). Abdominal lifting, effleurage, and deep back massages effective in reducing pain during active phase of first stage labor. Indonesian Journal of Nursing and Midwifery, 9(3), 175-182. http://dx.doi.org/10.21927/jnki.2021.9(3).175-182
Simkin, T., & Kelin, M. C. (2007). Nonpharmacological approaches to management of labor pain. Journal of Perinatal Education, 16(3), 50-56.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ก่อนเท่านั้น