ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าทอง อ.เมือง จ.พิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • มิตรธิรา แจ่มใส โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าทอง องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก
  • วิภาพร สิทธิสาตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • ธิติรัตน์ ราศิริ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก คณะสาธารณสุขศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการป้องกันโรค, โรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมและภายในกลุ่มทดลองก่อนและหลังได้รับโปรแกรม กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคคลที่มีอายุระหว่าง 35 ขึ้นไป ที่ได้รับการคัดกรองเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คนและกลุ่มควบคุม 30 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่ 1) โปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพฯ 2) แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ ค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.96 ค่าความเชื่อมั่น (KR-20) เท่ากับ 0.87 3) แบบประเมินพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ค่าความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ 0.88 ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรของสัมประสิทธิแอลฟา เท่ากับ 0.88 การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ paired t-test และ independent t-test  

ผลการศึกษา พบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของกลุ่มทดลองมีค่าสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2) คะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของกลุ่มทดลองเพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) ดังนั้น โปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ สามารถส่งเสริมให้กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง มีความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงได้ดีขึ้น เป็นประโยชน์ต่อการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและลดอัตราผู้ป่วยรายใหม่

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2565). Health Data Center. https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php

กระทรวงสาธารณสุข, กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, กองสุขศึกษา. (2566). แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. http://www.hed.go.th/linkHed/482

ทรรศนีย์ พูลผล. (2566). ผลของโปรแกรมความรอบรู้ทางสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการในคลินิกโรคเรื้อรังของโรงพยาบาลบ้านโพธิ์. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุรินทร์, 13(2), 99-114.

นงลักษณ์ แก้วทอง. (2557). ความแตกฉานด้านสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านหนองหอย จังหวัดสระแก้ว. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 30(1), 45-56.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). คณะพยาบาลศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปวิตรา ทองมา. (2563). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและผลลัพธ์ทางสุขภาพในผู้ป่วยในโรคความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 13(1), 50-62.

ปาจรา โพธิหัง. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในประเทศไทย: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 29(3), 115-130.

มิตรธิรา แจ่มใส. (2565). รายงานการคัดกรองโรคเรื้อรัง ประจำปีงบประมาณ 2565 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าทอง. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าทอง.

รุ่งนภา อาระหัง. (2560). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกัน โรคความดันโลหิตสูงสำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงที่ชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. (2562). แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562. ทริค ธิงค์.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2551). ชีวสถิติสําหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ภาควิชาสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อรุณี สมพันธ์, แสงทอง ธีระทองคำ, นพวรรณ เปียซื่อ, และสมนึก สกุลหงส์โสภณ. (2558). ปัจจัยทํานายพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานในผู้ที่เสี่ยงต่อเบาหวาน. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 21(1), 96-109.

Cohen, J. (1992). Quantitative methods in psychology: A power primer. Psychological Bulletin, 112(1), 155-159.

Dennis, S., Williams, A., Taggart, J., Newall, A., Denney-Wilson, E., Zwar, N., Shortus, T., & Harris, M. F. (2012). Which providers can bridge the health literacy gap in lifestyle risk factor modification education: A systematic review and narrative synthesis. BMC Family Practice, 13(44). https://doi.org/10.1186/1471-2296-13-44

Nutbeam, D. (2000). Health literacy as a public health goal: A challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promotion International, 15(3), 259-267.

World Health Organization. (1998). Health promotion glossary. Division of Health Promotion, Education and Communications, Health Education and Health Promotion Unit, World Health Organization.

World Health Organization. (2023, September 19). First WHO report details devastating impact of hypertension and ways to stop it. https://www.who.int/news/item/19-09-2023-first-who-report-details-devastating-impact-of-hypertension-and-ways-to-stop-it

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01