ผลของกิจกรรมรักษาอุโบสถศีลในช่วงเทศกาลเข้าพรรษาต่อความมีชีวิตชีวาของผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • เรืองศรี ศรีสวนจิก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • กิตติพงษ์ พลทิพย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • รักษ์สุดา ชูศรีทอง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • สุพัตรา เชาว์ไวย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

คำสำคัญ:

อุโบสถศีล , ความมีชีวิตชีวาของผู้สูงอายุ , ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

ความมีชีวิตชีวาของผู้สูงอายุเป็นแนวคิดที่ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้ทำหน้าที่สูงสุด การรักษาอุโบสถศีลในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา เป็นกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ งานวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกิจกรรมการรักษาอุโบสถศีลในช่วงเทศกาลเข้าพรรษาต่อความมีชีวิตชีวาของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในตำบลหนองบัว อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 80 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 40 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ กิจกรรมการรักษาอุโบสถศีลในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความมีชีวิตชีวา ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แคปปา > 0.3 ทุกข้อ

ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุกลุ่มทดลองมีความมีชีวิตชีวาหลังการทดลอง (M = 17.30, SD = 2.31) สูงกว่าก่อนการทดลอง (M = 16.78, SD = 2.37) อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้สูงอายุกลุ่มทดลอง มีความมีชีวิตชีวา (M = 17.30, SD = 2.31) สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (M = 16.35, SD = 3.11) อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อย่างไรก็ตามผู้สูงอายุก็ควรที่จะได้รับการส่งเสริมความมีชีวิตชีวาในรูปแบบกิจกรรมอื่น ๆ ที่มีความหลากหลายและต่อเนื่อง

Author Biography

กิตติพงษ์ พลทิพย์, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

พย.บ., ส.ม. (การพัฒนาสุขภาพชุมชน, ปร.ด.(ยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค)

References

เดชาชัช สายเมธางกุร, และจรัส ลีกา. (2565). การพัฒนาพฤฒพลังด้วยหลักธรรมานุภาพ. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 9(2), 64-75.

นงลักษณ์ บุญเยีย, และนิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์. (2564). การพัฒนารูปแบบการสูงวัยอย่างมีพลังของผู้สูงอายุในชุมชนเขตชนบท. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 35(1), 123-140.

นำพร อินสิน, กาญจนา วงษ์สวัสดิ์, สาวิตรี วังคะฮาด, ยิ่งยง เสนากัง, ช่อผกา เหวียนวัน, และธงชัย ทาต้อง. (2564). ภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุในอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 14(3), 94-103.

ปกครอง พงษ์พัฒนพิสิฐ, รักชนก คชไกร, และเวหา เกษมสุข. (2565). ผลของโปรแกรมการสนับสนุนการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมต่อพฤฒิพลังของผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลทหารบก, 23(3), 266-274.

ปะราลี โอภาสนันท์. (2559). การพยาบาลผู้สูงอายุในศตวรรษที่ 21. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา.

พระนัฐวุฒิ สิริจนฺโท/ศรีจันทร์, พระครูปลัดสมหมาย อตฺถสิทฺโธ, และพระครูสุตวรธรรมกิจ. (2565). การสร้างอัตลักษณ์พุทธวิถีเพื่อสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุจังหวัดร้อยเอ็ด. Journal of Buddhist Education and Research, 8(2), 46-60.

พระมหาอภิสิทธิ์ วิริโย (จอดนอก), ธนันต์ชัย พัฒนะสิงห์, พระสุวิจักขณ์ โชติวโร, พระมหาสมพร อนาลโย, และพระมหาเชษฐา ฐานจาโร. (2563). ความผาสุกทางจิตวิญญาณผ่านกระบวนการบุญกิริยาวัตถุของผู้สูงอายุที่มาถือศีลอุโบสถในวัดของพระพุทธศาสนาจังหวัดบุรีรัมย์. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 5(2), 549-565.

พินิจ ฟ้าอำนวยผล. (2563). รายงานการวิจัยโครงการพัฒนาเครื่องมือประเมินภาวะ active ageing สำหรับผู้สูงอายุไทย. มูลนิธิศูนย์วิจัยและติดตามความเป็นธรรมทางสุขภาพ.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2565). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

ยมนา ชนะนิล, พรชัย จูลเมตต์, และนัยนา พิพัฒน์วิณิชชา. (2563). ภาวะพฤฒพลังของผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 30(2), 83-92.

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39(2), 175–191. https://doi.org/10.3758/bf03193146

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01