รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีเพื่อการติดต่อสื่อสารสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

ผู้แต่ง

  • กิตติพงษ์ พลทิพย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • ปภัชญา คัชรินทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • ธัญลักษณ์ ตั้งธรรมพิทักษ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • อติญา โพธิ์ศรี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • กิรณานันท์ สนธิธรรม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • ทองมี ผลาผล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

สมรรถนะ , เทคโนโลยี, การติดต่อสื่อสาร , อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้วัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีเพื่อการติดต่อสื่อสารและประเมินผลการใช้รูปแบบพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีเพื่อการติดต่อสื่อสารสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน การศึกษาแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1) ศึกษาสถานการณ์การปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านด้านเทคโนโลยีเพื่อการติดต่อสื่อสาร 2) การสร้างและทดลองใช้รูปแบบฯ และ 3) ทดสอบประสิทธิผลของรูปแบบฯ ผ่านการทดลองใช้และประเมินผลในกลุ่มตัวอย่างอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในตำบลหนองบัว อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด เลือกตัวอย่างโดยการสุ่มแบบโควตา ได้กลุ่มทดลอง 38 คน กลุ่มควบคุม 38 คน เครื่องมือวิจัยใช้แบบประเมินระดับสมรรถนะด้านเทคโนโลยีเพื่อการติดต่อสื่อสารสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น หาความเชื่อมั่น ได้ค่า 0.94 การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา เปรียบเทียบความแตกต่างของระดับสมรรถนะด้านเทคโนโลยีระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้สถิติทีแบบอิสระต่อกัน

ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีเพื่อการติดต่อสื่อสาร ประกอบด้วย 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมการอบรมให้ความรู้ การสนับสนุนการปฏิบัติงานโดยบุคคลอื่น และการใช้คู่มือในการใช้แอปพลิเคชัน หลังการนำรูปแบบไปใช้พบว่า กลุ่มทดลอง (M = 4.27, SD = 0.45) มีระดับสมรรถนะสูงกว่ากลุ่มควบคุม (M = 4.02, SD = 0.51) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (และสูงกว่าก่อนทดลอง (M = 3.44, SD = 0.51) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สรุปได้ว่า รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีเพื่อการติดต่อสื่อสารสามารถนำไปใช้สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขได้

Author Biography

กิตติพงษ์ พลทิพย์, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

พย.บ., ส.ม. (การพัฒนาสุขภาพชุมชน, ปร.ด.(ยุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค)

References

กิตติพงษ์ พลทิพย์. (2566). ประสบการณ์การปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านวัยสูงอายุ. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 37(2), 70-79.

กีรติวรรณ กัลยาณมิตร. (2562). รูปแบบบทบาทที่เหมาะสมของอาสาสมัครและการพัฒนาสุขภาพสู่ความยั่งยืนในจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 7(6), 1620-1634.

ณฐา เชียงปิ๋ว, วราภรณ์ บุญเชียง, และศิวพร อึ้งวัฒนา. (2561). ผลของการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองต่อความรู้ และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. พยาบาลสาร, 45(1), 87-99.

บำรุง วงษ์นิ่ม. (2565). การพัฒนาสมรรถนะด้านการสื่อสารสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายสุขภาพอำเภอท่าวุ้ง. วารสารโรงพยาบาลสิงห์บุรี, 31(2), 54-67.

เพ็ญศรี โตเทศ. (2563). การศึกษารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะ อสม. 4.0 ภาคเหนือ ปี 2561. วารสารวิชาการสังคมมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 10(1), 34-44.

ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พ.ศ. 2554. (2554, 20 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 128 ตอนพิเศษ 33 ง. หน้า 1- 10.

ศิวพร สุนทรีวงศ์, ประภาเพ็ญ สุวรรณ, สุรีย์ จันทรโมลี, และมยุนา ศรีสุภนันต์. (2562). การพัฒนารูปแบบการเพิ่มประสิทธิผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เทศบาลนครตรัง จังหวัดตรัง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 6(1), 75-88.

สมพร พูลวงษ์. (2562). การประยุกต์ใช้โปรแกรมไลน์เพื่อการมอบหมายสำหรับกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 14(3), 138-146.

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39(2), 175–191. https://doi.org/10.3758/bf03193146

Lunenburg, F. C., & Ornstein, A. C. (1996). Educational administration: Concepts and practices (2nd ed). Wadsworth.

The Joint Committee on Standards for Educational Evaluation. (1994). The program evaluation standards: How to assess evaluations of educational programs (5th ed.). W. H. Freeman.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01