ผลของโปรแกรมความรอบรู้ทางสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการในคลินิกโรคเรื้อรังของโรงพยาบาลบ้านโพธิ์

ผู้แต่ง

  • ทรรศนีย์ พูลผล โรงพยาบาลบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา

คำสำคัญ:

โปรแกรม, ความรอบรู้ทางสุขภาพ , พฤติกรรมการดูแลตนเอง , ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง วัดผลก่อน-หลังการทดลอง แบบ 2 กลุ่ม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมความรอบรู้ทางสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการในคลินิกโรคเรื้อรังของโรงพยาบาลบ้านโพธิ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ จำนวน 60 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายจากรายชื่อผู้ป่วยเพื่อจัดเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 2 ประเภท ได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความรอบรู้ทางสุขภาพ และแบบประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเอง ซึ่งมีค่า CVI อยู่ระหว่าง 0.72 - 0.94 และมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค อยู่ระหว่าง 0.70 - 0.87 และ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือโปรแกรมความรอบรู้ทางสุขภาพ ได้ค่า CVI ที่เท่ากับ 0.94 ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง ดำเนินการทดลองและเก็บข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน 2566 ถึงเดือนสิงหาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบที

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยรวมอยู่ในระดับมาก (M = 43.50, SD = 4.24) และมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (t=-19.373, p-value <.001) กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมความรอบรู้ทางสุขภาพมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเอง สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (t=-6.919, p-value <.001)

การศึกษานี้เสนอแนะว่า ควรนำวิธีการสร้างเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพตามโปรแกรมที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นไปเป็นแนวทางในการให้การดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงให้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองเพื่อควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้

References

กฤศภณ เทพอินทร์, สุทธีพร มูลศาสตร์, และนภาเพ็ญ จันทขัมมา. (2562). ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 11(1), 167-212.

กระทรวงสาธารณสุข, กรมควบคุมโรค. (2559). รายงานประจำปี 2559 (NCD). สำนักงานธุรกิจการพิมพ์ องค์การทหารผ่านศึกแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์.

กระทรวงสาธารณสุข, กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, กองสุขศึกษา. (2561). แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ตาม 3อ. 2ส. ของประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ฉบับปรับปรุงปี 2561. โรงพยาบาลนครพิงค์.

https://www.nkp-hospital.go.th/th/H.ed/mFile/20180627124613.pdf

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. (2563). K-shape 5 ทักษะเพิ่มความรอบรู้ด้านสุขภาพ. วารสารสมาคมวิชาชีพสุขศึกษา, 35(2), 22-26.

ปุณิกา สุ่มทอง, บุญเยี่ยม สุทธิพงศ์เกียรติ, ปรัชพร กลีบประทุม, และวาศิณี อาจภักดี. (2562). ผลของโปรแกรมการวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้านโดยประยุกต์ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและแรงสนับสนุนทางสังคมในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลอ่างทอง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 2(1), 1-14.

ภัทราวดี แซ่ลี, ภัทรวดี ศรีรัตนโชติ, สหรัฐ กันยะมี, สุธาสินี สุขสะอาด, ณฐกมล ผดาเวช, และประเสริฐ ประสมรักษ์. (2564). การพัฒนารูปแบบการลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองในประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่อาศัยในชุมชน. วารสารวิชาการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์, 3(2), 106-118.

รัฏฐรินีย์ ธนเศรษฐ. (2566). การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง กลุ่มวัยทำงานเขตสุขภาพที่ 9 ในยุควิถีใหม่. วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง, 8(1), 167-185.

โรงพยาบาลบ้านโพธิ์. (2565). รายงานประจำปี 2565. โรงพยาบาลบ้านโพธิ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดฉะเชิงเทรา.

ศุภลักษณ์ ทองขาว, นิภา กิมสูงเนิน, และรัชนี นามจันทรา. (2564). ผลของโปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้วัยผู้ใหญ่ตอนต้น. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 32(2), 73-88.

อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์, ภาณุวัฒน์ คำวังสง่า, และสุธิดา แก้วทา. (2563). รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

อังศินันท์ อินทรกำแหง. (2560). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ: การวัดและการพัฒนา. สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อัจฉราภรณ์ นีละศรี. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมความดันโลหิต ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังน้ำเขียว อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. วารสารแพทย์เขต 4-5, 35(2), 77-88.

อำนาจ เมืองแก้ว, อิสระพงศ์ เพลิดเพลิน, จิตรรัตน์ ปองทอง, และเกษศิรินทร์ พุทธวงศ์. (2563). การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังด้านการบริโภคอาหารรสเค็มโดยใช้ชุมชนเป็นฐานในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ปี พ.ศ. 2563. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

Faul, F., Erdfelder, E., Buchner, A., & Lang, A. G. (2009). Statistical power analyses using G*Power 3.1: tests for correlation and regression analyses. Behavior research methods, 41(4), 1149–1160. https://doi.org/10.3758/BRM.41.4.1149

Ishikawa, H., & Yano, E. (2011). The relationship of patient participation and diabetes outcomes for patients with high vs. low health literacy. Patient education and counseling, 84(3), 393–397. https://doi.org/10.1016/j.pec.2011.01.029

Liu, Y. B., Liu, L., Li, Y. F., & Chen, Y. L. (2015). Relationship between health literacy, health-related behaviors and health status: A survey of elderly Chinese. International journal of environmental research and public health, 12(8), 9714–9725. https://doi.org/10.3390/ijerph120809714

Nutbeam, D. (2008). The evolving concept of health literacy. Social Science and Medicine, 67(12), 2072-2078. http://dx.doi.org/10.1016/j.socscimed.2008.09.050

Polit, D. F., & Beck, C. T. (2008). Nursing research : Generating and assessing evidence for nursing practice (8th ed.). Lippincott Williams & Wilkins.

Sørensen, K., Van den Broucke, S., Fullam, J., Doyle, G., Pelikan, J., Slonska, Z., Brand, H., & (HLS-EU) Consortium Health Literacy Project European. (2012). Health literacy and public health: a systematic review and integration of definitions and models. BMC Public Health, 12, 80. https://doi.org/10.1186/1471-2458-12-80

World Health Organization. (2015). Health literacy toolkit for low- and middle-income countries : A series of information sheets to empower communities and strengthen health systems. WHO Regional Office for South-East Asia. https://apps.who.int/iris/handle/10665/205244

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-19