การพัฒนาระบบการป้องกันการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายสุขภาพ ตำบลตาเบา จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • โฉมศรี ถุนาพรรณ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตาเบา สำนักงานสาธารณสุขอำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์

คำสำคัญ:

เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง , กระบวนการมีส่วนร่วม , 4’SA MODEL

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research [PAR]) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการป้องกันการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายสุขภาพ และศึกษาผลของระบบการป้องกันการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายสุขภาพด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายสุขภาพตำบลตาเบา อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ โดยระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ระยะที่ 2 พัฒนาระบบการป้องกันการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง และระยะที่ 3 ประเมินสรุปผลและถอดบทเรียน โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) (ชุดนักสืบ) เป็นผู้ช่วยวิจัยดำเนินการเก็บข้อมูลในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นกลุ่มเสี่ยงของชุมชนนำร่องที่เลือกแบบเจาะจงจำนวน 87 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และใช้สถิติทดสอบที(Paired t-test) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนภาวะเสี่ยงการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงก่อน-หลังเข้าร่วมระบบการป้องกันการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายสุขภาพ

 ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการพัฒนาที่มีส่วนประกอบสำคัญได้แก่ Skills, Structure, Strongly Leadership, Social Relationship, Attitude (4’SA MODEL) และผลการเปรียบเทียบคะแนนภาวะเสี่ยงการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงก่อนและหลังการพัฒนาระบบการป้องกันการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง พบว่า ตัวอย่างมีคะแนนภาวะเสี่ยงการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงลดลงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001  

ข้อเสนอแนะ ควรมีการขยายผลนำรูปแบบไปใช้ในพื้นที่อื่นๆ เพื่อลดความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่จะเกิดในชุมชนต่อไป

References

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. (2559). แนวทางการขับเคลื่อนตำบลจัดการสุขภาพแบบบูรณาการเพื่อการพึ่งตนเองของชุมชน. กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน, กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, กระทรวงสาธารณสุข.

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). สรุปข้อมูลสถิติที่สำคัญ พ.ศ. 2564 : ผลสำรวจ/สำมะโนของสำนักงานสถิติแห่งชาติ. https://dl.parliament.go.th/handle/20.500.13072/599172

กระทรวงสาธารณสุข, กรมควบคุมโรค, กองโรคไม่ติดต่อ. (2565). รายงานประจำปี 2565 กองโรคไม่ติดต่อ. อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

กระทรวงสาธารณสุข, กรมควบคุมโรค, กองโรคไม่ติดต่อ. (2564). รายงานประจำปี 2564 กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค.อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

กระทรวงสาธารณสุข, กรมควบคุมโรค, กองโรคไม่ติดต่อ, กลุ่มพัฒนาคุณภาพบริการ. (2564). คู่มือแนวทางการดำเนินงาน NCD Clinic Plus & Online. อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

กิตติพงศ์ พลเสน, ทัศนีย์ ศิลาวรรณ, อรนุช ภาชื่น, และณิชชาภัทร ขันสาคร. (2559). การระบุและสังเคราะห์ปัญหาสุขภาพชุมชนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 11(2), 22-32.

พัชนี ตูเล๊ะ. (2561). ปัจจัยที่ส่งเสริมและพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนในจังหวัดนราธิวาส. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and art), 11 (2), 3560-3575.

พินทุสร เหมพิสุทธิ์, ทิวาวรรณ ปิยกุลมาลา, ภาวิณี เอี่ยมจันทน์, ชนิญญา พัฒนศักดิ์ภิญโญ, ขวัญประชา เชียงไชยสกุลไทย. (2565). การศึกษาทิศทางระบบสุขภาพในอนาคต และคาดการณ์ความต้องการกำลังคนสาขาวิชาชีพแพทย์ของหน่วยบริการส่วนภูมิภาค สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปี พ.ศ. 2565 – 2569: ข้อเสนอเชิงนโยบาย. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 31(5), 929-944.

เพียงพิมพ์ ปัณระสี, และภัทราบูลย์ นาคสู่สุข. (2565). การพัฒนารูปแบบการดูแลประคับประคองต่อเนื่องที่บ้านในเครือข่ายบริการปฐมภูมิ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 32(1), 40-55.

วรรณภาภรณ์ จงกลาง, และนาฏนภา หีบแก้ว ปัดชาสุวรรณ์. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของกลุ่มวัยทำงาน อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 14(3), 71-82.

ศิริพร เลิศยิ่งยศ. (2560). การพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชนเพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนของชุมชนในแหล่งท่องเที่ยวเชิงอารยธรรม อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 25(48), 177-202.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.(2560).แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560 (พิมพ์ครั้งที่ 3). ร่มเย็น มีเดีย.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. (2554). แผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิต ไทยพ.ศ. 2554-2563. โรงพิมพ์สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์. (2565ก). ข้อมูลเพื่อตอบสนอง Service Plan สาขาโรคไม่ติดต่อ (NCD DM, HT, CVD). https://srn.hdc.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=b2b59e64c4e6c92d4b1ec16a599d882b

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์. (2565ข). ปิรามิดประชากร. https://srn.hdc.moph.go.th/hdc/main/

หทัยรัตน์ คงสืบ, และวิไลลักษณ์ เรืองรัตนตรัย. (2562). ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ, 5(1), 72-84.

อนุตตรา อนุเรือง. (2560). การรับรู้ ทัศนคติและการมีส่วนร่วมในการพัฒนากิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุเขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์, ภาณุวัฒน์ คำวังสง่า, และสุธิดา แก้วทา. (2563).รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูงและปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

Azarian, R. (2010). Social ties: Elements of a substantive conceptualization. Acta Sociologica, 53(4), 323-338.

Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1981). Rural development participation: Concept and measures for project design implementation and evaluation. Rural Development Committee Center for International Studies. Cornell University.

Holt-Lunstad, J., Smith, T. B., Layton, J. B. (2010). Social relationships and mortality risk: A meta-analytic review. PLoS Medicine, 7(7), e1000316. https://doi.org/10.1371/journal.pmed.1000316

Goetz, K., Szecsenyi, J., Campbell, S., Rosemann, T., Rueter, G., Raum, E., Brenner, H., & Miksch, A. (2012). The importance of social support for people with type 2 diabetes - a qualitative study with general practitioners, practice nurses and patients. Psycho-social medicine, 9, Doc02. https://doi.org/10.3205/psm000080

Sathish, T., Kannan, S., Sarma, P. S., Razum, O., Thrift, A. G., & Thankappan, K. R. (2016). A risk score to predict hypertension in primary care settings in rural India. Asia-Pacific Journal of Public Health, 28(1 Suppl), 26S–31S. https://doi.org/10.1177/1010539515604701

World Health Organization. (2013). Global action plan for the prevention and control of noncommunicable diseases 2013-2020. WHO Document Production Services.

World Health Organization. (2023, September 16). Noncommunicable diseases. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/noncommunicable-diseases

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-09