ปัจจัยทำนายสมรรถนะการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมือง จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • ผาณิต หลีเจริญ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • ยุวนิดา อารามรมย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • จารุณี วาระหัส วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • ณัชชา สังขภิญโญ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • ลักษณา หวัดเพ็ชร โรงพยาบาลสงขลา

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, ภาวะสมองเสื่อม , สมรรถนะ, อสม.

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายสมรรถนะในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ปฏิบัติงานในศูนย์สุขภาพชุมชนเขตเมือง จังหวัดสงขลา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างคืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 260 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางเครซี่และมอร์แกน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ด้วยค่าความถี่ ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน อธิบายโมเดลความความสัมพันธ์ของตัวแปรทำนายสมรรถนะการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม โดยใช้สถิติสมการถดถอยพหุคูณแบบการนำตัวแปรเข้าทั้งหมดในครั้งเดียว

ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยนำ ได้แก่ ความรู้ (r = 0.20, p-value ≤ 0.001) ทัศนคติ (r = 0.33, p-value ≤ 0.001) ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ การรับรู้นโยบาย (r = 0.49, p-value ≤ 0.001) และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร (r = 0.50, p-value ≤ 0.001) และปัจจัยเสริม ได้แก่ การได้รับการสนับสนุนทางสังคม (r = 0.48, p-value ≤ 0.001) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับสมรรถนะในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และโมเดลสมการถดถอยแสดงให้เห็นว่า ความรู้ (β = 0.11, p-value ≤ 0.05) ทัศนคติ (β = 0.16, p-value ≤ 0.05) การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร (β = 0.27, p-value ≤ 0.001) และแรงสนับสนุนทางสังคม (β = 0.24, p-value ≤ 0.001) สามารถทำนายสมรรถนะในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมได้ ร้อยละ 33 (R2 = 33, F = 27.54) ผลการวิจัยสามารถนำเป็นแนวทางในการสร้างโปรแกรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อไป

References

กานดา วรคุณศิริ, และศิริพันธุ์ สาสัตย์. (2558). ผลของโปรแกรมการจัดสิ่งแวดล้อมที่บ้านร่วมกับการผ่อนคลายกล้ามเนื้อแบบก้าวหน้าต่อภาวะเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม. วารสารเกื้อการุณย์, 22(1), 82-97.

กฤษณ์วริศ ชนิดไทย, และโชติ บดีรัฐ. (2565). แนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาในเขตอำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 8(2), 159-174.

ชนิดา เตชะปัน. (2561). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการดำเนินงานด้านสุขศึกษาชุมชน ในเทศบาลตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ชัชวาล วงค์สารี. (2560). ผลกระทบการเกิดภาวะสมองเสื่อมต่อผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัย คริสเตียน, 23(4), 680-689.

ชัชวาล วงค์สารี, และศุภลักษณ์ พื้นทอง. (2561). ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ : การพยาบาลและการดูแลญาติผู้ดูแล. วารสารมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติวิชาการ, 22(23-24), 166-179.

เตือนใจ ปาประโคน และวิทัศน์ จันทร์โพธิ์ศรี. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงสนับสนุนทางสังคมกับบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(3), 31-38.

นิชนันท์ สุวรรณกูฏ, สุวภัทร นักรู้กำพลพัฒน์, อมรรัตน์ นธะสนธิ์, และวุฒิชัย ลำดวน. (2564). ปัจจัยทำนายสมรรถนะในการดูแลผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 23(2), 18-26.

นรลักษณ์ เอื้อกิจ, และลัดดาวัลย์ เพ็ญศรี. (2562). การประยุกต์ใช้แนวคิด PRECEDE MODEL ในการสร้างเสริมสุขภาพ. วารสารสภากาชาดไทย, 12(1), 38-48.

ปรางค์ จักรไชย, อภิชัย คุณีพงษ์, และวรเดช ช้างแก้ว. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในทีมหมอครอบครัว จังหวัดปทุมธานี. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 31(1), 16-28.

ผาณิต หลีเจริญ, มาลี คำคง, ยุวนิดา อารามรมย์, และจารุณี วาระหัส. (2557). ความรู้และทัศนคติของนักศึกษาพยาบาล อาจารย์และบุคลากรที่มีต่อผู้สูงอายุ. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา.

พารินทร์ แก้วสวัสดิ์. (2565). แรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการทางการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 2(2), 22-33.

ไพบูลย์ อินทมาส. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพ อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สิวารี ศรีวิโรจน์, กฤษณา วิสมิตะนันทน์, และกมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ. (2560). ปัจจัยทีมีความสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรประจำเรือขนส่งน้ำมัน: กรณีศึกษา บริษัท A. วารสารวิชาการ บัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 13(2), 143-163.

ศิริญญ์ รุ่งหิรัญ (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัด ปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 6(1), 109-120.

Agency for integrated care. (2016). Dementia care competency framework. https://www.aic.sg/wp-content/uploads/2023/06/Dementia-Care-Competency-Framework.pdf

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement.

Phenwan, T., Tawanwongsri, W., Koomhin, P., & Saengow, U. (2020). Dementia community screening program in district health area 11: phase 1. Walailak Journal of Science and Technology, 17(10), 1042-1047.

Urashima, S., Greiner, C., Ryuno, H., & Yamaguchi, Y. (2022). Factors affecting the quality of dementia care at acute care hospitals: A cross-sectional study. Journal of Clinical Nursing, 31(15-16), 2198-2207.

Wang, H., Naghavi, M., Allen, C., Barber, R. M., Bhutta, Z. A., Carter, A., & Bell, M. L. (2016). Global, regional, and national life expectancy, all-cause mortality, and cause-specific mortality for 249 causes of death, 1980-2015: A systematic analysis for the global burden of disease study 2015. The Lancet, 388(10053), 1459-1544.

World Health Organization. (2019). The global dementia observatory reference guide. https://www.who.int/publications/i/item/who-msd-mer-18.1

Yaebkai, Y., & Wongsawat, P. (2022). Factors affecting performance of village health volunteers in Sukhothai, Thailand. Journal of Public Health and Development, 20(1), 120-131.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-18