ปัจจัยเสี่ยงของภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ที่คลอดในโรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ

ผู้แต่ง

  • โอทนี สุวรรณมาลี โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ

คำสำคัญ:

ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ , ความชุก , ปัจจัยเสี่ยง , ผลต่อการคลอด

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบมีกลุ่มเปรียบเทียบแบบย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและระดับความรุนแรง ปัจจัยเสี่ยง และผลของภาวะโลหิตจางต่อการคลอดในหญิงตั้งครรภ์ที่คลอดในโรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ ประชากร จำนวน 250 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์และมาคลอดที่ห้องคลอดโรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 180 คน โดยการสุ่มอย่างง่ายด้วยการจับฉลากแบบไม่ใส่คืน เก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียน ทะเบียนการฝากครรภ์ และทะเบียนคลอด ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566 เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบบันทึกข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและข้อมูลปัจจัยเสี่ยงและผลของภาวะโลหิตจางต่อการคลอดในหญิงตั้งครรภ์ด้วยสถิติการถดถอยโลจิสติคแบบทวิ

ผลการวิจัยพบว่า ความชุกของภาวะโลหิตจางในการฝากครรภ์ครั้งแรก ไตรมาสสาม และระยะคลอด คือ ร้อยละ 48.89, 40.56 และ 15 ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่มีภาวะโลหิตจางอยู่ในระดับเล็กน้อย ร้อยละ 36.11, 30.56, 10 ตามลำดับ ปัจจัยเสี่ยงของภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ คือ ดัชนีมวลกายก่อนการตั้งครรภ์สูงกว่าปกติ (Adj.OR = 2.284, 95% CI [1.15, 4.50]) อายุครรภ์ขณะฝากครรภ์ครั้งแรก ³ 12 สัปดาห์ (Adj.OR = 3.579, 95% CI [1.81,7.05]) ซึ่งสามารถทำนายโอกาสเกิดภาวะโลหิตจางได้ร้อยละ 27.1 และภาวะโลหิตจาง ไตรมาสสามมีความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดถึง 2.365 เท่า และทารกน้ำหนักตัวน้อย 5.359 เท่า

สรุปได้ว่า ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ยังเป็นปัญหาสำคัญ ควรมีการประเมินคัดกรองปัจจัยเสี่ยง และรณรงค์ให้ฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ เพื่อให้ได้รับการรักษาและการดูแลที่เหมาะสมต่อไป

References

กระทรวงสาธารณสุข, กรมอนามัย. (2565). คู่มือ 1,000 วันแรกของชีวิต. ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

กระทรวงสาธารณสุข, กรมอนามัย, สำนักโภชนาการ. (2565). รายงานประจำปี 2565 เฝ้าระวังทางโภชนาการ. https://nutrition2.anamai.moph.go.th/web-upload/6x22caac0452648c8dd1f534819ba2f16c/202303/m_magazine/37955/4261/file_download/13affb4dde0d884d8536cb0096eecca9.pdf

กัญญาณี อุดอ้าย, จตุพร ใจเคลื่อน, อิศรา หรรษาวงศ์, และปวีณา พังสุวรรณ. (2564). ผลของภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ที่ไตรมาสต่างๆต่อการเกิดทารกแรกคลอดครบกำหนดน้ำหนักน้อยในโรงพยาบาลแพร่. วารสารโรงพยาบาลแพร่, 29(2), 88-101.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2559). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for Windows. ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิตตระการ ศุกร์ดี, และศิวิไลซ์ วนรัตน์วิจิตร. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กของสตรีตั้งครรภ์ ที่รับบริการฝากครรภ์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 10(1). 1-7.

ชลธิชา ตานา. (2560, ตุลาคม 20). ภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์. ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/topic-review/5679/

เฉลิมขวัญ ภู่เหลือ. (2559). ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 6(1), 15-26.

ธัญญารัตน์ สิงห์แดง, และไพฑูรย์ พรหมเทศ. (2566). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์ในโรงพยาบาลน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 8(2), 101-109.

นพคุณ นันท์ศุภวัฒน์. (2560). สถานการณ์ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ต่างด้าวที่ฝากครรภ์และคลอดในโรงพยาบาลสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว, 3(1), 36-45.

นิตยา พวงราช. (2560). ปัจจัยเสียงของมารดากับทารกแรกเกิดนําหนักต่ำกว่าเกณฑ์อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 26(2), 346–352.

บุญเรียง ขจรศิลป์. (2543). วิธีวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). พี.เอ็น.การพิมพ์.

บุษยรัตน์ วงศ์วิริยะเวช, ณัฏฐพร จันทร์แสนโรจน์, และชุติมา เทียนชัยทัศน์. (2561). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเลือดหลังคลอดระยะแรก โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 1(1), 39-47.

ปรัชญา กาญจนโสภณ. (2558). ภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์ที่คลอด ณ โรงพยาบาลกระบี่: ความชุกปัจจัยเสี่ยง. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11, 29(2), 219-225.

ปารรัตน์ วุฒิเจริญวงศ์. (2563). ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์โรงพยาบาลหนองวัวซอ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 28(1), 43-51.

ผาสุข กัลย์จารึก. (2560). ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ที่คลอดในโรงพยาบาลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 27(1), 22-33.

ระจิตร ชาครียวณิชย์. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยในเขตสุขภาพที่ 5. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 34(3), 1-17.

โรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ. (2566). รายงานประจำปี งานห้องคลอดโรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ 2563-2566. งานห้องคลอดโรงพยาบาลภูเขียวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชัยภูมิ.

วราภรณ์ ปู่วัง. (2563). ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ที่คลอดโรงพยาบาลหนองคาย. วารสารการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา, 3(1). 18-27.

ศิริฉัตร รองศักดิ์, ประนอม พูลพัฒน์, และมยุรัตน์ รักเกียรติ์ว. (2560). ภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์และคลอด ในโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 35(3), 39-47.

ศิรินภา แก้วพวง, วรรณี เดียวอิศเรศ, และวรรณทนา ศุภสีมานนท์. (2561). อิทธิพลของการรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ ความรู้ และทัศนคติต่อพฤติกรรมการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ของสตรีตั้งครรภ์. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 26(2), 57-66.

Aznam, A. E., & Inayati, L. (2021). Relationship between age and parity of pregnant women anemia incidences in mayangrejo. Jurnal Biometrika dan Kependudukan, 10(2), 130–137.

Cunningham, F., Leveno, K., Bloom, S., Spong, C. Y., & Dashe, J. (2014). Williams obstetrics (24th ed.). Mcgraw-Hill.

Daniel, W. W. (1995). Biostatistics: A foundation of analysis in health sciences (6th ed.). John Wiley & Sons.

Imai, K. (2020). Parity-based assessment of anemia and iron deficiency in pregnant women. Taiwanese Journal of Obstetrics and Gynecology, 59(6), 838-841.

Khezri, R., Salarilak, S., & Jahanian, S. (2023). The association between maternal anemia during pregnancy and preterm birth. Clinical nutrition ESPEN, 56, 13–17.

Launbo, N., Davidsen, E., Granich-Armenta, A., Bygbjerg, I. C., Sánchez, M., Ramirez-Silva, I., Avila-Jimenez, L., Christensen, D. L., Rivera-Dommarco, J. A., Cantoral, A., Nielsen, K. K., & Grunnet, L. G. (2022). The overlooked paradox of the coexistence of overweight/obesity and anemia during pregnancy. Nutrition, 99-100, 111650. https://doi.org/10.1016/j.nut.2022.111650

Lertprasopsuk, S., & Viriyasirivet, B. (2023). Prevalence and associated factors of anemia in different periods of pregnancy. Thai Journal of Obstetrics and Gynaecology, 31(1), 56-63.

Lin, L., Wei, Y., Zhu, W., Wang, C., Su, R., Feng, H., & Yang, H. (2018). Prevalence, risk factors and associated adverse pregnancy outcomes of anaemia in Chinese pregnant women: A multicentre retrospective study. BMC Pregnancy Childbirth, 18, 111. https://doi.org/10.1186/s12884-018-1739-8

Rahmati, S., Azami, M., Badfar, G., Parizad, N., & Sayehmiri, K. (2020). The relationship between maternal anemia during pregnancy with preterm birth: a systematic review and meta-analysis. The journal of maternal-fetal & neonatal medicine: the official journal of the European Association of Perinatal Medicine, the Federation of Asia and Oceania Perinatal Societies, the International Society of Perinatal Obstetricians, 33(15), 2679–2689.

Suryanarayana, R., Chandrappa, M., Santhuram, A. N., Prathima, S., & Sheela, S. R. (2017). Prospective study on prevalence of anemia of pregnant women and its outcome: A community based study. Journal of family medicine and primary care, 6(4), 739–743. https://doi.org/10.4103/jfmpc.jfmpc_33_17

Tian, Q., Chen, S., & Jiang, D. (2022). Effects of anemia during the third trimester of pregnancy on postpartum depression and pregnancy outcomes in pregnant women older than 35 years: a retrospective cohort study. Annals of palliative medicine, 11(3), 1048–1057.

Wawer, A. A., Hodyl, N. A., Fairweather-Tait, S., & Froessler, B. (2021). Are pregnant women who are living with overweight or obesity at greater risk of developing iron deficiency/anaemia?. Nutrients, 13(5), 1572. https://doi.org/10.3390/nu13051572

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-13