ปัญหาการใช้ยาของผู้ป่วยสูงอายุที่มีโรคเรื้อรังที่มารับบริการในคลินิกอายุรกรรมโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช

ผู้แต่ง

  • วัชราภรณ์ เปาโรหิตย์ วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ
  • ธัญรดี ปราบริปู วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ
  • กิตติยา มหาวิริโยทัย วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ
  • ฉัตรวารินทร์ บุญเดช โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช

คำสำคัญ:

ปัญหาการใช้ยา , ผู้ป่วยสูงอายุ , โรคเรื้อรัง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการใช้ยาและเปรียบเทียบปัญหาการใช้ยาของผู้ป่วยสูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง ที่มารับบริการในคลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยสูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง โดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายจำนวน 64 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามปัญหาการใช้ยาของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง มีค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.90 หาค่าความเที่ยงของเครื่องมือวิจัยโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.83 วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล โดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ เปรียบเทียบปัญหาการใช้ยาจำแนกตามสถานภาพสมรส ชนิดยาที่ใช้ และจำนวนโรค โดยใช้ t-test และจำแนกตามอายุโดยใช้สถิติ f-test

ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อายุ 60-69 ปี ร้อยละ 59.38 ระดับการศึกษาปริญญาตรี ร้อยละ 35.94 ไม่ได้ประกอบอาชีพ ร้อยละ 48.40 สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 79.70 จำนวนชนิดยาที่ใช้มากกว่า 5 ชนิด ร้อยละ 34.40 ปัญหาการใช้ยาที่พบเป็นประจำ เมื่อมาพบแพทย์ตามนัด ลืมนำยาที่ใช้ประจำที่เหลืออยู่ติดตัวมาด้วย ร้อยละ 48.40  การลืมรับประทานยาร้อยละ 25.00 เมื่อลืมรับประทานยา จะรีบรับประทานทันทีที่นึกได้ ร้อยละ 25.00 พบปัญหาบางครั้งคือลืมรับประทานยาบางมื้อ ร้อยละ 57.80 รู้สึกเบื่อหน่ายที่ต้องรับประทานยา 28 คน ร้อยละ 43.80 พบปัญหาน้อยมาก คือ รับประทานยาผิดขนาด ร้อยละ 96.90 และเพิ่มขนาดยารักษาประจำตัวบางอย่างเองเพื่อให้การรักษาได้ผลเร็ว ร้อยละ 96.90 เปรียบเทียบโดยจำแนกตามอายุพบว่าผู้สูงอายุที่อายุ 80 ปีขึ้นไป มีปัญหาการใช้ยามากกว่าอายุ  60-69 ปี และ 70-79 ปี (f=3.13, p<0.05) ผู้ที่อยู่ลำพังมีปัญหาการใช้ยามากกว่าผู้ที่อยู่กับคู่สมรส (t=2.19, p<0.05) ผู้ที่มีโรค 2 โรคขึ้นไปมีปัญหาการใช้ยามากกว่าผู้สูงอายุที่มีโรค 1-2 โรค (t=1.56, p<0.05) และผู้ที่ใช้ยา 2 ชนิดขึ้นไป มีปัญหาการใช้ยามากกว่าผู้ที่ใช้ยา 1-2 ชนิด (t=1.42, p<0.05) 

ข้อเสนอแนะ ผู้สูงอายุที่อายุ 80 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ตามลำพัง มีโรค 2 โรคขึ้นไป และใช้ยา 2 ชนิดขึ้นไปควรมีผู้ดูแลโดยการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการยาอย่างใกล้ชิด ร่วมกับการเยี่ยมบ้านและการกำกับติดตามการใช้ยา

References

กรมควบคุมโรค. (2565). รายงานประจำปี 2565 กองโรคติดต่อทั่วไป. https://ddc.moph.go.th/dcd/

กรมสวัสดิการผู้สูงอายุ. (2565). สถิติผู้สูงอายุ. https://www.dop.go.th/th/know/1

กฤษณาพร ทิพย์กาญจนเรขา, และสำลี สาลีกุล. (2562). บทบาทพยาบาลในการป้องกันและการจัดการกับการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมในผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลทหารบก, 20(1), 31-39.

จิริยา อินทนา, กนิพันธุ์ ปานณรงค์, หยาดชล ทวีธนาวณิชย์, ปาริชาต ญาตินิยม, และลิลิต ศิริทรัพย์จนันท์. (2564). การส่งเสริมการใช้ยาอย่างปลอดภัยในผู้สูงอายุ: แนวปฏิบัติสำหรับพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 4(1), 17-32.

ฉันทนา นาคฉัตรีย์, จีราพร ทองดี, ดาราวรรณ รองเมือง, กฤติยา ชาสุวรรณ, และเนตรนภา พันเล็ก. (2564). บทบาทพยาบาลในการดูแลผู้สูงอายุที่ใช้ยาร่วมกันหลายขนาน: กรณีศึกษา. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ, 4(2), 14-25.

ชมพูนุท พัฒนจักร. (2562). ความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยสูงอายุโรคเรื้อรัง ในเขตพื้นที่บริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลาดพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 16(3), 13-22.

ชื่นจิตร กองแก้ว, อุไรวรรณ ชัยชนะวิโรจน์, และชไมพร กาญจนกิจสกุล. (2557). รายงานวิจัย เรื่องการใช้ยาในผู้สูงอายุไทยเขตภาคเหนือตอนล่างประเทศไทย. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ประสบสุข ศรีแสนปาง. (2555). การรับรู้และการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังหลายโรค. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 35(4), 41-51.

ปวิช พากฏิพัทธ์, และสุณี เลิศสินอุดม. (2563). การใช้ยาอย่างเหมาะสมในผู้ป่วยสูงอายุ. https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=article_detail&subpage=article_detail&id=898

เพชรรัตน์ บัวเอี่ยม, สุทธิ เจริญพิทักษ์, สุคนธา ศิริ, และปรารถนา สถิตย์วิภาวี. (2561). ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหลายโรคในผู้สูงอายุ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี. [Poster presentation]. การประชุมวิชาการสาธารณสุขแห่งชาติ ครั้งที่ 16. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ. https://phep.ph.mahidol.ac.th/Present_Petcharat2018.pdf

เพ็ญนภา ศรีหริ่ง, หทัยรัตน์ สุขศรี, และทิพาพร กาญจนราช. (2553). ศึกษาปัญหาการใช้ยาของผู้ป่วยในการรักษาตนเองที่บ้านในเขตชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น. https://dric.nrct.go.th/index.php?/Search/SearchDetail/232392

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2563). เปิดสถานการณ์ “ผู้สูงวัย”ในอาเซียน พบผู้สูงอายุมีจำนวนมากร้อยละ 11 ของประชากรทั้งหมด. https://thaitgri.org/?p=39807

มลฤดี โพธิ์พิจารย์. (2560). เอกสารประกอบการสอนวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุการใช้ยาในผู้สูงอายุ. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

วัชราภรณ์ เปาโรหิตย์, สมพงษ์ แก้วพรรณา, ฉัตรวารินทร์ บุญเดช, และกิตติยา มหาวิริโยทัย. (2564). การศึกษาพฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วยสูงอายุโรคเรื้อรังที่มารับบริการที่คลินิกพิเศษอายุรกรรมโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 39(3), 52-60.

วาสนา นัยพัฒน์. (2553). ปัญหาสุขภาพ ปัญหาการใช้ยาและพฤติกรรมการใช้ยาของผู้สูงอายุในชุมชนบ้านพัก ข้าราชการ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. การพยาบาลและการศึกษา, 3(1), 2-14.

ศิรสา เรืองฤทธิ์ชาญกุล. (2561). การใช้ยาร่วมกันหลายขนานในผู้สูงอายุ. รามาธิบดีเวชสาร, 24(1), 96-97.

สุกฤตา มีตาทิพฐิ์. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ และจำนวนชนิดยากับปัญหาการใช้ยาของผู้ป่วยสูงอายุโรคเรื้อรังที่มารับบริการในคลินิกอายุรกรรม. วารสารพยาบาลทหารบก, 23(3), 504-511.

เอมอร ส่วยสม. (2563). พฤติกรรมการใช้ยาของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง. ชัยภูมิเวชสาร, 40(1), 6-13.

Best, J. W. (1981). Research in education (4th ed.). Prentice-Hall.

Bosch-Lenders, D., Maessen, D. W., Stoffers, H. E., Knottnerus, J. A., Winkens, B., & van den Akker, M. (2016). Factors associated with appropriate knowledge of the indications for prescribed drugs among community-dwelling older patients with polypharmacy. Age and ageing, 45(3), 402–408. https://doi.org/10.1093/ageing/afw045

Mira, J. J. (2019). Medication errors in the older people population. Expert review of clinical Pharmacology, 12(6), 491-494.

Ruscin, M. J., & Linnebur, S. A. (2021). Drug-related problems in older adults. MSD Manual. https://www.msdmanuals.com/professional/geriatrics/drug-therapy-in-older-adults/drug-related-problems-in-older-adults

Smeltzer, S. C., & Bare, B. G. (2004). Medical surgical nursing (10th ed.). Lippincott Williams & Wilkins.

Stegemann, S., Baeyens, J.-P., Cerreta, F., Chanie, E., Lofgren, A., Maio, M., Schreier, G., & Thesing-Bleck, E. (2012). Adherence measurement systems and technology for medications in older patient populations. European Geriatric Medicine, 3(4), 254-260. https://doi.org/10.1016/j.eurger.2012.05.004

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-07