การพัฒนารูปแบบการจัดการของครอบครัวในการส่งเสริมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่บ้าน ตำบลพิมาน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
คำสำคัญ:
รูปแบบ, ความสามารถ, ครอบครัว, การดูแลตนเอง, หญิงตั้งครรภ์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบและศึกษาผลลัพธ์ของรูปแบบการจัดการของครอบครัวในการส่งเสริมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่บ้าน แบ่งการศึกษาเป็น 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การสำรวจสภาพปัญหา วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและความต้องการของหญิงตั้งครรภ์และครอบครัว โดยสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 2 ออกแบบรูปแบบการจัดการของครอบครัวในการส่งเสริมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่บ้าน และทดสอบคุณภาพของรูปแบบฯ โดยการทดลองกับกลุ่มขนาดเล็ก จำนวน 10 คน และนำผลการทดลองมาปรับปรุงรูปแบบ ระยะที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบเป็นระยะเวลา 5 สัปดาห์ และระยะที่ 4 การประเมินผลรูปแบบ เป็นการศึกษากึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว วัดก่อนและหลังการทดลอง ระยะที่ 3 และ 4 กลุ่มตัวอย่างคือหญิงตั้งครรภ์และครอบครัวกลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง 2) แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของหญิงตั้งครรภ์ และ 3) แบบสอบถามความสามารถของครอบครัวในการส่งเสริมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา ได้ค่า 1.00, 1.00, 0.67 ตามลำดับ ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.87 และ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Paired t-test และวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการของครอบครัวในการส่งเสริมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่บ้าน ประกอบด้วย 2 ลักษณะ ได้แก่ 1) การดูแลโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวใช้คู่มือสำหรับครอบครัวในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่บ้าน 5 ด้าน 2) กรณีพบปัญหาขอรับคำปรึกษาจากหมอครอบครัวประจำชุมชน ผลการใช้รูปแบบพบว่า ภายหลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของหญิงตั้งครรภ์ และความสามารถของครอบครัวในการส่งเสริมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)
สรุปได้ว่า รูปแบบการจัดการของครอบครัวในการส่งเสริมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ สามารถนำไปวางแผนส่งเสริมพัฒนาความรู้ ความสามารถของบุคลากรในการให้คำแนะนำครอบครัวในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ โดยจัดทำคู่มือฉบับสมบูรณ์สำหรับครอบครัวในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่บ้านต่อไป
References
กรมอนามัย. (2565, 5 ธันวาคม). อัตราส่วนการตายมารดาไทยต่อการเกิดมีชีพแสนคน. ระบบสารสนเทศสนับสนุนด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. https://dashboard.anamai.moph.go.th/dashboard/mmr/index?year=2021
กวินฑรา ปรีสงค์. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเอง ของหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ โรงพยาบาลบางนา 5 จังหวัดสมุทรปราการ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเกริก.
กระทรวงสาธารณสุข. (2559, 25 พฤศจิกายน). สธ.ตั้งเป้าเพิ่มอายุเฉลี่ยคนไทย 80 ปี- กำหนดทุกสถานบริการขับเคลื่อน 7 เรื่องปี 60. Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ. https://www.hfocus.org/content/2016/11/13047
กาญจนา ศรีสวัสดิ์, ชุติมา ปัญญาพินิจนุกูร, และณัฐธิดา สอนนาค. (2556). พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 38(2), 95-97.
ตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี, สุพิศ ศิริอรุณรัตน์, พิริยา ศุภศรีนารีรัตน์, และบุญเนตรชรริน ขวัญเนตร. (2560). แบบจำลองเชิงสาเหตุคุณภาพชีวิตของหญิงตั้งครรภ์. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(1), 28-46.
ธนวัฒน์ ร่งศิริวัฒนกิจ. (2561). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเกริก.
นุชจรี อิ่มมาก. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง สัมพันธภาพระหว่างคู่สมรส การสนับสนุนทางสังคมกับความผาสุกทางจิตใจของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
น้ำผึ้ง กลิ่นด้วง. (2554). การศึกษาข้อมูลการตายของมารดาและทารกปริกำเนิดในเขตสาธารณสุข ที่ 4 และ 5. ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี. https://hpc.go.th/rcenter/_fulltext/20141103112648_2627/20141103112742_851.pdf
เบญจมาศ บุญเรืองขาว. (2550). การทำหน้าที่ของครอบครัวและศักยภาพการจัดการของครอบครัวในการส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ปาลิดา จันต๊ะคาด. (2555). พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ในคลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาล เชียงคํา อําเภอเชียงคํา จังหวัดพะเยา. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยพะเยา.
พิกุล อุทธิยา. (2557). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนที่บ้านต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
พัฒนา พรหมณี, ศรีสุรางค์ เอียมสะอาด, และปณิธาน กระสังข์. (2560). แนวคิดการสร้างและพัฒนารูปแบบเพื่อใช้ในการดำเนินงานด้านการสาธารณสุขสำหรับนักสาธารณสุข. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร, 6(2), 130-131.
ภาศินี สุขสถาพรเลิศ. (2555). ผลลัพธ์ของโปรแกรมการทำหน้าที่ของครอบครัวของมารดาวัยรุ่นหลังคลอด.[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
รภีพร ประกอบทรัพย์. (2541). การสนับสนุนทางสังคมจากสามี การสนับสนุนทางสังคมจากมารดาและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหิดล.
สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดสตูล. (2565). เอกสารประกอบการตรวจราชการ ประจำปี 2565.
อ้อมใจ พลกายา. (2559). การพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยใช้การมีส่วนร่วมของครอบครัวในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 25(3), 55-67.
อุมาพร ตรังคสมบัติ. (2554). จิตบำบัดและการให้คำปรึกษาครอบครัว (พิมพ์ครั้งที่ 6). ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุไรลักษณ์ อุ่นบุญเรือง, กฤษณา วุฒิสินธ์, และวรกร วิชัยโย. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ที่แผนกเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน โรงพยาบาลนามน อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 5(1), 56-57.
ฮัสณาฐ์ โต๊ะพา, เสาวคนธ์ ภักดี, และโสเพ็ญ ชูนวล.( 2561). การสำรวจการมีส่วนร่วมของสามีในการดูแลสตรีมุสลิมวัยรุ่นตั้งครรภ์. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 29(1), 125-132.
Frieman, M. M. (1998). Family nursing research: Theory and assessment (2nd ed.). Appleton Contory Crofts.
Keeves, J. (1997). Education research, methodology and measurement: An international handbook (2nd ed). Pergamon.
Orem, D. E. (1995). Nursing: Concepts of practice. Mosby-year book.
Orem, D. E. (2001). Nursing: Concepts and practice. (6th ed.). Mosby.
Tabachnick, B. G., & Fidell, L. S. (2007). Using multivariate statistics (5th ed.). Allyn and Bacon.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ก่อนเท่านั้น