ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มารับบริการ ณ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ เทศบาลนครนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • ลิลิต ศิริทรัพย์จนันท์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • ยุพาวรรณ ทองตะนุนาม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ความรู้ , ความรอบรู้ด้านสุขภาพโรคหลอดเลือดสมอง , คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

วิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง ความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ และความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครนนทบุรี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สูงอายุที่มารับบริการที่ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิต เทศบาลนครนนทบุรี จำนวน 80 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความรู้ แบบสอบถามความรอบรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง และแบบสอบถามคุณภาพชีวิต ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์ แอลฟ่าของ  ครอนบาคเท่ากับ 0.8, 0.94, 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และสถิติอ้างอิงความสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 77.5 เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 69 ปี โดยเป็นผู้สูงอายุตอนต้น คิดเป็นร้อยละ 49 ผู้สูงอายุตอนกลาง คิดเป็นร้อยละ 49  มีโรคประจำตัวคิดเป็นร้อยละ 60  โรคที่พบมากที่สุดคือโรคความดันโลหิตสูง คิดเป็นร้อยละ 32 ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีความรู้ ความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง และคุณภาพชีวิต อยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 67.5 ร้อยละ 70 และร้อยละ 83.8 ตามลำดับ และพบว่ามีเพียงความรอบรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง และคุณภาพชีวิตมีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 (r= .31 p= .05)

ข้อเสนอแนะ บุคลากรสุขภาพควรให้ความสำคัญและจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถควบคุมและป้องกันโรคได้ ซึ่งจะนำไปสู่การมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณภาพต่อไป

References

กิจปพน ศรีธานี. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนืองตอนกลาง. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 11(1), 26-36.

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง และดวงเนตร ธรรมกุล. (2558). การเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในประชากรผู้สูงวัย. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขวารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 9(2), 1-8.

จินตนา สุวิทวัส. (2560). การใช้กระบวนการพยาบาลในการบริหารยาเพื่อป้องกันอันตรกิริยาระหว่างอาหารกับยาแผนปัจจุบันในผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 37(1), 131-136.

เจษฎา นกน้อย และวรรณภรณ์ บริพันธ์. (2560). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 9(3), 94-105.

นิจศรี ชาญณรงค์. (2562, 4 เมษายน). คนไทยป่วยตายด้วยโรคหลอดเลือดสมองสูงเป็นอันดับ 1. Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ. https://www.hfocus.org/content/2019/04/17033

นิ่มนวล ชูยิ่งสกุลทิพย์, อรุณี ชาญชัย, ปิ่นนเรศ กาศอุดม และคณิสร แก้วแดง. (2559) คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตันหรืออุดตันที่เข้ารับการรักษาในหน่วยโรคหลอดเลือดสมองโรงพยาบาลระยอง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 27(2), 54-64.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2540). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. คณะสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.

เบญจมาศ สุรมิตรไมตรี. (2556). รายงานการศึกษาส่วนบุคคลเรื่องการศึกษาความฉลาดทางสุขภาพ (Health Literacy) และสถานการณ์การดำเนินงานสร้างเสริมความฉลาดทางสุขภาพของคนไทยเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ กระทรวงการต่างประเทศ.

พิศิษฐ์ ปาละเขียว, จันทร์จิรา ยานะชัย และศิริรัตน์ ผ่านภพ. (2566). ผลของโปรแกรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนแก้ว อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง. วารสารวิจัยสุขภาพโรงพยาบาลและชุมชน, 1(1), 15-25.

มุทิตา วรรณชาติ, สุธรรม นันทมงคลชัย, โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์ และพิมพ์สุรางค์ เตชะบุญเสริมศักดิ์. (2558). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง ในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, (ฉบับพิเศษ), 18-29.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2562). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2562. โรงพิมพ์เดือนตุลา.

ยุพาวรรณ ทองตะนุนาม. (2562). คู่มือการพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพ สำหรับบุคลากรสาธารณสุข: การส่งเสริมการดูแลตนเอง เฝ้าระวังโรคและป้องกันโรคของประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD: ACS, Stroke). สามชัย.

สำนักงานจังหวัดนนทบุรี. (2561). บรรยายสรุปจังหวัดนนทบุรี. กลุ่มยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อพัฒนาจังหวัด.

อภิเชษฐ์ จาเนียรสุข. (2560). คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังในอำเภอสีชมพูจังหวัดขอนแก่น. วารสารราชพฤกษ์, 15(2), 16-26.

อภินทร์พร วงษ์รัตนะ, จิตติ กิตติเลิศไพศาล และละมัย ร่มเย็น.(2559). คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร. วารสารบัณฑิตศึกษา, 13(63), 145-156

อุทุมพร ศรีเขื่อนแก้ว, อธิวัฒน์ เจี่ยวิวรรธน์กุล และสาวิตรี ทยานศิลป์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขความรอบรู้ด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่. MFU Connexion: Journal of Humanities and Social Sciences, 7(2), 76-95.

Johnson, W., Onuma, O., Owolabi, M., & Sachdev, S. (2016). Stroke: a global response is needed. Bulletin of the World Health Organization, 94(9), 634–634A. https://doi.org/10.2471/BLT.16.181636

Nutbeam, D. (2000). Health literacy as a public health goal: a challenge for contemporary Health education and communication strategies into 21th century. Health Promotion International, 15(3), 259-267. https://doi.org/10.1093/heapro/15.3.259

Suka, M., Odajima, T., Okamoto, M., Sumitani, M., Igarashi, A., Ishikawa, H., Kusama, M., Yamamoto, M., Nakayama, T., & Sugimori, H. (2015). Relationship between health literacy, health information access, health behavior, and health status in Japanese people. Patient education and counseling, 98(5), 660–668. https://doi.org/10.1016/j.pec.2015.02.013

Thorndike, R. M. (1978). Correlation procedures for research. Gardner Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29