ผลของโปรแกรมการป้องกันโรคติดต่อนำโดยยุงลายต่อความรู้และพฤติกรรมในนักเรียนแกนนำชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
โปรแกรมการป้องกันโรคติดต่อนำโดยยุงลาย , ความรู้, พฤติกรรม, นักเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการป้องกันโรคติดต่อนำโดยยุงลายต่อความรู้และพฤติกรรมในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนแกนนำชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ โปรแกรมการป้องกันโรคติดต่อนำโดยยุงลายที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เก็บรวบรวมข้อมูลวัดผลก่อนและหลังได้รับโปรแกรมโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความรู้ในการป้องกันโรคติดต่อนำโดยยุงลาย แบบสอบถามพฤติกรรมในการป้องกันโรคติดต่อนำโดยยุงลาย วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความรู้และพฤติกรรมในการป้องกันโรคติดต่อนำโดยยุงลายด้วยสถิติเชิงอนุมาน Wilcoxon signed rank Test สำรวจและบันทึกการสำรวจลูกน้ำยุงลายด้วยตนเองก่อนและหลังการให้โปรแกรม 2 ครั้ง
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ในการป้องกันโรคติดต่อนำโดยยุงลาย และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดต่อนำโดยยุงลายสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) โดยค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ในการป้องกันโรคติดต่อนำโดยยุงลายก่อนและหลังได้รับโปรแกรมเท่ากับ 4.2±2.7 และ 13.6±0.5 ตามลำดับ และพฤติกรรมในการป้องกันโรคติดต่อนำโดยยุงลายก่อนและหลังได้รับโปรแกรมเท่ากับ 1.8±0.2 และ 2.6±0.1 ตามลำดับ นอกจากนี้ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายที่ผู้วิจัยเป็นผู้สำรวจด้วยตนเองภายหลังนักเรียนได้รับโปรแกรม 2 ครั้งมีค่าลดลง โดยก่อนการให้โปรแกรม อยู่ในระดับความเสี่ยงสูง (HI=100, BI=850 และ CI=100) หลังการให้โปรแกรม 4 สัปดาห์ พบค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายลดลงแต่ยังคงอยู่ในระดับความเสี่ยงสูง (HI=50, BI=200 และ CI=23.5) และหลังการให้โปรแกรม 20 สัปดาห์อยู่ในระดับความเสี่ยงต่ำ (HI=0, BI=0 และ CI=0)
โปรแกรมการป้องกันโรคติดต่อนำโดยยุงลายที่พัฒนาขึ้น สามารถเพิ่มความรู้และพฤติกรรมในการป้องกันโรคติดต่อนำโดยยุงลายให้แก่นักเรียนแกนนำที่เข้าร่วมโปรแกรมการป้องกันโรคติดต่อนำโดยยุงลาย
References
กรมควบคุมโรค, กองโรคติดต่อนำโดยแมลง. (2562). แนวทางและมาตรฐานการสำรวจลูกน้ำยุงลายเพื่อการเฝ้าระวังโรคติดต่อนำโดยยุงลาย. https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor2/lavaservay_manual.pdf
กานต์พิชชา ยะนา, ปรีย์กมล รัชนกุล, และวนลดา ทองใบ. (2557). ผลของการใช้แผนปฏิบัติการที่พัฒนาจากกระบวนการเอไอซี ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของเด็กในสถานสงเคราะห์ และดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลาย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 22(3), 408-418.
จิรายุทธิ์ อ่อนศรี. (2561). การพัฒนาแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้สู่การปฏิบัติในศตวรรษที่ 21 ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Bloom (Bloom’s Taxonomy). http://www.nwm.ac.th/nwm/wp-content/uploads/2018/07/การพัฒนาแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้สู่การปฏิบัติในศตวรรษที่-21.pdf
เทศบาลเมืองเขลางค์นคร, กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม, งานป้องกันและควบคุมโรค. (2565). สถิติข้อมูลโรคติดต่อนำโดยยุงลาย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 6). สุวีริยาสาส์น.
ปะการัง ศรีมี, สุนิสา สงสัยเกตุ, ปติญญา อิศรางกูร ณ อยุธยา, และรัตน์ติพร โกสุวินทร์. (2564). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพที่ประยุกต์ส่วนผสมการตลาดเชิงสังคมต่อความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก. วารสารควบคุมโรค, 47(2), 1330-1340.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง, กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ. (2565). ข้อมูลโรคติดต่อนำโดยยุงลาย.
สำนักอนามัย, กองควบคุมโรคติดต่อ, กลุ่มงานควบคุมสัตว์และแมลงนำโรค. (2563). คำชี้แจงการดำเนินงานเรื่องโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2563.
สุวรรณา เชียงขุนทด, ชนิดา มัททวางกูร, กุลธิดา จันทร์เจริญ, เนตร หงส์ไกรเลิศ, นารี รมย์นุกุล, ฐิติมา อุดมศรี, และสมหญิง เหง้ามูล. (2556). รายงานการวิจัยเรื่องความรู้และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนภาษีเจริญ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), ศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยสยาม.
หาญณรงค์ แสงแก. (2558). ผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการป้องกันและควบคุมไข้เลือดออกของแกนนำครัวเรือน ตำบลเมืองไผ่ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร, 10(1), 65-81.
Bloom, B. S., Engelhart, M. D., Furst, E. J., Hill, W. H., & Krathwohl, D. R. (1956). Taxonomy of educational objectives, handbook I: The cognitive domain. David McKay.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ก่อนเท่านั้น