การพัฒนารูปแบบการจัดการโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบึงมะลู ตำบลบึงมะลู อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ผู้แต่ง

  • อนุพันธ์ สุวรรณพันธ์ สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

การจัดเมนูอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก, พฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กปฐมวัย, ภาวะโภชนาการของเด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

งานวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ พัฒนารูปแบบ และผลของการพัฒนารูปแบบการจัดการโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบึงมะลู ตำบลบึงมะลู อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 กลุ่มเป้าหมายมี 2 กลุ่ม คือ บุคลากรที่เกี่ยวข้อง 16 คน และเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 63 คน ดำเนินการ 1 วงรอบ 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกต และสะท้อนผลการปฏิบัติ ในเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2565 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต สนทนากลุ่ม ประเมินผลการพัฒนาจากการจัดเมนูอาหารของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  พฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กปฐมวัย และภาวะโภชนาการ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้ความถี่ ร้อยละ ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ นำมาจัดหมวดหมู่ และสรุปประเด็นสำคัญ

ผลการศึกษา พบว่าในช่วงที่ไม่ได้มีการระบาดของโรคโควิด-19 ได้มีการจัดการโภชนาการโดยมีการจัดอาหารกลางวันและอาหารว่างบ่าย การจัดเมนูยังไม่ได้ตามเกณฑ์ พฤติกรรมบริโภคของเด็กยังไม่เหมาะสมและมีภาวะทุพโภชนาการ ส่วนช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 มีการเบิกจ่ายงบประมาณอาหารให้ผู้ปกครองให้ไปบริหารจัดการเอง จึงได้ร่วมกันพัฒนากับผู้เกี่ยวข้องจนได้รูปแบบ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) ร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียวิเคราะห์สถานการณ์ทั้งก่อนและขณะที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 2) การวางแผนร่วมกันโดยประชุมเชิงปฏิบัติการ 3) ดำเนินกิจกรรมที่ได้จากการวางแผน และ 4) การติดตามประเมินผล ผลจากการพัฒนารูปแบบพบว่าการจัดเมนูอาหารได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน พฤติกรรมการบริโภคมีการรับประทานอาหารหลักเพิ่มจากร้อยละ 38.3 เป็น 91.7 ส่วนภาวะโภชนาการมีเด็กที่สมส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 61.90 เป็นร้อยละ 76.67 อย่างไรก็ตามพบว่ามีระยะเวลาดำเนินกิจกรรมจำกัด จึงควรมีการติดตามต่อเนื่อง รวมทั้งควรมีการวางแผนจัดการโภชนาการเป็นรายบุคคล และเชื่อมต่อกับผู้ปกครองในชุมชนในวงรอบการพัฒนาต่อไป

References

กระทรวงสาธารณสุข, กรมควบคุมโรค. (2564). สถานการณ์ผู้ป่วย COVID-19 ตามพื้นที่ รายสัปดาห์.

https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/?dashboard=province

กระทรวงสาธารณสุข, กรมอนามัย, สำนักโภชนาการ. (2558). การใช้มาตรฐานการเจริญเติบโตขององค์การอนามัยโลก ปี ค.ศ. 2006 ในทารกแรกเกิด – 5 ปี. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จิรารัตน์ พร้อมมูล, ตรีทิพย์ เครือหลี, ชุติมา เพิงใหญ่, และวิภารัตน์ สุวรรณไวพัฒนะ. สถานการณ์ภาวะโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียน โดยมีครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วม ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 6(3), 169-185.

ทวีศักดิ์ ปิ่นทอง, ภัทรภร เจริญบุตร และนพรัตน์ ส่งเสริม. (2563). ผลของโปรแกรมการจัดการอาหารและโภชนาการแก่เด็กวัยก่อนเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตำบลไร่น้อย จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 9(2), 137-147.

บุญชอบ เกษโกวิท และทรงพล ตั้งศรีไพร. (2560). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กวัยก่อนเรียนในพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี. วารสารกรมการแพทย์, 42(6), 129-134.

มัณฑนี แสงพุ่ม, เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย และสาวิตรี ลิ้มชัยอรุณเรือง. (2553). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้ปกครองมุสลิมในการส่งเสริมภาวะโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียนในจังหวัดปัตตานี. วารสาร AL-NUR บัณฑิตวิทยาลัย, 5(9), 97-103.

มูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. (2557). โครงการสำรวจการจัดการอาหารและโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. สำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

ยุวนิดา อารามรมย์ และวรินทร์ลดา จันทวีเมือง. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการด้านอาหารและโภชนาการโดยใช้แนวทางอาหารของแม่ในเด็กวัยก่อนเรียน ตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 6(2), 199-213.

วิชัย เอกพลากร (บรรณาธิการ). (2557). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 ฉบับสุขภาพเด็ก พ.ศ. 2557. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

ศิริวรรณ สุขกำเนิด, อฑิภา อมรปิยภากร, พัชรี รัตนพงษ์, อรอนงค์ รองสวัสดิ์ และอับดุลฮาหมัด โส๊ะหน่าย. การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการด้านอาหารและโภชนาการโดยใช้แนวทางอาหารของแม่ในชุมชนตำบลนาทวีนอก จังหวัดสงขลา. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์, 12(2), 97-113.

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ. (2562). คู่มือการใช้งานระบบออนไลน์ KidDiary School. อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย.

สมสิริ รุ่งอมรรัตน์, อาภาวรรณ หนูคง, ณัฐธิรา ไกรมงคล และรุ่งรดี พุฒิเสถียร. (2560). การนำแนวทางการส่งเสริมโภชนาการไปใช้ในเด็กก่อนวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. วารสารสภาการพยาบาล, 32(4), 120-33.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ. (2564). เส้นทางสู่โภชนาการสมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กด้วยตนเอง. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ, สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย และองค์การยูนิเซฟ. (2563). ผลกระทบของโควิด-19 ต่อครอบครัวเปราะบาง: ครอบครัวที่มีเด็กเล็ก. UNICEF Thailand. https://www.unicef.org/thailand/media/6206/file/COVID-19%20Impact%20on%20young%20children.pdf

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. (2564). แบบประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารเด็ก 1-5 ปี. https://nutrition2.anamai.moph.go.th/th/book/206999

Jeffrey, D. S., Christian, K. l. Guillaume, L., Grayson, F., & Finn, W. (2021). Sustainable development report 2021. Cambridge University Press.

Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planner (3rd ed.) Deakin University.

UNICEF, World Health Organization, and World Bank Group. (2021). Levels and trends in child malnutrition: UNICEF/WHO/The World Bank Group joint child malnutrition estimates: key findings of the 2021 edition. World Health Organization. https://www.who.int/publications/i/item/9789240025257

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29