ผลของโปรแกรม E-Nurse ต่อประสิทธิผลการรับและส่งเวรทางการพยาบาลโรงพยาบาลจิตเวชแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • สมเกียรติ สุทธรัตน์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม

คำสำคัญ:

โปรแกรม E-Nurse , การรับและส่งเวร , โรงพยาบาลจิตเวช

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบการศึกษากลุ่มเดียว วัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรม E-Nurse ต่อประสิทธิผลการรับและส่งเวรทางการพยาบาลโรงพยาบาลจิตเวชแห่งหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานที่หอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลจิตเวชแห่งหนึ่ง โดยการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1. แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2. แบบสอบถามประสิทธิผลการรับและส่งเวรทางการพยาบาล และ 3. แบบสอบถามความพึงพอใจหลังการใช้โปรแกรม โดยมีความตรงเชิงเนื้อหา (content validity) ของแบบสอบถามที่ 2 และ 3 อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 มีค่าความเชื่อมั่น (reliability) เท่ากับ .81 และ .83 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและ Paired sample t-test

ผลการวิจัย พบว่าคะแนนประสิทธิผลการรับและส่งเวรทางการพยาบาลภายหลังใช้โปรแกรม  E-Nurse อยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.52, SD = 0.28) และสูงกว่าก่อนใช้โปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้คะแนนความพึงพอใจหลังการใช้โปรแกรมดังกล่าว โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M = 4.01, SD = 0.43)

ผลการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรม E-Nurse มีประสิทธิผลช่วยทำให้สามารถวางแผนให้การดูแลผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม ดังนั้นโรงพยาบาลจิตเวชแห่งอื่น สามารถนำโปรแกรมนี้ไปเป็นแนวทางในการพัฒนาการรับและส่งเวรทางการพยาบาลให้สอดคล้องกับบริบทของแต่ละโรงพยาบาล

References

จรรยา กาวีเมือง. (2558). การพัฒนาคุณภาพการรับส่งเวรทางการพยาบาลในหอผู้ป่วยหนัก อายุรกรรม 3 โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่. [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จิรัชยา เหล่าเขตร์กิจ, อารีรัตน์ ขำอยู่ และเขมารดี มาสิงบุญ. (2561). ปัจจัยทํานายความสามารถในการตัดสินใจของพยาบาลหัวหนาเวรโรงพยาบาลเอกชน. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 26(2), 49-56.

ชณิภาดา ชินอุดมพงศ์. (2550). ผลของโปรแกรมการส่งเวรด้วยการจัดการแบบลีนของพยาบาลวิชาชีพ ในหออภิบาลผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร.[วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

ณัฐวดีี ชำปฏิ และเบญจภรณ์ ต้นจาน. (2565). ประสิทธิิผลและความพึงพอใจของการจัดการส่งเวรด้วยรููปแบบ SBAR ในระบบ HIS ของพยาบาลวิิชาชีพในแผนกผู้ป่วยวิกฤตโรงพยาบาลกรุงเทพขอนแก่น. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 19(3), 41-52.

เดชชัย โพธิ์กลิ่น. (2559). ประสิทธิิผลของการจัดการการส่งเวรด้วยโมเดลเอสบาร์์ที่่แผนกผู้ป่วยหนักของ โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. วารสารมหาวิิทยาลัยคริสเตียน, 22(4), 484-496.

ภาณุ อดกลั้น. (2554). หลักในการรับ-ส่งเวร สำหรับนักศึกษาพยาบาล. https://www.gotoknow.org/posts/462569.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น. (2558). แบบประเมินประสิทธิภาพในการพัฒนาซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์แผนกวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ. https://www.kkc.rmuti.ac.th/2017

โรงพยาบาลจิตเวชนครพนมราชนครินทร์. (2565). วิสัยทัศน์ พันธกิจโรงพยาบาลจิตเวชนครพนมราชนครินทร์. https://www.jvnkp.go.th/วิสัยทัศน์พันธกิจ.

ลัดดา มีจันทร์, อภิรดี นันท์ศุภวัฒน์ และเพชรสุนีย์ ทั้งเจริญกุล. (2563). การพัฒนาคุณภาพการรับส่งเวรทางการพยาบาล หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลอุตรดิตถ์. พยาบาลสาร, 47(2), 394-405.

Australian Commission on Safety and Quality in Health Care. (2012). National Safety and Quality Health Service Standards. https://www.safetyandquality.gov.au/sites/default/files/migrated/NSQHS-Standards-Sept-2012.pdf

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences. (2nd ed.). Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.

Currie, J. (2002). Improving the efficiency of patient handover. Emergency Nurse, 10(3), 24-27.

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39(2), 175-191.

Griffiths, P., & Renz, A. (2014). Improving patient safety during handover of nursing care: a mixed method synthesis of the evidence. International Journal of Nursing Studies, 51(1), 133-142. https://doi.org/10.1016/j.ijnurstu.2013.04.015.

Hansten, R. (2003). Streamline change-of-shift report. Nursing Management, 34(8), 58-59.

Hospital & Health Network. (2008). Patient handoffs. http://www.hhnmag.com/hhnmag_app./jsp/articledisplay

McFetridge, B., Gillespie, M., & Goode, D. (2012). Sharing the care: The key components of nursing handover at the bedside. Journal of Clinical Nursing, 21(21-22), 3221-3227.

Patton, K. A. (2007). Hand off communication safe transition in patient care: The hand off communication goal. https://shorturl.asia/OY6Lq.

Patton, M. Q. (2015). Qualitative research and evaluation methods. Sage.

Potter, P.A. & Perry, A.G. (2005). Fundamental of nursing (6th ed.). Mosbyin practice. http://library.cnmv.edu.ng/wpcontent/uploads/2019/01/Potter-Perry-Fundamental-of-Nursing.pdf

Smeulers, M., Lucas, C., Vermeulen, H., & Van der Hoeven, J. G. (2014). Clinical handover and patient safety in anaesthesia: A systematic review. Anaesthesia, 69(3), 326-335.

Teng, C. I., Shyu, Y. I. L., Chiou, W. K., Fan, H. C., Lam, S. M., & Tsai, W. C. (2010). Patient outcomes following nurse‐to‐nurse handover: A systematic review. Journal of clinical nursing, 19(23‐24), 3301-3313.

The Joint Commission. (2018). Sentinel Event Alert Issue 58: Inadequate hand-off communication. https://www.jointcommission.org/sea_issue_58/

Wallace, T. E. (2005). Preventing fatalities--Effective critical communication handoffs (audioconference). Joint Communication Resources.

Wong, M.C., Yee, K.C., & Turner, P. (2018). Nurses' handover: A review of the literature. International Journal of Nursing Studies,77, 149-162. https://doi.org/10.1016/j.ijnurstu.2017.10.017.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29