องค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนะการดำเนินงานควบคุมโรควัณโรคในชุมชน ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดเพชรบุรี
คำสำคัญ:
สมรรถนะ, โรควัณโรค , อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนะการดำเนินงานควบคุมโรควัณโรคในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ อสม. ที่ปฏิบัติงานในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี จำนวน 380 คน ใช้วิธีสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นของ อสม.ต่อสมรรถนะการดำเนินงานควบคุมโรควัณโรคในชุมชนของ อสม. จังหวัดเพชรบุรี ได้ค่าความตรงเชิงเนื้อหา ระหว่าง .67 – 1.00 ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis : EFA) สกัดปัจจัยด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบหลักใช้วิธีหมุนแกนองค์ประกอบแบบออโธโกนอลด้วยวิธีแวริแมกซ์
ผลการวิจัยพบว่าองค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนะการดำเนินงานควบคุมโรควัณโรคในชุมชนของ อสม. จังหวัดเพชรบุรี ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 37 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย 1) สมรรถนะการสร้างความเข้าใจและความร่วมมือ 12 ตัวบ่งชี้ 2) สมรรถนะการให้ความรู้และคำปรึกษา 7 ตัวบ่งชี้ 3) สมรรถนะการติดตามการกินยา 9 ตัวบ่งชี้ 4) สมรรถนะการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสัมผัส 6 ตัวบ่งชี้ และ 5) สมรรถนะการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคปอด 3 ตัวบ่งชี้ โดยมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง .50 - .76 สามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวบ่งชี้ ได้ร้อยละ 66.88
สมรรถนะการดำเนินงานควบคุมโรควัณโรคในชุมชนตามบทบาท อสม. ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการประเมินสมรรถนะ อสม. และออกแบบกลวิธีการพัฒนาศักยภาพในการดำเนินงานควบคุมโรควัณโรคในชุมชนของ อสม. ได้อย่างเป็นรูปธรรมและสอดคล้องกับบริบทของชุมชน
References
กรมบัญชีกลาง. (2565). e- Social Welfare ระบบบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม. https://govwelfare.cgd.go.th/welfare-web/login
กระทรวงสาธารณสุข, กรมควบคุมโรค. (2561). แนวทางการป้องกันควบคุมวัณโรคและโรคติดต่อที่พบบ่อยในสถานศึกษา. อาร์ต ควอลิไฟท์.
กระทรวงสาธารณสุข, กรมควบคุมโรค, กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. (2563). แนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมวัณโรคในบุคลากรที่ปฏิบัติงานของสถานพยาบาล. กระทรวงสาธารณสุข.
กระทรวงสาธารณสุข, กรมควบคุมโรค, กองวัณโรค. (2564). แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2564. อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์
กระทรวงสาธารณสุข, กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2562). คู่มือ อสม. หมอประจำบ้าน. กระทรวงสาธารณสุข.
กระทรวงสาธารณสุข, สำนักวัณโรค. (2552). คู่มืออบรม แนวทางมาตรฐานการดำเนินงานควบคุมวัณโรคสำหรับคลินิกวัณโรค. กระทรวงสาธารณสุข.
กระทรวงสาธารณสุข, กลุ่มระบาดวิทยาและตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน. (2564ก). รายงานสถานการณ์และการเฝ้าระวังวัณโรคประเทศไทย. https://www.tbthailand.org/download/form/รายงานสถานการณ์วัณโรคเดือนมีนาคม.pdf
กระทรวงสาธารณสุข, กลุ่มระบาดวิทยาและตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน. (2564ข). รายงานสถานการณ์และการเฝ้าระวังวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก (Extensively drug-resistant TB:XDR-TB). https://www.tbthailand.org/statustb.html
เจนจิรา ปันแก้ว, มนทกานต์ โอประเสริฐสวัสดิ์ และฤทธิรงค์พันธ์ดี. (2564). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมวัณโรคในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และผู้ดูแลผู้ป่วยวัณโรค ตำบล แม่ตาว อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 14(3), 35-48.
เฉวตสรร นามวาท, สุธาสินี คำหลวง, นัยนา ประดิษฐ์สิทธิกร, ยงเจือ เหล่าศิริถาวร, ศศิธันว์ มาแอเคียน, วิธัญญา ปิณฑะดิษ, จุฑาพัฒน์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต, ผดารณัช พลไชยมาตย์ และอรพรรณ โพธิหัง. (2560). ความคุ้มค่าการลงทุนเพื่อยุติปัญหาวัณโรคในประเทศไทย: การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลได้ : รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
ชูเดช เรือนคำ. (2561). การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขในการคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคในชุมชนอ้าเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก, 6(1), 48-61.
ดวงขวัญ รุ่งเพ็ชรวงศ์. (2564). ผลการคัดกรอง การคัดกรองซ้ำและปัจจัยต่อการติดเชื้อวัณโรคในกลุ่มนักเรียนผู้สัมผัสผู้ป่วยวัณโรคในสถานศึกษาแห่งหนึ่ง ในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารการแพทย์และสาธารณสุขเขต 4, 12(1), 55-67.
บุญยัง ฉายาทับ. (2557). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดด้วยการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำทัณฑสถาน. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
พชรพร ครองยุทธ, เจษฎา สุราวรรณ์, สุภควดี ธนสีลังกูร และปัทมา ล้อพงค์พานิชย์. (2564). ปัจจัยที่มีความ สัมพันธ์กับอัตราความสำเร็จของการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอด ในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 14(3), 138-148.
ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน พ.ศ. 2554. (2554, 20 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 128 ตอนพิเศษ 33 ง. หน้า 1-10.
วันชัย เหล่าเสถียรกิจ. (2562). การพัฒนาและการประเมินผลรูปแบบการกำกับติดตามการกินยาของผู้ป่วยวัณโรคเสมหะพบเชื้อรายใหม่ ในจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารกรมการแพทย์, 44(2), 1-8.
สำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ. (2563, 6 มิถุนายน). อสม. มดงานในระบบสุขภาพไทย. https://hrdo.org/อสม-มดงานในระบบสุขภาพไท/
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี. (2565). สรุปผลการดำเนินงานโรควัณโรคจังหวัดเพชรบุรี. เอกสารอัดสำเนา.
เอกพันธ์ คำภีระ, สุมาลี เลิศมัลลิกาพร และอะเคื้อ อุณหเลขกะ. (2564). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำาหมู่บ้านในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคปอดในชุมชน วารสารพยาบาลสาร, 48(1), 174-186.
Choowong, J., Sawatdee, D., Maneechote, P., & Tulyakul, P. (2020). The Development of Village Health Volunteers’ Competencies for Tuberculosis Care in Trang Province, Thailand. Global Journal of Health Science, 12(9), 30-37.
Hair, F. J., Black, C. W., Babin, J. B., & Anderson, E. R. (2019). Multivariate Data Analysis (8th ed). Pearson Education.
Jeffree, M. S., Ahmedy, F., Ibrahim, M. Y., Awang Lukman, K., Ahmed, K., Giloi, N., Naing, D. K. S., & Yusuff, A. S. (2020). A training module to empower marginalised Northern Borneo islanders for tuberculosis control. Journal of public health research, 9(3), 1757. https://doi.org/10.4081/jphr.2020.1757
Sasida, T., Alfes, K., & Shantz, A. (2016). Volunteer role mastery and commitment: can HRM make a difference?. The International Journal of Human Resource Management. 2062-2084. doi.org/10.1080/09585192.2015.1126335
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ก่อนเท่านั้น