การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องในผู้ป่วยเรื้อรังประเภทเตียง 3 และเตียง 4 เครือข่ายโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • นิ่มนวล โยคิน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย
  • กิตติพร เนาว์สุวรรณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง , ผู้ป่วยเรื้อรังประเภทเตียง 3 และเตียง 4

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสถานการณ์การดูแล  พัฒนารูปแบบการดูแล และศึกษาผลลัพธ์ของรูปแบบการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องในผู้ป่วยเรื้อรัง ประเภทเตียง 3 และ เตียง 4 เครือข่ายโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่  ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์การดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องในผู้ป่วยเรื้อรัง ประเภทเตียง 3 และ เตียง 4 จากทีมสหวิชาชีพ 22 คน โดยการสนทนากลุ่มและวิเคราะห์เนื้อหา  ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องในผู้ป่วยเรื้อรังประเภทเตียง 3 และเตียง 4  และระยะที่ 3 ศึกษาผลลัพธ์ของรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงเป็นผู้ป่วยเรื้อรังที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 22 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบประเมินระดับความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานของผู้ป่วย และแบบสอบถามการรับรู้ภาวะสุขภาพ  ค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67 – 1.00 และค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์ แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ 0.82, 0.78 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติ Wilcoxon Matched – pairs Signed rank test และ สถิติ Dependent t-test

ผลการวิจัยพบว่าสถานการณ์ปัญหาการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังประเภทเตียง 3 และเตียง 4 คือ ศักยภาพทีมดูแล ระบบการติดตามเยี่ยม การมีส่วนร่วมของเครือข่าย การสนับสนุนการดูแลตนเอง และการสนับสนุนทางสังคม โดยรูปแบบการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องในผู้ป่วยเรื้อรัง ประเภทเตียง 3 และ เตียง 4 เครือข่ายพระยุพราชท่าบ่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ประกอบด้วย 1) การพัฒนาศักยภาพของทีมดูแล 2) การติดตามเยี่ยม 3) การพัฒนาการมีส่วนร่วมของเครือข่ายดูแล 4) การสร้างเสริมพลังให้ผู้ป่วยเรื้อรัง และ 5)  การสนับสนุนทางสังคม ผลลัพธ์การใช้รูปแบบ พบว่าผู้ป่วยเรื้อรัง ประเภทเตียง 3 และ เตียง 4 มีคะแนนความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานและคะแนนการรับรู้ภาวะสุขภาพเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

ข้อเสนอแนะ การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังอย่างต่อเนื่อง ควรมีการเชื่อมต่อระบบการดูแลแบบไร้รอยต่อในทีมสหวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังประเภทเตียง 3 และเตียง 4 ในเครือข่าย เพื่อให้ระบบการดูแลมีคุณภาพเป็นแนวทางเดียวกัน

References

กองการพยาบาล. (2557). เกณฑ์คุณภาพงานเยี่ยมบ้าน. กองการพยาบาล.

กองสถิติสังคม. (2565). การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2564. สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

กรมควบคุมโรค, กองโรคไม่ติดต่อ. (2566, 12 มกราคม). จำนวนและอัตราตายด้วย 5 โรคไม่ติดต่อ (NCD) ปี 2559-2563.

http://www.thaincd.com/2016/mission/documents-detail.php?id=14220&tid=32&gid=1-020

กาญจนา ปัญญาธร, เพชรา ทองเผ้า, มณีรัตน์ ปัจจะวงษ์, สุกัลยาณี สิงห์สัตย์ และจิราวรรณ บรรณบดี. (2564). สถานการณ์ปัญหาและความต้องการในการดูแลผู้สูงอายุป่วยเรื้อรังติดเตียง ในช่วงที่มีการระบาดของ โรคโควิด-19 ของชุมชนจังหวัดอุดรธาน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 40(1), 16 -25.

จุฑาทิพย์ งอยจันทร์ศรี และอรสา กงตาล. (2555). การพัฒนาการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องสำหรับผู้สูงอายุ กลุ่มติดบ้านติดเตียงในชุมชนเขตเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์. ใน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น, รวมบทคัดย่อการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 13 (หน้า 658-659). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ณิสาชล นาคกุล. (2561). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังกลุ่มติดบ้าน ติดเตียง ในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 28(3), 36-50.

เยาวลักษณ์ ทวีกสิกรรม, ปริญดา ศรีธราพิพัฒน์ และมณีรัตน์ พราหมณี. (2558). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะพึ่งพาในเขตอำเภอมโนรมณ์ จังหวัดชัยนาท. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 24(3), 104 – 118.

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ. (2564). รายงานการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ.

Berkman, L. F., & Glass, T. (2000). Social integration, social network, and health in L. F. Berkman & I. Kawachi (Eds.), Social epidemiology (pp. 158-162). Oxford University Press.

Orem, D.E., Taylor, S.G., & Renpenning, K. M. (2001) Nursing: Concepts of Practice (6th ed.). Mosby.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29