การพยาบาลมารดาหลังคลอดที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับเลือดเนื่องจากภาวะตกเลือดหลังคลอด:

กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • ชัชฎาพร จันทรสุข วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • รุ้งนภา ปรากฏดี โรงพยาบาลสุรินทร์

คำสำคัญ:

การพยาบาล, การตกเลือดหลังคลอด , มารดาหลังคลอด , กรณีศึกษา

บทคัดย่อ

การศึกษารายกรณีมารดาหลังคลอดนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินการของโรค และแนวทางการดูแลมารดาหลังคลอดที่มีภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะช็อค และแนวทางการให้เลือด โดยกรณีศึกษาเป็นมารดาหลังคลอดวัยเจริญพันธ์ การวินิจฉัยโรคเป็นภาวะตกเลือดหลังคลอด มีภาวะแทรกซ้อน คือ มีภาวะปริมาณเลือดไหลเวียนมากเกินในระบบไหลเวียนหลังได้รับเลือด (TACO) และภาวะปอดได้รับอันตรายหรืออักเสบหลังได้รับเลือดเฉียบพลัน (TRALI) มารดาหลังคลอดได้รับการดูแลตามกระบวนการพยาบาล และการประเมินสุขภาพของมารดาหลังคลอดตามมาตรฐานการดูแลมารดาหลังคลอด

ผลการศึกษารายกรณี พบปัญหาทางการพยาบาล ได้แก่ ภาวะช็อคจากการตกเลือด ภาวะพร่องออกซิเจน มีภาวะปริมาณเลือดไหลเวียนมากเกินในระบบไหลเวียนหลังได้รับเลือด (TACO) และภาวะปอดได้รับอันตรายหรืออักเสบหลังได้รับเลือดเฉียบพลัน (TRALI) กรณีศึกษาได้รับการพยาบาลตามแนวปฏิบัติในการพยาบาลการตกเลือดหลังคลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การบริหารสารน้ำ การให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก และการให้เลือดตามแผนการรักษาและเฝ้าระวังอาการผิดปกติอย่างใกล้ชิดใช้ระยะเวลาในการรักษา 8 วัน (ตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2565 ถึง 24 มีนาคม 2565) แพทย์จึงอนุญาตให้กลับบ้านได้

ข้อเสนอแนะ การพยาบาลมารดาหลังคลอดที่มีภาวะตกเลือดและมีภาวะช็อคจนได้รับเลือดตามแนวปฏิบัติการให้เลือดของโรงพยาบาล ได้แก่ พยาบาลให้การพยาบาลอย่างทันท่วงที เพื่อป้องกันอันตรายและภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น พยาบาลต้องดูแลให้ได้รับสารน้ำและเลือดทดแทนตามแผนการรักษา และเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในกรณีที่ให้เลือด เช่น หากผู้ป่วยมีอาการเหนื่อย แน่นหน้าอก ควรหยุดให้เลือดทันที หรือพิจารณาให้เลือดโดยการผ่านเครื่องควบคุมอัตราการหยดของเลือด หากพบความผิดปกติรีบรายงานแพทย์ทันทีเพื่อการดูแลรักษาที่เหมาะสมต่อไป

References

กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, กรมอนามัย. (2565). สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2563.

โรงพยาบาลพระมงกุฎ, คณะกรรมการอนุกรรมการประกันคุณภาพการให้เลือดและส่วนประกอบของเลือด กองการพยาบาล. (2561). แนวปฏิบัติการให้เลือดโรงพยาบาลพระมงกุฎ.

ทิพวรรณ์ เอี่ยมเจริญ. (2560). การตกเลือดหลังคลอด: บทบาทสำคัญของพยาบาลในการป้องกัน. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 6(2), 146-157.

โรงพยาบาลสุรินทร์, กลุ่มงานสูตินรีเวชกรรม. (2563). แนวปฏิบัติในการดูแลมารดาหลังคลอดที่มีภาวะตกเลือดหลังคลอด.

สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล. (2557). การป้องกันการตกเลือดหลังคลอดใน 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด: บทบาทผดุงครรภ์. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 37(2), 155-162.

สภากาชาดไทย, ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ, คณะกรรมการเฝ้าระวังความปลอดภัยของโลหิต. (2558). คู่มือแนวทางการเฝ้าระวังความปลอดภัยของโลหิต. สภากาชาดไทย.

อรทัย หาญยุทธ. (2557). กระบวนการพยาบาลและการนำไปใช้. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 137-143.

อุดมวรรณ วันศรี, และณัฐรินทร์ สกุลนิธิวัฒน์. (2562). การพยาบาลมารดาหลังคลอด. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์.

Briley, A., Seed, P. T., Tydeman, G., Ballard, H., Waterstone, M., Sandall, J., Poston, L., Tribe, R. M., & Bewley, S. (2014). Reporting errors, incidence and risk factors for postpartum haemorrhage and progression to severe PPH: a prospective observational study. BJOG : an International Journal of Obstetrics and Gynaecology, 121(7), 876–888. https://doi.org/10.1111/1471-0528.12588

Devendra, B. N., Seema, K. B., & Kammappa, K. A. (2015). Episiotomy wound hematoma: Recognition, management and healing assessment by REEDA scale in postpartum period. IOSR Journal of Dental and Medical Sciences (IOSRJDMS), 14(9), 8-11.

Mattson, S., & Smith, J. E. (Eds.). (2016). Core curriculum for maternal-newborn nursing (5th ed.). Saunders/Elsevier.

Murray, S. S., & McKinney, E. S. (2014). Pain management during childbirth. In Foundation of maternal-newborn and women’s health nursing (6th ed., pp. 278-303). Elsevier Saunders.

Perry, E. S., Hockenberry, M. J., Lowdermilk, D. L., & Winson, D. (2010). Postpartum complications. In Maternal Child Nursing Care (4th ed., pp. 576-608). Mosby Elsevier.

Pillitteri, A. (2014). Maternal & child health nursing, care of the child bearing & childrearing family (7th ed.). Lippincott Williams & Wilkins.

Queensland Maternity and Neonatal Clinical Guidelines Program. (2012.) Primary postpartum hemorrhage. Queensland maternity and neonatal clinical guideline. The State of Queensland (Queensland Health) 1996-2023. http://www.health.qld.gov.au/qcg

Su C. W. (2012). Postpartum hemorrhage. Primary care, 39(1), 167–187. https://doi.org/10.1016/j.pop.2011.11.009

World Health Organization. (2020). WHO recommendations for the prevention and treatment of postpartum hemorrhage.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-19