การพัฒนารูปแบบบริการเพื่อจัดหาเลือดสำหรับผู้ป่วยคลินิกโรคเลือดจางธาลัสซีเมียชนิดพึ่งพาเลือด โรงพยาบาลน้ำโสม
คำสำคัญ:
บริการเพื่อจัดหาเลือด, โรคเลือดจางธาลัสซีเมียชนิดพึ่งพาเลือด, รูปแบบบทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนานี้เพื่อการพัฒนารูปแบบบริการเพื่อจัดหาเลือดสำหรับผู้ป่วยคลินิกโรคเลือดจางธาลัสซีเมียชนิดพึ่งพาเลือดโรงพยาบาลน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี ดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาปัญหาการบริการจัดหาเลือดจากผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยแพทย์ 1 คน พยาบาล 2 คน เจ้าหน้าที่เทคนิคการแพทย์ 2 คน รวมเป็น 5 คน และการวิเคราะห์เอกสารจากระบบสารสนเทศโรงพยาบาล ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบบริการเพื่อจัดหาเลือดสำหรับผู้ป่วยคลินิกโรคเลือดจางธาลัสซีเมียโดยผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน ขั้นตอนที่ 3 ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบใช้แบบแผนการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยธาลัสซีเมียชนิดพึ่งพาเลือดจำนวน 12 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Wilcoxon signed rank test
ผลวิจัยพบว่า 1. ปัญหาที่พบในการจัดหาเลือดโรงพยาบาลน้ำโสมได้แก่ การที่ผู้ป่วยได้รับเลือดล่าช้า คือได้รับเลือดหลังเวลา 15.00 น. และรอรับเลือดนานเกิน 48 ชั่วโมง ร้อยละ 16.6 2. รูปแบบบริการเพื่อจัดหาเลือดให้ผู้ป่วยคลินิกโรคเลือดจางธาลัสซีเมียชนิดพึ่งพาเลือด โรงพยาบาลน้ำโสม ประกอบด้วยกระบวนการหลัก 4 ขั้นตอน 1) การพัฒนาระบบการบริหารจัดการที่ดี 2) พัฒนาระบบการเจาะเลือดให้ง่ายและสะดวกกับผู้ป่วยเพื่อให้เจ็บตัวน้อยที่สุด 3) ลดระยะเวลารอคอยการจ่ายเลือดให้ตรงเวลา 4) พัฒนารูปแบบการสื่อสารเพื่อให้ข้อมูลแพทย์ 3. หลังใช้รูปแบบบริการเพื่อจัดหาเลือดสำหรับผู้ป่วยคลินิกโรคเลือดจางธาลัสซีเมียชนิดพึ่งพาเลือด โรงพยาบาลน้ำโสม (NS Blood bank Model) ไม่พบผู้ป่วยที่ได้รับเลือดล่าช้า ระดับ Ferritin ไม่เกินเกณฑ์ 2,500 ng/ml อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 รวมทั้งผู้ป่วยไม่มีการเกิดปฏิกิริยาหลังรับเลือด และหลังการใช้รูปแบบ NS Blood bank Model ผู้ป่วยและพยาบาลในคลินิกให้เลือด มีความพึงพอใจเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ดังนั้นจึงควรนำรูปแบบดังกล่าวไปปรับใช้ในการดำเนินการในคลินิกโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย โรงพยาบาลน้ำโสม โดยเน้นการจัดหาเลือดให้พร้อมใช้ตลอดเวลา ตลอดจนการขยายผลไปยังโรงพยาบาลชุมชนอื่นที่กำลังจัดตั้งคลินิกโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย
References
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, ศูนย์วิจัยทางคลินิก. (2556). คู่มือปฏิบัติงานการตรวจวินิจฉัยโรคธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติ. กระทรวงสาธารณสุข.
กระทรวงสาธารณสุข, กรมการแพทย์. (2560). แนวทางการดูแลผู้ป่วยธาลัสซีเมียในเวชปฏิบัติ. กระทรวงสาธารณสุข.
กระทรวงสาธารณสุข, กรมการแพทย์, สำนักวิชาการแพทย์. (2560). การตรวจวินิจฉัยธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติทางห้องปฏิบัติการ แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยธาลัสซีเมียในเวชปฏิบัติทั่วไป. สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.
ชาญชัย ไตรวารี. (2564).การให้เลือดในผู้ป่วยธาลัสซีเมีย. วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต, 31(2), 125-127
พรทิวา สุวรรณดุษกุล และวสุภมาศ ลายเงิน. (2558). การเปรียบเทียบวิธีการตรวจความเข้ากันได้ของเลือด โดยวิธีหลอดทดลองและเจล ณ โรงพยาบาลมะเร็งลำปาง. โรงพยาบาลมะเร็งลำปาง. https://www2.lpch.go.th/km/index.php/km/read/3/230
ภูผา วงศ์รัศมีเดือน. (2563). คุณภาพชีวิตของเด็กธาลัสซีเมียชนิดเบตาและผู้ดูแลที่มารับบริการที่โรงพยาบาลน้ำโสม. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 28(3), 326-335
วรากร เพชรเกลี้ยง. (2564). ประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมจ่ายเลือดด้วยบาร์โค้ดในหน่วยคลังเลือดและเวชศาสตร์บริการโลหิต โรงพยาบาลสงขลานครินทร์. วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต, 3(4), 315-325
ศศินี ฮันตระกูล, อดิศักดิ์ ตันติวรวิทย์, ลลิตา นรเศรษฐ์ธาดา, เอกรัฐ รัฐฤทธิ์ธำรง, ชาตรี ชัยอดิศักดิ์โสภา, เมตตาภรณ์ พิมพ์พิไล, สมเดช ศรีชัยรัตนกูล, กานดา ฝั้นจักสาย และพิมพ์ลักษณ์ เจริญขวัญ. (2562) ภาวะพร่องฮอร์โมนในผู้ป่วยโรคเลือดจางธาลัสซีเมียสัมพันธ์กับระดับเฟอร์ไรตินที่มากกว่า 3000 ไมโครกรัมต่อลิตร. วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์การบริการโลหิต, 29(2), 109-119
สภากาชาดไทย, ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ. (2564). แนวทางการเบิกเลือดจากศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย. สภากาชาดไทย.
สุชาดา นิลกำแหง วิลคินน์. (2560). ยาขับเหล็กที่ใช้ในโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย. วารสารเพื่อการวิจัยและพัฒนา องค์การเภสัชกรรม, 24(2), 8-10
อุษา ฉายเกล็ดแก้ว, จิระพรรณ จิตติคุณ, ภัทรวลัย ตลึงจิตร, ปรีชญา วงษ์กระจ่าง, ขวัญดาว มาลาสาย, เสริมสิริ แสงรุ่งเรือง และสุรัคเมธ มหาศิริมงคล. (2565). การประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการตรวจทางพันธุกรรมเพื่อใช้ในการตรวจวินิจฉัยภาวะพาหะธาลัสซีเมียในคู่สามีภรรยาในประเทศไทย. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ก่อนเท่านั้น