พฤติกรรมการปรับตัวบนชีวิตวิถีใหม่ หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในจังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • ทองสา บุตรงาม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • จารุมาศ แสงสว่าง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • เขมิกา อารมณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • ศิริศักดิ์ มากมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการปรับตัว , ชีวิตวิถีใหม่ , ภายหลังการระบาด , เชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการปรับตัวบนวิถีชีวิตใหม่ หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในจังหวัดบุรีรัมย์ และ 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการปรับตัวบนวิถีชีวิตใหม่ หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในจังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที และสถิติทดสอบเอฟ

ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตและปรับตัวบนวิถีชีวิตใหม่หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อยู่ในระดับดี (M = 3.63, SD = 0.59) และประชาชนที่มีลักษณะข้อมูลพื้นฐานด้านเพศ อายุ สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน การมีโรคประจำตัว และการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แตกต่างกันมีพฤติกรรมการปรับตัวบนวิถีชีวิติใหม่ หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แตกต่างกัน (p< 0.05) ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการช่วยเหลือประชาชนในการปรับตัวบนชีวิตวิถีใหม่ต่อไปได้

References

กระทรวงแรงงาน. (2565, 24 มิถุนายน). เตรียมปรับโควิด-19 ออกจากโรคระบาด เข้าสู่โรคประจำถิ่น ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. นี้เป็นต้นไป. https://www.tosh.or.th/covid-19/index.php/news/37-19-1

กระทรวงสาธารณสุข, กรมควบคุมโรค. (2565, 24 มิถุนายน). รายงานสถานการณ์ COVID-19 ในประเทศไทย ระลอกเดือนมกราคม 2565 ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 24 มิถุนายน 2565. https://media.thaigov.go.th/uploads/public_img/source/240665edit.pdf

เกศรินทร์ วิงพัฒน์ และโชติ บดีรัฐ. (2565). ผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและการปรับตัวของผู้สูงอายุในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) กรณีศึกษาในเขต องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบุ่ง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(7), 137-148.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2555). การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย: คุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยา. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ท้องที่นอกราชอาณาจักรที่เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตราย กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID -19). (2563, 5 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 137 ตอนพิเศษ 52 ง. หน้า 13-14.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2565. (2565, 20 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 139 ตอนพิเศษ 223 ง. หน้า 1.

พระมหาชาติชาย ญาณโสภโณ. (2564). “สติ” ตื่นรู้อยู่เสมอ : กระบวนทัศน์ใหม่เพื่อการปรับตัวของสังคมมนุษย์ ในสภาวะวิกฤติของโรคระบาด. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 1(5), 41 - 56.

มนพัทธ์ อารัมภ์, อนันต์ ไชยกุลวัฒนา, นิตยา สุวรรณเพชร และยมนา ชนะนิล. (2554). การปรับตัวและการสนับสนุนด้านสังคมของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี. วารสารศรีนครินทร์เวชสาร, 26(3), 196-206.

สถิติจังหวัดบุรีรัมย์. (2564). รายงานวิเคราะห์สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จังหวัดบุรีรัมย์ พ.ศ.2564. http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13 /ด้านสังคม/สาขาสุขภาพ/วิเคราะห์โควิด19/Northeast/buriram.PDF

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์. (2565, 6 กรกฎาคม). สถานการณ์โควิด 19 บุรีรัมย์ ระลอกใหม่ (1 มกราคม 2565 ถึงปัจจุบัน. [Image attached]. Facebook. https://www.facebook.com/brhealth/posts/pfbid0ynjFMAkn8HBPgg2DkYhQf7LniCZQmMKrkK8j2NMZdYn4sxBQcQiF2Vs6vakVvAhal

สำนักงานสถิติจังหวัดบุรีรัมย์. (2564). รายงานวิเคราะห์สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จังหวัดบุรีรัมย์ พ.ศ. 2564. http://buriram.nso.go.th/images/attachments/article/404/covid%2019-64.pdf

สุปราณี แตงวงษ์, ศากุล ช่างไม้ และศิรเมศร์ โภโค. (2565). พฤติกรรมการปรับตัวบนวิถีชีวิตใหม่หลังการระบาดของโรคโควิด 19 ของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วารสารพยาบาล, 71(2), 57-63.

Roy, C., & Andrews, H. (2009). The Roy adaptation model (3rd ed.). Pearson Education.

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29