รูปแบบการรักษาผู้ป่วยด้วยการแพทย์ผสมผสานตามหลักธรรมานามัย ในผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายแบบประคับประคอง

ผู้แต่ง

  • เอกพล หมั่นพลศรี วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก คณะสาธารณสุขและสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • นภชา สิงห์วีรธรรม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • บุษบามินตรา ดิฐประวรรตน์ วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก คณะสาธารณสุขและสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • ศราวุฒิ แพะขุนทด วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก คณะสาธารณสุขและสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • นัฐพล แก้วพรม โรงพยาบาลส่งเสริมมุขภาพตำบลบ้านดงขุมข้าว จังหวัดสกลนคร
  • ณัฐพงษ์ จัตุรเขษม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

คำสำคัญ:

หลักธรรมานามัย , ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย , สถานพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการรักษาผู้ป่วยด้วยการแพทย์ผสมผสานตามหลักธรรมานามัยในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายแบบประคับประคอง กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกบุคลากรผู้ให้บริการตามหลักธรรมานามัยแบบเฉพาะเจาะจง จากสถานบริการต้นแบบที่ให้บริการธรรมานามัยในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายแบบประคับประคองกระจายตามภูมิภาค จำนวน 8 แห่ง แห่งละ 1 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ยึดหลักธรรมานามัย 3 องค์ประกอบดังนี้ กายานามัย จิตตานามัย และชีวิตานามัย นำข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

สถานพยาบาลมีรูปแบบการจัดบริการตามหลักธรรมนามัย ในการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนไทย โดยนำการแพทย์แผนไทยมาร่วมในการรักษาที่หลากหลาย เช่น ใช้ยาสมุนไพรตามอาการทั้งยาตำรับ ยาเดี่ยว กระสายยา และการปรุงยาเฉพาะราย บางตำรับมีส่วนผสมของกัญชาในการนำมารักษาผู้ป่วย ซึ่งจะนำมาใช้กับผู้ป่วยมะเร็งในระยะลุกลาม ในกลุ่มอาการนอนไม่หลับ เบื่ออาหาร ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายด้วยหลักธรรมานามัย ซึ่งประกอบด้วย กายานามัย จิตตานามัย และชีวิตานามัย สถานบริการมีกิจกรรมที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับนโยบายของผู้บริหารและทรัพยากรที่มีอยู่เป็นหลัก

ควรมีการส่งเสริมกิจกรรมตามหลักธรรมานามัยในทุกสถานบริการอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อทางเลือกในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายแบบประคับประคอง

References

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. (2563). แนวทางการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายแบบประคับประคองแบบบูรณาการ (สำหรับแพทย์แผนไทยและสหวิชาชีพ). เบสท์สเต็ป แอดเวอร์ไทซิ่ง.

เบญจวรรณ พูนธนานิวัฒน์กุล. (2559). ประสบการณ์ของผู้ป่วยมะเร็งต่อการใช้ยาสมุนไพรและการรักษาแบบองค์รวม ณ อโรคยศาล วัดคำประมง จังหวัดสกลนคร. การประชุมวิชาการระดับชาติ แพทย์แผนไทยภูมิปัญญาของแผ่นดิน. วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก.

ประเสริฐ โมกแก้ว, พระปลัดสมชาย ปโยโค, โยตะ ชัยวรมันกุล และมานพ นักการเรียน. (2562). การสร้างหลักธรรมานามัยในการรักษาโรคของแพทย์แผนไทย ตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 7(ฉบับเพิ่มเติม), S16-S31.

ปรีชา หนูทิม, ณัฏฐิญา ค้าผล และวารณี บุญช่วยเหลือ. (2562). กระบวนการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งตับระยะสุดท้ายแบบประคับประคองอย่างมีส่วนร่วมของวิชาชีพแพทย์แผนไทยและทีมสหวิชาชีพแผนปัจจุบันใน โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 28(5), 906-914.

ลัดดาวัลย์ ครูปัญญามาตย์, วศินา จันทรศิริ, ธนาภรณ์ รุ่งเรือง, บุญญารัช ชาลีผาย, อดิศักดิ์ สุมาลี, อารยา ประเสริฐชัย, อรวรรณ น้อยวัฒน์, จิตตินันท์ เดชะคุปต์, จีรพรรณ มัธยมจันทร์, เบญพร โอประเสริฐ และอาภา เที่ยงธรรม. (2559). เอกสารการสอนชุดวิชา ธรรมานามัย (Dhammanamai). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน. (2562). คู่มือการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งตับระยะสุดท้ายแบบประคับประคองด้วยการแพทย์แผนไทย. โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2556). คู่มือสำหรับประชาชนการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง (Palliative care). สร้างสื่อ.

อัคบาร์ ยะโกะ. (2561). รูปแบบการดูแลแบบประคับประคองต่อสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับรังสีรักษา อาคารเย็นศิระ. [ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Keramatikerman, M. (2020). Efficacy of complementary and alternative therapies in cancer patients: A systematic review. Journal of scientific & technical research, 29(1), 22126-22129.

Keene, M. R., Heslop, I. M., Sabesan, S. S., & Glass, B. D. (2020). Knowledge, attitudes and practices of health professionals toward complementary and alternative medicine in cancer care – a systematic review. Journal of Communication in Healthcare, 13(3), 205-218.

Rome, R. B., Luminais, H. H., Bourgeois, D. A., & Blais, C. M. (2011). The role of palliative care at the end of life. The Ochsner journal, 11(4), 348–352.

Sung, H., Ferlay, J., Siegel, R. L., Laversanne, M., Soerjomataram, I., Jemal, A., & Bray, F. (2021). Global Cancer Statistics 2020: GLOBOCAN Estimates of Incidence and Mortality Worldwide for 36 Cancers in 185 Countries. CA: a cancer journal for clinicians, 71(3), 209–249. https://doi.org/10.3322/caac.21660

World Health Organization. (2020). Global Health Estimates 2020: Deaths by cause, age, sex, by country and by region. https://www.who.int/data/global-health-estimates

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27