ผลของโปรแกรมการจัดการความปวดต่อระดับความปวดของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีแบบส่องกล้อง และความสามารถในการจัดการความปวดของวิสัญญีพยาบาล

ผู้แต่ง

  • มีนา เสาวคนธ์ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ
  • ปรัชญ์ณรัตน์ สิทธิบวรโชติ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ
  • ภัทรพร ชัยประเทศ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ
  • อัจฉรา คำมะทิตย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • นภชา สิงห์วีรธรรม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • กิตติพร เนาว์สุวรรณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ความปวด, การจัดการความปวดหลังผ่าตัด , การผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีแบบส่องกล้อง

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการความปวด ต่อระดับความปวด และความสามารถในการจัดการความปวดของวิสัญญีพยาบาล ในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีแบบส่องกล้องโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ 1) วิสัญญีพยาบาลโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ จำนวน 11 คน และ 2) ผู้ป่วยนิ่วถุงน้ำดีที่ได้รับการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีแบบส่องกล้อง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ จำนวน 45 คน กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนมกราคม 2565 – มีนาคม 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย  แนวปฏิบัติการจัดการความปวด แบบบันทึกการประเมินและการจัดการความปวด และแบบประเมินความสามารถการจัดการความปวดของวิสัญญีพยาบาล คุณภาพเครื่องมือได้ค่าความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์กับข้อคำถามระหว่าง .67 – 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติ Dependent t-test และสถิติ One sample t-test

ผลการวิจัยพบว่าหลังการใช้แนวปฏิบัติการจัดการความปวดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีแบบส่องกล้อง ผู้ป่วยมีระดับความปวดลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และวิสัญญีพยาบาลมีความสามารถในการจัดการความปวดกับเกณฑ์ร้อยละ 90 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

การจัดการความปวดก่อนผ่าตัด การให้ข้อมูลและวิธีการจัดการความปวดหลังผ่าตัด และการนำมาปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง สามารถลดความปวดของผู้ป่วยหลังผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีแบบส่องกล้อง

References

เฉลิมวุฒิ โคตุทา. (2565). เปรียบเทียบผลการผ่าตัดรักษานิ่วทางเดินน้ำดีในโรงพยาบาลมุกดาหาร. วารสารโรงพยาบาลนครพนม, 9(3), 1-18.

ดรุณี สมบูรณ์กิจ, อัจฉรา มีนาสันติรักษ์, กมลรัตน์ สุปัญญาบุตร และรัชชยา มหาสิริมงคล. (2561). การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีผ่านกล้องโรงพยาบาลมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 15(3), 24-34.

ทิพวรรณ์ เอี่ยมเจริญ. (2559). บทบาทพยาบาลในการจัดการความปวดหลังผ่าตัดคลอด. วารสารการพยาบาล และการดูแลสุขภาพ, 34(1), 6-14.

นิตยา บุตรประเสริฐ. (2563). ผลของการจัดการความปวดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีแบบส่องกล้องโรงพยาบาลวานรนิวาส. วารสารการพยาบาลสุขภาพและการศึกษา, 3(2), 67-75.

ปรก เหล่าสุวรรณ. (2560). International Association for the Study of Pain. ใน ฝ่ายวิสัญญีวิทยา. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์.

ปิ่นอนงค์ รัตนปทุมวงศ์ และมาลินี อยู่ใจเย็น. (2557). การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกด้านการจัดการความปวดใน ผู้ป่วยหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้น โรงพยาบาลระนอง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 30(1), 86-99.

พจนี วงศ์ศิริ และศุภดีวัน พิทักษ์แทน. (2562). ผลการใช้โปรแกรมการจัดการความปวดต่อการลดความปวด ความวิตกกังวลและความพึงพอใจในผู้ป่วยผ่าตัดคลอดบุตรที่ได้รับการระงับความรู้สึกชนิดดมยาสลบ ห้องพักฟื้น โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 33(3), 441-460.

ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย. (2551, 12 กุมภาพันธ์). Gall Stone. http://www.rcst.or.th/view.php?group=8&id=204

ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย. (2562). แนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันหลังผ่าตัด ฉบับที่ 2. ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย.

โรงพยาบาลเวชธานี. (2565). สัญญาณนิ่วในถุงน้ำดี ปวดท้องเหมือนโรคธรรมดาแต่อันตรายกว่าที่คิด. https://www.vejthani.com/th/2022/09/สัญญาณนิ่วในถุงน้ำดี

ลิขิต เรืองจรัส. (2564). การศึกษาเปรียบเทียบการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีแบบเปิดช่องท้องและแบบผ่าตัดด้วยกล้อง วีดิทัศน์ 3 แผล ในโรงพยาบาลศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 14(3), 234-235

วชิระ โรจน์พิศาลวงศ์. (2534). การส่องกล้องผ่าตัดถุงน้ำดี. วชิรเวชสาร, 35(9), 35-38.

เสาวนีย์ เกิดปากแพรก และสุชาตา วิภวกานต์. (2562). การจัดการความปวดของผู้ป่วยหลังผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบที่ไม่มีภาวะไส้ติ่งอักเสบแตกในห้องพักฟื้น แผนกวิสัญญีโรงพยาบาลกระบี่. กระบี่เวชสาร, 2(1), 25-26.

Cohen J. (1988). Statistical power for the behavioral sciences (2nd ed.). Academic Press.

Everhart, J. E., Khare, M., Hill, M., & Maurer, K. R. (1999). Prevalence and ethnic differences in gallbladder disease in the United States. Gastroenterology, 117(3), 632–639. https://doi.org/10.1016/s0016-5085(99)70456-7

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A.-G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39, 175-191.

Hannan, E. L., Imperato, P. J., Nenner, R. P., & Starr, H. (1999). Laparoscopic and open cholecystectomy in New York State: mortality, complications, and choice of procedure. Surgery, 125(2), 223–231.

Miquel, J. F., Covarrubias, C., Villaroel, L., Mingrone, G., Greco, A. V., Puglielli, L., Carvallo, P., Marshall, G., Del Pino, G., & Nervi, F. (1998). Genetic epidemiology of cholesterol cholelithiasis among Chilean Hispanics, Amerindians, and Maoris. Gastroenterology,

(4), 937–946. https://doi.org/10.1016/s0016-5085(98)70266-5

Stiltmimankarnt, T. (1966). Gallstones in autopsy. Siriaijhosp Gas, 18, 7-17.

Wilkie, D. J. (2000). Nursing management pain. In S. M. Lewis, M. M. Heitkemper, & S. R. Dirksen (Eds.), Medical-surgical nursing assessment and management of clinical problem (5th ed., pp.126-154). Mosby.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27