ประสิทธิภาพของหุ่นจากน้ำยางพาราช่วยฝึกทักษะการประเมินการหดรัดตัวของมดลูก ในนักศึกษาพยาบาลศาสตร์

ผู้แต่ง

  • รัตนเพ็ญพร ศิริวัลลภ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • อมรรัตน์ ผาละศรี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • อณัญญา ลาลุณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • ลนาไพร ขวาไทย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • สุพัตรา บุตรเสรีชัย โครงการจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

คำสำคัญ:

หุ่นจากน้ำยางพารา , การประเมินการหดรัดตัวของมดลูก , นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหุ่นจากน้ำยางพาราช่วยฝึกทักษะการประเมินการหดรัดตัวของมดลูกด้วยกลไกการควบคุมแรงดันน้ำ ศึกษาความคิดเห็นและเปรียบเทียบคุณภาพของหุ่นจากน้ำยางพาราช่วยฝึกทักษะการประเมินการหดรัดตัวของมดลูกด้วยกลไกการควบคุมแรงดันน้ำกับหุ่นเดิม กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ จำนวน 57 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบประเมินความคิดเห็นต่อคุณภาพหลังการทดลองใช้งานหุ่นมีค่าความเชื่อมั่น 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบคุณภาพของหุ่นโดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (Repeated measured ANOVA)

ผลการวิจัยพบว่าความคิดเห็นต่อคุณภาพของหุ่นช่วยฝึกทักษะการประเมินการหดรัดตัวของมดลูกชนิดหุ่นยางพาราแรงดันน้ำ หุ่นยางแรงดันลม และหุ่นซิลิโคนครึ่งตัว มีค่าเฉลี่ยของคะแนนความคิดเห็นต่อคุณภาพของหุ่นทั้ง 3 แบบอยู่ในระดับมาก โดยหุ่นยางพาราแรงดันน้ำที่พัฒนาขึ้นใหม่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด  (M = 4.35, SD = 0.55) รองลงมาได้แก่ หุ่นยางแรงดันลม (M = 4.21, SD = 0.58) และหุ่นซิลิโคนครึ่งตัว  (M = 4.21, SD = 0.55) ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกันระหว่างคู่พบว่าหุ่นยางพาราแรงดันน้ำมีคะแนนเฉลี่ยความคิดเห็นต่อคุณภาพสูงกว่าหุ่นยางแรงดันลมและหุ่นซิลิโคนครึ่งตัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)

ดังนั้นหุ่นยางพาราแรงดันน้ำมีคุณภาพเทียบเท่ากับหุ่นยางแรงดันลมและหุ่นซิลิโคนครึ่งตัวมีความเหมาะสมในการใช้เป็นสื่อการสอนในการศึกษาของรายวิชาการพยาบาลมารดาทารกและผดุงครรภ์ และเป็นประโยชน์ในการฝึกทักษะการประเมินการหดรัดตัวของมดลูกสำหรับนักศึกษาพยาบาลในการเตรียมตัวก่อนขึ้นฝึกประสบการณ์บนหอผู้ป่วยของนักศึกษา

References

กฤษณี สุวรรณรัตน์, กรรณิการ์ แซ่ตั้ง และวรัญญา ชลธารกัมปนาท. (2562). ผลของการใช้นวัตกรรมวงล้อกลไกการคลอดต่อความรู้และทักษะการประเมินกลไกการคลอดของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพระปกเกล้า จันทบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี, 30(1), 152-

ขวัญใจ เพทายประกายเพชร และปวีณภัทร นิธิตันติวัฒน์. (2563). นวัตกรรมชุดหุ่นฝึกทักษะการหมุนกลไกการคลอดสำหรับนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 36(3), 233-243.

จิราภรณ์ นันท์ชัย และสมชาย แสงนวล. (2561). การพัฒนาหุ่นจำลองสำหรับฝึกทักษะการประเมินท่าทารกในครรภ์. พยาบาลสาร, 45(4), 37-46.

ธารินี นนทพุทธ และปฐมามาศ โชติบัณ. (2564). การพัฒนานวัตกรรมหุ่นฝึกการให้สารน้ำบริเวณแขน.วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 8(3), 49-60.

นิกร จันภิลม. (2563). การพัฒนาระบบการเรียนการสอนโดยใช้ชุดสถานการณ์เสมือนจริงร่วมกับกระบวนการสะท้อนคิดเพื่อส่งเสริมทักษะการตัดสินใจในการดูแลผู้ป่วยภาวะวิกฤตสำหรับนักศึกษาพยาบาล [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

บุญเสริม วัฒนกิจ และกิตติ กรุงไกรเพชร. (2560). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การพัฒนาหุ่นจำลองสำหรับการทำหัตถการ เพื่อการเรียนการสอน: หุ่นจำลอง สำหรับฝึกผ่าตัดคลอดบุตร. http://dspace.lib.buu.ac.th/bitstream/1234567890/3894/3/2564_046.pdf

ปราณี อ่อนศรี และสายสมร เฉลยกิตติ. (2556). การจัดการเรียนรู้ทางการพยาบาลเพื่อสร้างความสุข: บทบาทของผู้สอนและผู้เรียน. วารสารพยาบาลทหารบก, 14(1), 8-16.

ปฐมามาศ โชติบัณ,กิตติพร เนาว์สุวรรณ, ธารินี นนทพุทธ และจรูญรัตน์ รอดเนียม. (2556). นวัตกรรมชุดหุ่นฝึกทักษะการปฏิบัติการพยาบาล. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 5(3), 1-12.

ภราดร ยิ่งยวด, ปราโมทย์ ถ่างกระโทก, วริณญา อาจธรรม, ณัฐปัณฑ์ เพียรธัญญกรรม, พิศิษฐ์ พลธนะ และวินัย ไตรนาทถวัลย์. (2563). การศึกษาการจัดการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรมเป็นฐานสำหรับนักศึกษาพยาบาลในศตวรรษที่ 21. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิ-ประสงค์, 4(2), 101-121.

วณิชา พึ่งชมภู, ณัฐธยาน์ สุวรรณคฤหาสน์ และบำเหน็จ แสงรัตน์. (2560). การพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาพยาบาล: การสอนออนไลน์แบบเปิดสำหรับมหาชนในกระบวนวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ. พยาบาลสาร, 44(2), 103-110.

วิชยา เห็นแก้ว, เทียมศร ทองสวัสดิ์ และไพฑูรย์ ยศกาศ. (2561). การพัฒนาหุ่นต้นแบบ “ดีต่อใจ” เพื่อฝึกการกดหน้าอกสำหรับนักศึกษาพยาบาล. พยาบาลสาร, 45(4), 171-180.

สุภลักษณ์ เชยชม และดลรัตน์ รุจิวัฒนากร. (2558). การใช้นวัตกรรมหุ่นแขนในการฝึกหัตถการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำของนักศึกษาพยาบาล. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 21(3), 395-407.

สุสัณหา ยิ้มแย้ม. (2559). การพัฒนาหุ่นจำลองเพื่อฝึกทักษะทางคลินิกของนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พยาบาลสาร, 43(2), 142-151.

สุสัณหา ยิ้มแย้ม, นันทพร แสนศิริพันธ์ และนงลักษณ์ เฉลิมสุข. (2561). การพัฒนากล่องจำลองการตรวจภายในเพื่อฝึกประเมินความก้าวหน้าของการคลอด. พยาบาลสาร, 45(3), 83-96.

สุสัญหา ยิ้มแย้ม และโสภา กรรณสูต. (2556). การพัฒนาหุ่นจำลองเต้านม FON CMU เพื่อการสอนการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา. พยาบาลสาร, 40(4), 56-68.

อภินันท์ สุประเสริฐ. (2546). สื่อรูปหุ่นจำลองจากยางพาราเพื่อพัฒนาการศึกษา เพิ่มมูลค่ายางพาราไทย.วารสารสัตวแพทย์ศาสตร์ มช., 13(1), 94-97.

อมรรัตน์ ผาละศรี, รัตนเพ็ญพร ข่าขันมะลี, สุวรรณี มณีศรี, อณัญญา ลาลุน และลนาไพร ขวาไทย. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างการรู้เท่าทันและการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศกับพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษา. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล, 27(1), 43-57.

วินัย สยอวรรณ, ศราวุฒิ แพะขุนทด, เจษฎา อุดมพิทยาสรรพ์ และจริยา อัมพาวงษ์. (2560). การพัฒนาหุ่นจำลองฝึกทักษะการกดนวดชนิดยางพารา สำหรับนักศึกษาการแพทย์แผนไทยบัณฑิตของวิทยาลัยเทคโนโลยี ทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 10(3), 71-82.

Chooha, U., Chotwattanakulchai, N., & Sirisome, J. (2022). Development and application of “Cervical Dilatation Model for Teaching and Training”. Advances in Medical Education and Practice, 13, 1123–1131.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27