การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการด้านอาหารและโภชนาการโดยใช้แนวทางอาหารของแม่ ในชุมชนตำบลนาทวีนอก จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • ศิริวรรณ ชูกำเนิด วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • อฑิภา อมรปิยภากร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาลัยเขตพัทลุง
  • พัชรี รัตนพงษ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • อรอนงค์ รองสวัสดิ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • อับดุลฮาหมัด โส๊ะหน่าย โรงเรียนบ้านลำลอง ตำบลนาทวีนอก อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา

คำสำคัญ:

แนวทางอาหารของแม่, การบริหารจัดการด้านอาหารและโภชนาการ, การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory action research) นี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการด้านอาหารและโภชนาการ โดยใช้แนวทางอาหารของแม่ ประกอบด้วย อาหารสะอาดปลอดภัย โภชนาการดีและทำด้วยความรัก ร่วมกับกลวิธีการสื่อสารเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และการสื่อสารเพื่อระดมความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของชุมชน การศึกษาประกอบด้วย 2 ระยะ คือ 1. ระยะเตรียมการ การศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาเกี่ยวกับภาวะโภชนาการ เก็บข้อมูลจากตัวแทนแม่ระดับครัวเรือนใน 4 กลุ่มช่วงวัย คือ เด็กก่อนวัยเรียน เด็กวัยเรียน หญิงตั้งครรภ์และผู้สูงอายุ จำนวน 160 ครัวเรือน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 2. ระยะปฏิบัติการ ประกอบด้วย การวิเคราะห์สภาพปัญหาภาวะโภชนาการ กำหนดรูปแบบการบริหารจัดการด้านอาหารและโภชนาการ การลงมือปฏิบัติ และการสะท้อนผลการปฏิบัติ ผู้ร่วมวิจัยประกอบด้วย กลุ่มตัวแทนระดับชุมชน ได้แก่ ผู้บริหารและสมาชิกสภาเทศบาล ผู้ใหญ่บ้าน พยาบาลวิชาชีพ อสม. ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ครู ครูพี่เลี้ยงประจำศูนย์ศึกษาเด็กก่อนวัยเรียน ตัวแทนผู้ปกครอง หญิงตั้งครรภ์ และผู้สูงอายุ รวมทั้งหมด 58 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์และการสังเกต ใช้เวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นระยะเวลา 1 ปี ระหว่างเดือนตุลาคม 2561 - กันยายน พ.ศ. 2562 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยสถิติเชิงพรรณนา ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารจัดการด้านอาหารและโภชนาการ โดยใช้แนวทางอาหารของแม่ สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 กิจกรรม ตามวงจรการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วย 1) การสร้างการรับรู้สถานการณ์และการตระหนักต่อปัญหาภาวะโภชนาการในชุมชน 2) การจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้เอื้อต่อการมีพฤติกรรมโภชนาการ 3) การสร้างกระแสการรับประทานอาหารร่วมกันของครอบครัว 4) การสร้างแกนนำด้านอาหารของแม่ และ 5) ผลักดันประเด็นอาหารของแม่  สู่แผนพัฒนาท้องถิ่น

รูปแบบการบริหารจัดการด้านอาหารและโภชนาการโดยใช้แนวทางอาหารของแม่ครั้งนี้ เป็นผลจากการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และการพัฒนาทักษะส่วนบุคคล ของชุมชนบ้านลำลอง นับเป็นแนวทางสำคัญในการบริหารจัดการด้านโภชนาการและสุขภาพที่ยั่งยืน

Author Biography

ศิริวรรณ ชูกำเนิด, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ (ด้านการสอน) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา

References

กระทรวงสาธารณสุข, กรมอนามัย (2561). สมุดบันทึกสุขภาพแม่และและเด็ก. โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

กระทรวงสาธารณสุข, กรมอนามัย, สำนักโภชนาการ. (2562). แผนปฏิบัติการด้านโภชนาการระดับชาติ 5 ปี พ.ศ. 2562-2566 ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 3 อาหารศึกษา กรอบยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศไทย ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2561-2580). นนทบุรี: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

กระทรวงสาธารณสุข, Health Data Center. (2561). กลุ่มรายงานมาตรฐาน. https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php

คณะอนุกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ กลุ่มกระทรวง คณะที่ 2. (2562). รายงานการพัฒนาเด็กปฐมวัย. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. https://www.nesdc.go.th/ewt_w3c/ewt_dl_link.php?nid=10104

คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการจังหวัดสงขลา. (2559). แผนพัฒนาจังหวัดสงขลา (พ.ศ. 2561-2564). ศาลากลางจังหวัดสงขลา. http://www.songkhla.go.th/news_develop_plan

ประกาศเรื่องยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580). (2561, 13 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนที่ 82ก. หน้า 1-71.

วิชัย เอกพลากร, ลัดดา เหมาะสุวรรณ, นิชรา เรืองดารกานนท์, วราภรณ์ เสถียรนพเกล้า และหทัยชนก พรรคเจริญ. (2557). การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557: สุขภาพเด็ก. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

ศิรินุช ชมโท. (2555). เครื่องชี้วัดทางโภชนาการและโรคที่เกี่ยวข้องในเด็ก. ใน ลัดดา เหมาะสุวรรณ และอุไรพร จิตต์แจ้ง (บรรณาธิการ), คู่มือเครื่องชี้วัดทางโภชนาการและโรคที่เกี่ยวข้อง. (พิมพ์ครั้งที่ 3, หน้า 47-68). โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

มหาวิทยาลัยมหิดล, สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. (2561). สุขภาพคนไทย 2561. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

สินศักดิ์ชนม์ อุ่นพรมมี. (2556). พัฒนาการสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ. ธนาเพรส.

สัญญา ยือราน และศิวิไลซ์ วนรัตน์วิจิตรม. (2561). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม สู่ความสำเร็จการเปลี่ยนแปลงนโยบาบในระบบสุขภาพ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 5(2), 288-300.

อมาวสี อัมพันศิริรัตน์ และมาริสา สุวรรณราช. (2560). โครงการอาหารของแม่ เพื่อส่งเสริมโภชนาการของครอบครัวและชุมชน. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา.

อรวรรณ พินิจเลิศสกุล และศุภาวดี วายุเหือด. (2564). ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในสตรีตั้งครรภ์ บทบาทที่ท้าทายของพยาบาลผดุงครรภ์. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 39(1), 29-38

Damapong, S. (2016). Challenges and needs do to deal with Obesity. In S. Phulkerd & P. Phonsuk (Eds.), Annual report of food and nutrition policy for health promotion program (pp. 22-24). The Graphic Systems Company.

Marshall, C., & Rossman, G. (2016). Designing qualitative research. (6th Ed.). Sage Publication.

Nestle Nutrition Institute. (2019). Mini Nutritional Assessment: MNA. https://www.mna-elderly.com/sites/default/files/2021-10/MNA-thai.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27