ผลของโปรแกรมการให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ออนไลน์ ต่อความรู้และพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาวัยรุ่นในจังหวัดพิษณุโลก
คำสำคัญ:
มารดาวัยรุ่นหลังคลอด, โปรแกรมการให้ความรู้ออนไลน์เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่บทคัดย่อ
การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi– Experimental Research) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาวัยรุ่นหลังคลอดในจังหวัดพิษณุโลก ศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง ที่คัดเลือกแบบเจาะจงเป็นมารดาวัยรุ่นหลังคลอด อายุ 13-20 ปี จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ ชุดโปรแกรมการให้ความรู้ เรื่อง การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ออนไลน์ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความรู้เรื่องความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาวัยรุ่นหลังคลอด และแบบสอบถามเรื่องพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาวัยรุ่นหลังคลอด ตรวจสอบดัชนีความสอดคล้องทุกข้อได้เท่ากับ 1.00 แบบสอบถามเรื่องความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาวัยรุ่นหลังคลอดมีความเที่ยงของ KR-20 เท่ากับ 0.80 และแบบสอบถามเรื่องพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาวัยรุ่นหลังคลอดวิเคราะห์มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.99 วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล โดยใช้สถิติพรรณนา และเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้ และพฤติกรรมก่อนทดลองและหลังการทดลองด้วยสถิติ Paired t-test
ผลการวิจัย พบว่า มารดาวัยรุ่นหลังคลอดมีความรู้ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนเข้าร่วมโปรแกรม (M = 6.83, SD = 3.29) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (M = 13.76, SD = 1.38, t = 10.93, p<.05) และมีพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนเข้าร่วมโปรแกรม (M = 19.13, SD = 8.86) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (M = 43.40, SD = 0.93, t = 14.41, p<.05)
บุคลากรด้านสุขภาพสามารถนำโปรแกรมการให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ออนไลน์ไปเผยแพร่ให้กับมารดาวัยรุ่นกลุ่มอื่นๆ เช่น มารดาวัยรุ่นเลี้ยงเดี่ยว เพื่อช่วยเหลือกระตุ้นและสนับสนุนให้มารดาวัยรุ่นหลังคลอดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างต่อเนื่อง
References
กรมอนามัย. (2558, 2 กันยายน). อัตราเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในไทยยังต่ำ สธ.หนุน ‘Working Mom’ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวครบ 6 เดือน. Hfocus.org เจาะลึกระบบสุขภาพ. https://www.hfocus.org/content/2015/09/10785
ฐิตราพร สัจจาสังข์. (2557). เจตคติมารดาวัยรุ่นหลังคลอดต่อการเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่ใน โรงพยาบาลชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. วารสารสาธารณสุขขอนแก่น, 26(309), 12-14.
ธัญลักษณ์ แก้วเนตร, อุมาวดี เหลาทอง, สุธรรม นันทมงคลชัย และอาทิตย์ เพ็ชร์รักษ์. (2563). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำหรับแม่วัยรุ่น ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, 21(3), 54-68.
เบญจมาภรณ์ นาคามดี, อัญชลี รุ่งฉาย, เพ็ญนภา ดำมินเศก เเละนุโรม จุ้ยพ่วง. (2563). การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมเเม่ของมารดาวัยรุ่น: บทบาทพยาบาลในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาตำบล. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯสาขาภาคเหนือ, 26(2), 90-103.
ประไพรัตน์ สีพลไกร และรัตนาภรณ์ ตรัยสถิตย์. (2563). สรรพคุณทางยาสารเมแทบอไลต์ทุตยิภูมิและฤทธิ์ทางชีวภาพของพืชสมุนไพรไทยบำรุงน้ำนมบางชนิด. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 25(3), 1278-1293.
มาลีวัล เลิศสาครศิริ และชบา คำปัญโญ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาวัยรุ่นหลังคลอดครรภ์แรก Factors affecting on breastfeeding in the first-time teenage postpartum mothers. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 41(4), 76-87.
มาลีวัล เลิศสาครศิริ และสาลี่ แซ่เบ๊. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้สมรรถนะของตนเอง ความรู้สึกมีคุณค่า และเจตคติต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาวัยรุ่นหลังคลอดครรภ์แรก. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 11(3), 10-23.
วิโรจน์ ฉิ่งเล็ก, วารุณี เกตุอินทร์ และอัจฉราวดี ศรียะศักดิ์. (2561). ประสบการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาวัยรุ่นครรภ์แรก. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 10(1), 122-132.
ศุภวดี แถวเพีย, จิราพร วรวงศ์, ศุภจิรา สืบศรีสุข, ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง และปฐวิภา ญาณประเสริฐ. (2564). ภาวะสุขภาพของมารดาหลังคลอดวัยรุ่นไทยในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์, 11(2), 1-16.
สุรีย์พร กฤษเจริญ, ศศิกาญจน์ กาละ, วรางคณา ชัชเวช, ศิริไท พฤษะศรี และชุลีรัตน์ เพชรวัชระไพบูลย์. (2564). ผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกเพื่อส่งเสริมสนับสนุน และคุ้มครองการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อสมรรถนะ และระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาวัยรุ่น. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 41(1), 54-63.
สุสัณหา ยิ้มแย้ม และปานจันทร์ คนสูง. (2562). การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในแม่วัยรุ่น. พยาบาลสาร, 46(1), 231-242.
สุสัณหา ยิ้มแย้ม, สุจิตรา เทียนสวัสดิ์, ศิริพร ศรีสวัสดิ์, พิกุล ทรัพย์พันแสน และทองเหรียญ มูลชีพ. (2559). ผลของเครื่องดื่มสมุนไพรกระตุ้นน้ำนมแม่ต่อการผลิตน้ำนมใน มารดาหลังคลอด. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
แสงจันทร์ สุนันต๊ะ, ฉวีวรรณ อยู่สำราญ และวรรณา พาหุวัฒนกร. (2559). ผลของการให้ความรู้และการสนับสนุนมารดาวัยรุ่นครรภ์แรกและยาย ต่อความสำเร็จในการดำรงบทบาทการเป็นมารดา. วารสารพยาบาลทหารบก, 17(2), 125-134.
อุมาภรณ์ ศรีฟ้า. (2563). ปริมาณน้ำนมส่งผลต่อความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในโรงพยาบาลเกาะสมุย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(11), 94-103.
Lowdermilk, D. L., Perry, S. E., Cashion, K., Alden, K. R., & Olshansky, E. F. (2020). Maternity and women's health care. (12th ed.). Elsevier.
World Health Organization. (2018, February 20). Breastfeeding.
https://www.who.int/news-room/facts-in-pictures/detail/breastfeeding
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ก่อนเท่านั้น