การพัฒนาคู่มือสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ตำบลโพนทอง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ
คำสำคัญ:
โรคข้อเข่าเสื่อม, ผู้สูงอายุ, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคู่มือสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ตำบลโพนทอง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ศึกษาระหว่างเดือนสิงหาคม 2563 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2564 การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะประกอบด้วยระยะที่ 1 การศึกษาสถานการณ์และพัฒนาคู่มือ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามชนิดกึ่งมีโครงสร้างจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มโดยผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ กลุ่มเจ้าหน้าที่สาธารณสุข กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและกลุ่มผู้สูงอายุ รวมจำนวน 23 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และระยะที่ 2 การทดลองและประเมินผลการใช้คู่มือ กลุ่มตัวอย่างคืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 148 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.83 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาการพัฒนาคู่มือสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ตำบลโพนทอง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ พบว่า อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านควรมีการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม การป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม ทักษะการตรวจคัดกรองโรคเบื้องต้น และการประเมินความรุนแรงของโรคเพื่อสามารถให้คำแนะนำเบื้องต้นและส่งต่อได้อย่างเหมาะสม โดยคู่มือสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 1) คำแนะนำการใช้คู่มือ 2) วัตถุประสงค์ของคู่มือ 3) เนื้อหา ประกอบด้วย 3.1) สถานการณ์ของโรคข้อเข่าเสื่อม 3.2) ความหมายของโรคข้อเข่าสื่อม 3.3) สาเหตุหรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม 3.4) อาการและอาการแสดงของโรคข้อเข่าเสื่อม 3.5) การวินิจฉัยและการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม 3.6) การป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม 3.7) การคัดกรองโรคข้อเข่าเสื่อมและการส่งต่อ จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้และพัฒนาศักยภาพแก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลโพนทองในการใช้งานคู่มือฯ ภายหลังการอบรมได้ทดลองใช้คู่มือฯ กับผู้สูงอายุที่อยู่ภายใต้การดูแลของตนเอง โดยใช้ระยะเวลา 4 สัปดาห์ การประเมินผลการใช้คู่มือฯ พบว่า ในภาพรวมคู่มือฯ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (M = 4.02, SD = 0.09) โดยคู่มือฯ สามารถอ่านได้ง่าย เนื้อหาความรู้เข้าใจง่าย และสามารถปฏิบัติตามได้ถูกต้อง จากนั้นจึงทำการปรับปรุงและพัฒนาคู่มือฯ เพื่อใช้งานจริงต่อไป
References
กระทรวงสาธารณสุข, กรมอนามัย, สำนักอนามัยผู้สูงอายุ. (2563). รายงานประจำปี 2563 สำนักอนามัยผู้สูงอายุ.
https://eh.anamai.moph.go.th/web-upload/10x2f8665bc5c6742a30312c81435ca284e/
filecenter/Annual%20report%20file/Annual%20report%202020.pdf
จิราพัทธ์ แก้วสีทอง. (2563). การพัฒนาคู่มือฝึกอบรมทักษะอาชีพสำหรับผู้สูงอายุโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัดพิษณโลก. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 8(1), 31-41.
เพลินตา พิพัฒน์สมบัติ มาลี เอี่ยมสำอาง ขวัญธิดา พิมพการ และดวงเนตร ธรรมกุล. (2561). ผลของโปรแกรมการจัดการดานสุขภาพต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคขอเขาเสื่อม. วารสารสุขศึกษา, 41(1), 114-125.
เฟื่องวิทย์ ชูตินันท์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.). วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์, 10(2), 123-135.
มะลิวัน สมศรี, ฉลาด จันทรสมบัติ และละออตา พงษ์ฤทัศน์. (2557). การพัฒนาคู่มือพัฒนาสมรรถนะทางวิชาการของครูผู้สอนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุดรธานี เขต 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 9(พิเศษ), 542-557.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2564). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
ยุทธนา แยบคาย และปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์. (2563). การปฏิบัติงานตามบทบาทที่สำคัญของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี, 31(2), 269-279.
วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2562). การหาขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย:มายาคติในการใช้สูตรของทาโรยามาเนและเครจซี-มอร์แกน. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 6(1), 27-58.
วิจักษณา หุตานนท์ และสุวรรณา นาควิบูลย์วงศ์. (2560). โมเดลโครงสร้างการพัฒนาทักษะอาชีพผู้สูงอายุ. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(3), 312-324.
วิชัย เอกพลากร (บรรณาธิการ). (2564). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562 – 2563. อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
ศิลปวิชญ์ น้อยสมมิตร และโชติกา แก่นธิยา. (2562). การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนต่อนโยบายสาธารณะ. วารสารวิจัยวิชาการ, 2(1), 101-116.
สุวรรณี สร้อยสงค์, อังคณา เรือนก้อน, ภัณฑิรชา เฟื่องทอง และผุสดี สระทอง. (2562). การพยาบาลผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 33(2), 197-210.
สุวิมลรัตน์ รอบรู้เจน. (2563). การพัฒนาโปรแกรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุโดยชุมชนมีส่วนร่วม ตำบลคูเมือง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 3(1), 25-36.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). บทสรุปสำหรับผู้บริหารการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2564.
Best, J. W. (1977). Research in Education (3rd ed.). Prentice Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2023-10-01 (2)
- 2022-12-27 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ ก่อนเท่านั้น