ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดื่มไม่ขับ ของวัยรุ่นชาย ตำบลหลักเขต จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • นธภร วิโสรัมย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • ณิชาภัทร มณีพันธ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • วรนาถ พรหมศวร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • ภิญญดา สมดี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลบ้านปริงเปน อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

พฤติกรรมดื่มไม่ขับ , ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม , วัยรุ่นชาย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดื่มไม่ขับ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดื่มไม่ขับของวัยรุ่นชาย กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่นชายที่มีภูมิลำเนาในตำบลหลักเขต จังหวัดบุรีรัมย์ อายุระหว่าง 15-24 ปี ที่ใช้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะ จำนวน 250 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์การถดถอยโลจีสติก

ผลการศึกษาพบว่า 1) พฤติกรรมการดื่มไม่ขับ ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมากลุ่มตัวอย่างไม่เคย  มีพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ขณะมึนเมาร้อยละ 36.8 และมีพฤติกรรมการขับขี่รถจักรยานยนต์ ขณะมึนเมาแบบนานๆ ครั้ง ร้อยละ 37.2 โดยมีระดับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแบบเสี่ยงต่ำ (low risk drinker) ร้อยละ 50.8  2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดื่มไม่ขับได้แก่ ความรู้ ทัศนคติ การรับรู้อิทธิพลของเพื่อน การรับรู้อิทธิพลของกฎหมาย กฎจราจร และอิทธิพลของสื่อต่างๆ สามารถทำนายพฤติกรรมการ ดื่มไม่ขับของวัยรุ่นได้ 0.39, 193.68, 2.93, 19.28 และ 0.37 เท่าตามลำดับ และปัจจัยทั้ง 4 ตัวร่วมกันทำนายพฤติกรรมการดื่มไม่ขับขี่รถจักรยานยนต์ ได้ร้อยละ 93.60 นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่าควรมีการใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างจริงจังและสม่ำเสมอ เพื่อให้วัยรุ่นมีพฤติกรรมการไม่ขับขี่รถจักรยานยนต์เมื่อดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ผลการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดกิจกรรมส่งเสริมพฤติกรรมการดื่มไม่ขับของวัยรุ่นชายในตำบลหลักเขต จังหวัดบุรีรัมย์ได้

References

กัลป์ลิกา ฉิมวิรุฬห์ศิริทรัพย์. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ถูกคุมความประพฤติคดีเมาแล้วขับ. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 25( 2), 91-100.

ขวัญจิตร ศรีชาคา,อังสนา บุญธรรม,อุมาวดี เหลาทอง และธราดล เก่งการพานิช. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใ์นระดับชุมชนอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ.วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 9(2), 101-113.

จันทร์ฉาย โยธาใหญ่, สุจิตรา เทียนสวัสดิ์, วารณี ฟองแก้ว, อัจฉรา สุคนธสรรพ์ และสุภารัตน์ วังศรีคูณ.(2559). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดื่มไม่ขับของนักเรียนสังกัดสถาบันอาชีวศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่. พยาบาลสาร, 43(ฉบับพิเศษ), 11-22.

มรกต เขียวอ่อน, โสภิณ แสงอ่อน และพัชรินทร์ นินทจันทร์. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดื่มสุราในนักเรียนจ่าทหารเรือ. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 30(3), 36-51.

ธัญวรัตน์ แจ่มใส และศรณรงค์ ปล่องทอง. (2561). การศึกษาพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและชุมชน และทัศนคติที่มีต่อวัฒนธรรมการดื่มของกลุ่มชาติพันธุ์ลาว กูยและเขมร : กรณีศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 20(2),145-161.

พระครูรัตนญาณโสภิต (บุญเลิศ รตฺนญาโณ/โสดา) และพระมหามิตร ฐิตปญฺโญ. (2562). ความเชื่อในประเพณีแซนโฎนตาของจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 19(3), 285-294.

เพ็ญจันทร์ เชอร์เรอร์ และพีระพงษ์ วงศ์อุปราช. (2552). มิติทางสังคมของการดื่มสุรากับปัญหาความรุนแรงในครอบครัว. วารสารสหศาสตร์, 9(2), 194-222.

พัชรพรรณ คูหา. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาหญิงในมหาวิทยาลัยจังหวัดเชียงใหม่. [การค้นคว้าแบบอิสระหลักสูตรปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มูลนิธิเมาไม่ขับ. (2563). สถิติผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจร ปี 2563. http://www.ddd.or.th

ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน. (2562). รายงานประชาชนประจำปี 2562.

http://roadsafety.disaster.go.th/upload/minisite/file_attach/196/5f4ca0c3c24fd.pdf

สุรางค์ศรี ศีตมโนชญ์. (2560).การพัฒนาควา มมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการบริหารจัดการ แก้ไขปัญหาเมาแล้วขับจังหวัดภูเก็ต. ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน มูลนิธินโยบายถนนปลอดภัย (มนป.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2554, 26 สิงหาคม). เจาะลึก‘เมาแล้วขับ’ความเสี่ยงอุบัติเหตุบนถนน. https://www.thaihealth.or.th/?p=245816

อธิบ ตันอารีย์ และพลเทพ วิจิตคุณากร. (2562). สถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และดัชนีความเสี่ยงต่อปัญหาแอลกอฮอล์ของจังหวัดในประเทศไทย : ข้อมูลการสำรวจ พ.ศ. 2560. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 13(4), 353-367.

อัญชลี เหมชะญาติ และศรีวรรณ ยอดนิล. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอเขาคิชฌกูฎ จังหวัดจันทบุรี. วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม, 8(1), 115 – 128.

อุษา บิ้กกิ้นส์. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเมาแล้วขับและการเปิดรับสื่อของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในเขตกรุงเทพมหานคร. สุทธิปริทัศน์, 27(82), 41-59.

Ajzen, I. (2006). Constructing a theory of planned behavior questionnaire: Conceptual

and methodological consideration.

http://www.people.umass.edu/aizen/pdf/tpb.measurement.pdf

Jiang, H., Livingston, M., & Manton, E. (2015) The effects of random breath testing and lowering the minimum legal drinking age on traffic fatalities in Australian states. Injury Prevention, 21(2), 77-83. doi:10.1136/injuryprev-2014-041303

Stokols, D. (1996). Translating social ecological theory into guidelines for community health promotion. American Journal of Health Promotion,10(4), 282-98.

World Health Organization. (2018). Global status on road safety 2018. World Health Organization.

Zhang, L., Wieczorek, W. F., & Welte, J. W. (2012). The influence of parental and peer drinking behaviors on underage drinking and driving by young men. Journal of Drug Education, 42(3), 347–359.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27