ประสิทธิผลของรูปแบบการสร้างเครือข่ายระบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่นต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพ การตัดสินใจเลือกปฏิบัติและพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์วัยรุ่น

ผู้แต่ง

  • จุฑามาส ขุมทอง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • ชลดา กิ่งมาลา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • วิทยา จันตุ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • ณัฏฐกวี บุญวิจิตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่น, การตั้งครรภ์วัยรุ่น, การสร้างเครือข่ายระบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่น

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มวัดสองครั้งก่อนและหลังการทดลองเพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการสร้างเครือข่ายระบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่น ต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์วัยรุ่น การตัดสินใจเลือกปฏิบัติเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์วัยรุ่นและพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์วัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับรูปแบบการสร้างเครือข่ายระบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่น กลุ่มควบคุมได้รับการสอนตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ รูปแบบการสร้างเครือข่ายระบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่นเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ได้แก่ 1) ข้อมูลทั่วไป  2) แบบวัดความรู้ ความเข้าใจทางสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์วัยรุ่น 3. แบบสอบถามการตัดสินใจเลือกปฏิบัติเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์วัยรุ่น   4. แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์วัยรุ่น วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติพรรณนา เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์วัยรุ่น การตัดสินใจเลือกปฏิบัติเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์วัยรุ่น และพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์วัยรุ่นด้วยการทดสอบที

            ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์วัยรุ่น การตัดสินใจเลือกปฏิบัติเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์วัยรุ่น และพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์วัยรุ่น สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) 2) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์วัยรุ่น การตัดสินใจเลือกปฏิบัติเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์วัยรุ่น และพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์วัยรุ่น สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001)

            ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่ารูปแบบการสร้างเครือข่ายระบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่น สามารถส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์วัยรุ่น การตัดสินใจเลือกปฏิบัติเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์วัยรุ่น และพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์วัยรุ่น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นให้ดีขึ้น

References

กระทรวงสาธารณสุข, กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, กองสุขศึกษา และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (2559). คู่มือประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรสำหรับสตรีไทยวัยรุ่นอายุ 15 – 21 ปี. กองสุขศึกษา.

กระทรวงสาธารณสุข, กรมอนามัย, สํานักอนามัยการเจริญพันธุ์. (2562). สถานการณ์อนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นและเยาวชนปี 2562. https://rh.anamai.moph.go.th/th/cms-of-1/139307.

กระทรวงสาธารณสุข, กรมอนามัย, ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา, กลุ่มพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพวัยเรียนวัยรุ่น. (2563). รายงานผลการขับเคลื่อน ประจำเดือนกรกฎาคม 2563. http://203.157.71.139/group_sr/allfile/1597049503.pdf.

กระทรวงสาธารณสุข, กรมอนามัย, สำนักอนามัยเจริญพันธุ์. (2563). สถานการณ์อนามัยการเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นและเยาวชนปี 2563. https://rh.anamai.moph.go.th/th/cms-of-1/207028.

จงรัก สุวรรณรัตน์ และกรฐณธัช ปัญญาใส. (2562). ประสิทธิภาพของรูปแบบความรอบรู้ด้านสุขภาพแบบมีส่วนร่วมเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรของวัยรุ่นหญิง. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ, 5(1), 60-71.

ชลดา กิ่งมาลา, เอื้อจิต สุขพูล และวัชรีวงค์ หวังมั่น. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นในชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์, 7(1), 31-39.

พีรพล ชัยชาติ และเกศินี สราญฤทธิชัย. (2562). ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อ พฤติกรรมการป้องกัน การตั้งครรภ์ของวัยรุ่นตอนต้น. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 37(4), 42-51.

House, J. S. (1985). Work Stress and Social Support. Addison Wesley Publishing.

Nutbeam, D. (2000). Health Literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promotion International, 15(3), 259-267.

World Health Organization. (2020, January 31). Adolescent pregnancy. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/adolescent-pregnancy

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27