This is an outdated version published on 2022-06-14. Read the most recent version.

การรับรู้ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ ของบัณฑิตพยาบาล ปีการศึกษา 2563 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช

ผู้แต่ง

  • รุ่งทิวา หวังเรืองสถิตย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • อัญชลี แก้วสระศรี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช พิษณุโลก คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

การรับรู้ผลลัพธ์การเรียนรู้ , กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ, บัณฑิตพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ ของบัณฑิตพยาบาล ปีการศึกษา 2563 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช ทำการศึกษาในบัณฑิตพยาบาล ปีการศึกษา 2563 จำนวน 142 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามการรับรู้ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ ผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหา โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ทดสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือ ได้เท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่   ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M = 4.33, SD =0.36)  และทุกด้านอยู่ในระดับมากโดยด้านที่มีคะแนนสูงสุด คือ ด้านคุณธรรม จริยธรรม (M= 4.54, SD =0.39)  ส่วนด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ (M = 4.34, SD = 0.50) ด้านทักษะทางปัญญา (M = 4.28, SD =0.48) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ (M = 4.28, SD =0.49)  ด้านทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ (M = 4.27, SD =0.47) และ ด้านความรู้ (M = 4.19, SD =0.42)  ตามลำดับ

ข้อเสนอแนะอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาวิธีการจัดการเรียนการสอน และการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อเพิ่มทักษะด้านความรู้ และทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ และควรมีการศึกษาวิจัยผลการใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ

References

กรมควบคุมโรค. (2563, 13 มกราคม). รายงานสถานการณ์โรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่. กรมควบคุมโรค. https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/ situation-no10-130163.pdf

กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552. (2552, 2 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 126 ตอนที่ 125 ง. หน้า 17-19.

เกียรติกำจร กุศล, กำไล สมรักษ์, จันทร์จุรีย์ ถือทอง และธัญวลัย หองสำ. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานต่อการเสริมสร้างผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนักศึกษาพยาบาลในรายวิชาภาวะผู้นําและการจัดการทางการพยาบาล. วารสารการพยาบาลและการศึกษา,10(3), 39-55.

คณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน. (2564), รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช ประจำปีการศึกษา 2563. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช.

ดารารัตน์ ชูวงค์อินทร์, ฤชุตา โมเหล็ก, กมลชนก บุญประจักษ์, มาริษา สมบัติบูรณ์ และเบญจมาศ ปรีชาคุณ. (2563). การสื่อสารทางการพยาบาลในยุคการแพทย์เปลี่ยนวิถี. วารสารวิชาการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์, 2(2), 25-38.

ดิเรก พรสีมา. (2559). ครูไทย 4.0. กระทรวงศึกษาธิการ. http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID

นาตยา พึ่งสว่าง และสิริพร บุญเจริญพานิช. (2560). คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติและคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามอัตลักษณ์วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ. วารสารแพทย์นาวี, 44(2), 1-17.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีริยาสาส์น.

ปัทมาภรณ์ คงขุนทด, ฉัตรทอง จารุพิสิฐไพบูลย์, นุชมาศ แก้วกุลฑล, นฤมล เปรมาสวัสดิ์ และมยุรี พางาม.(2563). ความคิดเห็นของผู้ใช้บัณฑิตต่อคุณภาพบัณฑิตและอัตลักษณ์ของพยาบาลจบใหม่ที่สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา ปีการศึกษา 2561. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 29(6), 1087-1094.

พระมหาอนันต์ องฺกุรสิร. (2561). คุณธรรมจริยธรรมกับการพัฒนาผู้เรียนในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 2(2), 81-90.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. (2545, 19 ธันวาคม). ราชกิจจานุเษกษา. เล่ม 119 ตอนที่ 123 ก. หน้า 16-21.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. (2553, 22 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเษกษา. เล่ม 127 ตอนที่ 45 ก. หน้า 1-3.

พันทิพย์ จอมศรี, อารีวรรณ กลั่นกลิ่น, อวยพร ตัณมุขยกุล และวิจิตร ศรีสุพรรณ. (2553). การรับรู้เกี่ยวกับหลักการพยาบาลของพยาบาลในประเทศไทย. วารสารสภาการพยาบาล, 25(1), 27-37.

พิชฌาย์วีร์ สินสวัสดิ. (2564). การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะทางปัญญาของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 11(2), 35-47.

พิชญากร ศรีปะโค. (2557). การพัฒนาวิชาชีพพยาบาล:การพัฒนาภาวะผู้นำทางการพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 1-8.

มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. 2560. (2561, 3 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนพิเศษ 1 ง. หน้า 7.

รัฐพล ประดับเวทย์. (2560). แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีตามแนวคิดอนุกรมวิธานของบลูม. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ), 10(3), 1051-1065.

เรณู พุกบุญมี. (2561, 19 ตุลาคม). บทบาทหน้าที่พยาบาลยาบาลในยุคไทยแลนด์ 4.0. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/บทบาทหน้าที่ของพยาบาล

วารินท์พร ฟันเฟื่องฟู. (2562). การจัดการเรียนรู้ Active Learning ให้สำเร็จ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(1), 135-145.

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช. (2560). หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง 2560. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพุทธชินราช.

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพุทธชินราช. (2564ก). คู่มือการจัดทำ มคอ. และแผนการสอน ปีการศึกษา 2564. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช.

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพุทธชินราช. (2564ข). รายงานการประเมินตนเอง ระดับหลักสูตร (Self assessment report: SAR) ประจำปีการศึกษา 2563 (1 มิถุนายน 2563- 31 พฤษภาคม 2564). วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช.

สภาการพยาบาล. (2561, 23 กุมภาพันธ์). ประกาศสภาการพยาบาล เรื่อง สมรรถนะหลักของบัณฑิตพยาบาลและผดุงครรภ์ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก สาขาพยาบาลศาสตร์ หลักสูตรฝึกอบรมการพยาบาลขั้นสูงระดับวุฒิบัตร และได้รับวุฒิบัตร/หนังสือแสดงความรู้ความชำนาญเฉพาะทางการพยาบาล และการผดุงครรภ์และการพยาบาลเฉพาะทางสาขาพยาบาลศาสตร์. สภาการพยาบาล. https://www.tnmc.or.th/images/userfiles/files/004.pdf

อรีวรรณ กลั่นกลิ่น และวาสนา อุปป้อ. (2564). พยาบาลวิชาชีพกับการเป็นผู้ประกอบการในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์, 3(1), 8-18.

Anderson, L. W., Krathwohl, D. R., Airasian, P. W., Cruikshank, K. A., Mayer, R. E., Pintrich, P. R., Raths, J., & Wittrock, M. C. (2001). A Taxonomy for Learning, Teaching, and Assessing: A revision of Bloom's Taxonomy of Educational Objectives. Pearson, Allyn & Bacon.

Ghezzi, J. F. S. A., Higa, E. F. R., Lemes, M. A., & Marin M. J. S. (2021). Strategies of active learning methodologies in nursing education: an integrative literature review. Revista Brasileira de Enfermagem, 74(1), e20200130. http://dx.doi.org/10.1590/0034-7167-2020-0130

Gifkins, J. (2015, October 8). What Is ‘Active Learning’ and Why Is It Important? E-International Relations. https://www.e-ir.info/pdf/58910

Knowlden, V. (1990). The virtue of caring in nursing. In M. M. Leinger (Ed.), Ethical and moral dimension of care (p. 89-94). Wayne State University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-14

Versions