ผลการให้ความรู้แบบออนไลน์และแบบปกติในโรงเรียนพ่อแม่ ต่อความรู้และการดูแลตนเองในหญิงตั้งครรภ์แรก

ผู้แต่ง

  • ทวารัตน์ พรหมเมศ โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์
  • อรวรรณ จันทร์เต็ม โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์
  • กิตติพร เนาว์สุวรรณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • นภชา สิงห์วีรธรรม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การให้ความรู้แบบออนไลน์ , โรงเรียนพ่อแม่ , การดูแลตนเอง, หญิงตั้งครรภ์แรก

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่ม วัดผลและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้และการดูแลตนเองก่อนและหลังการให้ความรู้แบบออนไลน์ และเพื่อเปรียบเทียบผลต่างก่อนและหลังของคะแนนความรู้และการดูแลตนเองระหว่างการให้ความรู้แบบออนไลน์และแบบปกติในหญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์ไม่เกิน 20 สัปดาห์ ที่ฝากครรภ์ครั้งแรกแผนกฝากครรภ์ โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์จนครบอายุครรภ์ 32 สัปดาห์ จำนวน 30 คน ใช้วิธีสุ่มอย่างง่ายเพื่อสุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลอง 15 และกลุ่มควบคุม 15 คน    โดยกลุ่มทดลองใช้การให้ความรู้แบบออนไลน์ และกลุ่มควบคุมใช้การให้ความรู้แบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบวัดความรู้ได้ค่า KR20 เท่ากับ .71 และแบบสอบถามการดูแลตนเองได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ .73 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา สถิติ Wilcoxon sign ranks test และสถิติ Mann Whitney U test

ผลวิจัยพบว่า หลังการให้ความรู้แบบออนไลน์ หญิงตั้งครรภ์มีความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองสูงกว่าก่อนให้ความรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ .05 ตามลำดับ นอกจากนี้ผลต่างก่อนและหลังของคะแนนความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเอง ของกลุ่มที่ได้รับการให้ความรู้แบบออนไลน์และการให้ความรู้แบบปกติไม่แตกต่างกัน

วิธีการให้ความรู้แบบออนไลน์สามารถนำมาเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตลอดจนใช้เป็นทางเลือกสำหรับหญิงตั้งครรภ์ในการเรียนรู้เพื่อไปปรับใช้ในการดูแลสุขภาพตนเองขณะตั้งครรภ์

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2563). แนวทางการจัดการบริการเตรียมความพร้อมก่อนสมรสและก่อนตั้งครรภ์. สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

เจริญ โอภาสเสถียร. (2560). การประยุกต์ใช้รูปแบบโรงเรียนพ่อแม่ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ด้วยหลักการพัฒนาสมอง ในการดูแลสตรีตั้งครรภ์แรก โรงพยาบาลสมุทรปราการ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 28(2), 140-152.

ธัญญวัฒน์ กาบคำ. (2556, 5 สิงหาคม). เรียนผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงวัฒนธรรม. https://www.m-culture.go.th/it/ewt_news.php?nid=116&filename=index

ปิยธิดา สัมมาวรรณ, นิตยา สินสุกใส และวรรณา พาหุวัฒนกร. (2556). ศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมโภชนาการต่อผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น. วารสารเกื้อการุณย์, 20(2), 100-115.

พรพงศ์ ศิริสุขเจริญพร. (2560). การพัฒนาการเรียนการสอนผ่านเว็บ วิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในงานอุตสาหกรรม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี,11(26), 24-30.

พิพัฒน์ อัฒพุธ, ทิพรัตน์ สิทธิวงค์ และดิเรก ธีระกูล. (2560). ผลของการเรียนโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ร่วมกับ การเรียนเชิงรุกวิชาการออกแบบและผลิตสื่อกราฟิกคอมพิวเตอร์สำหรับนักศึกษาระดับชั้นปริญญาตรี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(1), 145-154.

เพ็ญนภา เพ็ชรเล็ก, โสภิต สุวรรณเวลา และพีรวิชญ์ สุวรรณเวลา. (2564). ผลของโปรแกรมการใช้ หนังสือสามมิติประกอบการเล่านิทานของเด็กวัยก่อนเรียนที่ได้รับการพ่นยาแบบฝอยละออง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 8(1), 41-52.

พวงน้อย สาครรัตนกุล. (2563). การใช้สื่อวีดีทัศน์เพื่อส่งเสริมการพฤติกรรมการบริโภคออาหารของสตรีตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์โรงพยาบาลกุมภาวปี จังหวัดอุดรธานี. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 18(2),74-104.

มนัสมีน เจะโนะ. (2555). ผลของโปรมแกรมสนับสนุนและให้ความรู้เพื่อลดภาวะโลหิตจางต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์มุสลิม. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 8(2), 150-163.

สิริพร อินทสนธิ์. (2563). โควิด-19: กับการเรียนการสอนออนไลน์ กรณีศึกษา รายวิชาการเขียนโปรแกรมเว็บ. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(2), 203-214.

สิริลักษณ์ วงษาเนาว์. (2557). โปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากโดยการประยุกต์ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมจากสามี ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคเหงือกอักเสบในหญิงตั้งครรภ์. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 22(3), 1-7.

สายฟ้า แก้วมีชัย, ปฏิญญา ระเบียบเลิศ, วีรวรรณ บุญวงศ์ และนิธิกานต์ สุภาพ. (2559). ประสิทธิผลกระบวนการให้ความรู้ในโรงเรียนพ่อแม่ต่อภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก. ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช. https://hpc11.anamai.moph.go.th/th/owc-64/206869

สุคนธ์ทิพ สุภาจันทร์. (2557). การเปรียบเทียบผลสำฤทธิ์ทางการเรียนโดยการสอนที่ใช้สื่อการสอน E.Book และการสอนปกติวิชาการวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจ. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 5(1), 57-66.

สุพัตรี วงค์วอ, สุธิพงศ์ หกสุวรรณ และอัชชา เขตบำรุง. (2557). การเปรียบเทียบผลการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์เรื่องระบบ เครือข่ายและการใช้อินเตอร์เน็ตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยบทเรียนที่ใช้เว็ปเทคโนโลยี แบบ Big six skills กับการสอนปกติ. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม,4(3), 76-84.

สุรางรัตน์ โฆษิตธนสาร, นงลักษณ์ แสนกิจตะ และอาภัสรา มาประจักษ์. (2562). ผลของโปรแกรมการสอนโรงเรียนพ่อแม่ผ่านสื่อออนไลน์ในหญิงตั้งครรภ์แรกโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น. ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น. http://203.157.71.148/hpc7data/Res/ResFile/2562001901.pdf

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2563). รายผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2563. http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed.). Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39(2), 175-191.

Orem, D. E. (2013). Nursing grand theory and theorists: Roy and Orem. Sacred Heart

University. https://nursingtheoryandtheoristsroyorem.weebly.com/dorothea-orem.html.

Lim, W. Y., Kwek, K., Chong, Y. S., Lee, Y. S., Yap, F., Chan, Y. H., Godfrey, K. M., Gluckman, P. D., Saw, S. M., & Pan, A. (2014). Maternal adiposity and blood pressure in pregnancy: varying relations by ethnicity and gestational diabetes. Journal of hypertension, 32(4), 857–864. https://doi.org/10.1097/HJH.0000000000000096

Soroye, M., Ayanbadejo, P., Savage, K., & Oluwole, A. (2015). Association between periodontal disease and pregnancy outcomes. Odonto-stomatologie tropicale = Tropical dental journal, 38(152), 5–16.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-20