ผลของการใช้สื่อวีดิทัศน์การปฏิบัติตัวก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตัว ความสะอาดของลำไส้ และความวิตกกังวล ในกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ของโรงพยาบาลนาหม่อม

ผู้แต่ง

  • จงดี ปานสุวรรณ โรงพยาบาลนาหม่อม
  • กิตติพร เนาว์สุวรรณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

สื่อวีดิทัศน์, การส่องกล้องลำไส้ใหญ่, ความสะอาดของลำไส้, โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้สื่อวีดิทัศน์การปฏิบัติตัวก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตัว ความสะอาดของลำไส้และความวิตกกังวล ในกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ของโรงพยาบาลนาหม่อม จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่สื่อวีดิทัศน์การปฏิบัติตัวก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ แบบประเมินพฤติกรรม แบบสอบถามความวิตกกังวลและแบบบันทึกลักษณะอุจจาระ ตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหา (Content Validity) ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Objective-Item Congruence; IOC) ระหว่าง .67-1.00 ปรับปรุงก่อนนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง จากนั้นนำไปทดลองกับผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่มารับบริการคัดกรอง โรงพยาบาลนาหม่อม ที่ไม่ใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 45 คน โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient)เท่ากับ .91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติ Wilcoxon Sign Rang Test

ผลการวิจัยพบว่ามีพฤติกรรมการปฏิบัติร้อยละ 100 โดยมีความสะอาดของลำไส้ระดับ 3 ขึ้นไปร้อยละ 95.55 มีความวิตกกังวลต่อการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ น้อยกว่าก่อนใช้สื่อวีดิทัศน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .003 และในปี พ.ศ. 2564 อัตราความสะอาดของลำไส้กลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ในระดับ 3 และระดับ 4 สูงกว่าปี 2563

ดังนั้นโรงพยาบาลนาหม่อมหรือโรงพยาบาลอื่นๆที่ทำหัตถการการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ควรนำสื่อวีดิทัศน์ไปใช้ในการแนะนำการปฏิบัติตัวก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่

References

กรพัชชา คล้ายพิกุล และทัศนา วรรธนะปกรณ์. (2561). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวต่อพฤติกรรมการเตรียมลำไส้เพื่อการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ทางทวารหนักในผู้สูงอายุ. วารสารมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติวิชาการวารสารมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติวิชาการ, 21(42), 123-137.

เกรียงไกร ทองศิริประภา, เรวดี จงสุวัฒน์ และพัชราณี ภวัตกุล. (2564). ประสิทธิผลของสื่อวีดิทัศน์เรื่องการ

เตรียมอาหารทางสายให้อาหารในกลุ่มผู้ดูแลผู้ป่วย. วารสารสุขศึกษา, 44(2), 126-140.

ประไพพิศ นาคสุวรรณ์ และทิพวรรณ บุญสนอง. (2565). ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลโดยใช้สื่อวิดิทัศน์ต่อ

ความรู้และการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยก่อนได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั้งตัว. วารสารพยาบาลทหารบก, 23(1), 446-454.

ภัคภร เกตุสีสังข์, อุษาวดี อัศดรวิเศษ, วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล และธวัชชัย อัครวิพุธ. (2558). ผลของโปรแกรมการดูแลต่อเนื่องต่อคุณภาพของการเตรียมลำไส้และความวิตกกังวลในผู้ที่เข้ารับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่และทวารหนักแบบผู้ป่วยนอก. วารสารพยาบาลศาสตร์, 33(3), 61-73.

โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์.(2564). ส่องกล้องลำไส้ใหญ่ต้องเตรียมตัวอย่างไร. https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/colonoscopy

สมภพ อริยวนิช และรังสิยา บัวส้ม. (2563). สถาบันมะเร็งแห่งชาติ : ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาลรายงานประจำปี 2562. นิวธรรมดาการพิมพ์.

สมศักดิ์ อรรฆศิลป์. (2563, 8 มีนาคม). 1 ใน 5 มะเร็งที่พบมากในคนไทย : มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง. ไทยโพสต์. https://www.posttoday.com/life/healthy/617012

สุนิษฐา เชี่ยวนาวิน. (2562). ผลของสื่อวีดิทัศน์โปรแกรมต่อระดับความรู้และความสามารถในการดูแลตนเองของ

ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจกโรงพยาบาลหนองคาย. วารสารโรงพยาบาลนครพนม, 6(1), 18-28.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed.). Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.

Fatima, S., Jain, D., & Hibbard, C. (2018). Impact of Video Aid on Quality of Bowel Preparation

Among Patients Undergoing Outpatient Screening Colonoscopy, Clinical Medicine Insights: Gastroenterology, 11, 1-5.

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39(2), 175-191.

Luck, A., Pearson, S., Maddern, G., & Hewett, P. (2000). Effects of video information on precolonoscopy anxiety and knowledge: A randomised trial. Lancet, 354(9195), 2032-2035.

Murugesan, M., Anand, J., Durai, S., Dutta, A., & Mahasampath, G. (2020). Effectiveness of video instruction on anxiety, knowledge of procedure and quality of bowel cleanliness among patients undergoing colonoscopy. Indian Journal of Continuing Nursing Education, 21(1), 64-69.

Orem, D. E. (2013). Nursing Grand Theory and Theorists: Roy and Orem. Sacred Heart

University. https://nursingtheoryandtheoristsroyorem.weebly.com/dorothea-orem.html.

Ye, Z., Chen, J., Xuan, Z., Gao, M., & Yang, H. (2020). Educational video improves bowel

preparation in patients undergoing colonoscopy: a systematic review and meta-analysis, Annals of palliative medicine, 9(3), 671-680.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-20 — Updated on 2022-06-20

Versions